SHORT CUT
ชวนหาวิธี ตรวจสอบ คลิปเสียง หรือ ภาพต่างๆ ว่าสิ่งเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นด้วย AI หรือไม่ ด้วยวิธีง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้ , แม้ว่าผลลัพธ์ อาจจะไม่ถูกต้องแม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยๆ ก็จะช่วยคัดกรองได้
จริงหรือเค้กเช็กได้เลย! โลกของเราทุกวันนี้ อะไรจริงอะไรลวง มันเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันได้ยากลำบากๆ , ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง ทุกๆ สัมผัส...แล้วยิ่งในโลกทุกวันนี้ เป็นที่เป็นยุคของ AI ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมากในชีวิตแบบนี้ ยิ่งทำให้มี ภาพจาก AI หรือ คลิปเสียงที่ถูกสร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ ทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย
SPRiNG tech ชวนหาวิธี ตรวจสอบ คลิป หรือ ภาพต่างๆ ว่าสิ่งเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นด้วย AI หรือไม่ ด้วยวิธีง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้
ในโลกออนไลน์ที่เราใช้ชีวิตกันอยู่ทุกวันนี้ ณ ตอนนี้การตรวจจับภาพที่สร้างโดย AI นั้นกลายเป็นเรื่องยากขึ้นอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 1 ปีก่อนหน้านี้ เพราะความสามารถ AI ดีขึ้นเรื่อยๆ
สัญญาณเตือนที่เราเคยใช้ในการบ่งบอกว่าภาพนั้นถูกสร้างโดย AI เช่น มือที่ดูบิดเบี้ยวผิดปกติ หรือข้อความที่อ่านไม่ออก ตอนนี้ได้เริ่มหายไป เนื่องจากเทคโนโลยี AI ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีกหลายสเต็ป
การจะแยกภาพ AI มันก็ยังไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่า เงื่อนไข ณ ตอนนี้ อาจจะต้องใช้ความพยายาม และการวิเคราะห์ที่ละเอียดมากขึ้นไปอีก และในบทความนี้จะพาทุกคนไปสำรวจเครื่องมือสำหรับตรวจจับภาพที่ถูกสร้างโดย AI และเทคนิคที่จะช่วยให้เราสามารถระบุได้ว่าภาพนี้จริง หรือปลอม ?
Mashable ได้ทดลองใช้เครื่องมือเดโมฟรีของ เครื่องมือ Hive Moderation กับ ภาพมากกว่า 10 ภาพ และได้ผลสำเร็จโดยรวมถึง 90 เปอร์เซ็นต์
นั่นก็หมายความว่าเครื่องมือของเว็บไซต์นี้ มีความแม่นยำสูงพอสมควร แต่น่าเสียดาย ที่มันไม่สามารถตรวจจับภาพง่าย ๆ อย่างกองทัพกระรอกที่กำลังปีนหน้าผาหินได้ และเว็บไซต์นี้ไม่มีแผนใช้งานแบบฟรี แต่ทุกคนสามารถติดต่อเพื่อขอรับตัวเดโมมาทดลองใช้ก่อนได้
เครื่องมือตัวนี้ มีทั้งส่วนสำหรับตรวจจับข้อความ AI และภาพ AI เพียงแค่ลากและวางไฟล์ลงในเว็บไซต์
แบ่งเป็นแบบฟรีและแบบเสียเงิน รองรับการตรวจจับภาพจาก AI art generators ยอดนิยม เช่น Midjourney, DALL-E, และ Stable Diffusion ด้วย
เครื่องมือ AI or Not เป็นเครื่องมือที่ให้คำตอบที่ง่าย ๆ ว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" แตกต่างจากเครื่องมือตรวจจับภาพ AI อื่น ๆ ที่อาจให้ข้อมูลเชิงลึก หรือคะแนนความน่าจะเป็น
ข้อดีของแพลตฟอร์ม AI or Not นี้คือความเรียบง่าย และรวดเร็ว ทำให้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ในแผนใช้งานฟรีเราจะสามารถอัปโหลดภาพได้ 10 ภาพต่อเดือน
• ตรวจสอบภาพที่สร้างโดย AI ด้วยตัวเอง
เครื่องมือตรวจจับ AI ส่วนใหญ่นั้นทำงานได้ดี แต่มันก็ยังไม่สมบูรณ์ 100 % ไม่ควรถูกใช้เป็นเพียงวิธีเดียวในการตรวจสอบภาพ
บางครั้งเครื่องมือเหล่านี้สามารถตรวจจับภาพที่สร้างโดย AI แต่บางครั้งพวกมันก็ผิดพลาดกับภาพที่เห็นได้ชัดว่าเป็นผลงานของ AI ซึ่งนี่คือเหตุผลว่าทำไมการใช้หลายวิธีร่วมกันถึงให้ผลลัพธ์ดีที่สุด
ทีนี้ เรามาดูกันต่อว่ามีเทคนิคอะไรบ้าง ? ที่จะช่วยเรายืนยันภาพที่สร้างจาก AI เหล่านี้ได้
อีกวิธีหนึ่งในการตรวจจับภาพที่สร้างโดย AI คือการใช้การค้นหาภาพย้อนกลับที่แบบง่าย ๆ เลย ซึ่งเป็นวิธีที่ Bamshad Mobasher ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผู้อำนวยการศูนย์ Web Intelligence ที่มหาวิทยาลัย DePaul University ในชิคาโกแนะนำ โดยการอัปโหลดภาพไปยัง Google Images หรือเครื่องมือค้นหาภาพย้อนกลับ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบที่มาของภาพนั้นได้หากมันมีที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต
Google Search ยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจซึ่งก็คือ "About this Image (เกี่ยวกับรูปภาพนี้)" ที่ให้ข้อมูลบริบทเกี่ยวกับภาพ เช่น เวลาที่ภาพถูกจัดทำดัชนี (Index) ครั้งแรก และที่อื่น ๆ ที่ภาพปรากฏทางออนไลน์ :ซึ่งเราสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้โดยคลิกที่ไอคอนจุดสามจุดที่มุมขวาบนของภาพที่เราดูอยู่
แม้อาจจะดูยากไปหน่อย แต่เราอาจจะยังคงสังเกตเห็นความผิดปกติของภาพที่สร้างด้วย AI ได้หลายจุด เช่น นิ้วมือที่บิดเบี้ยว ผิวที่ดูสมบูรณ์แบบจนเกินไป หรือข้อความภายในภาพที่อ่านไม่รู้เรื่อง โดยเว็บไซต์ PCMag ได้แนะนำให้ลองมองหาวัตถุที่พื้นหลังที่ดูเบลอ, บิดเบี้ยว หรืออาจดูที่ตัวแบบในภาพว่ามีผิวที่สมบูรณ์แบบเกินไปหรือเปล่าเช่น ไม่มีรูขุมขน สมบูรณ์แบบเกินกว่าที่ควรจะเป็นจริง ๆ
ภาพที่สร้างโดย Midjourney ด้านล่างนี้ ปรากฏภาพหญิงสาวที่กำลังโปรโมตหนังสือทำอาหารซึ่งอาจพบได้ง่าย ๆ บน Instagram แต่ถ้าหากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่า ขวดน้ำตาลนั้นบิดเบี้ยว, ข้อนิ้วที่อยู่ในลักษณะที่ผิดรูป และผิวที่เรียบเนียนจนเกินไป
ขณะที่การตรวจสอบเสียงว่า ถูกสร้างด้วย AI หรือไม่ วิธีง่ายๆ ก็คือใช้ hivemoderation โดยนี่เป็นเพียงช่องทางในการตรวจสอบแบบง่ายๆ
โดย
- เข้า https://hivemoderation.com/ai-generated-content-detection
- เลือก Audio (ไฟล์เสียง)
- อัปโหลดไฟล์เสียงเข้าไป
- เสร็จแล้วตัวเว็บจะแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ว่าคลิปเสียงนั้น ๆ เป็นคลิปที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก AI หรือไม่ ก็คือยิ่งเปอร์เซ็นต์เยอะ ก็แปลว่ามีแนวโน้มว่า ใช่นั่นเอง
หลังจากนั้น เราก็จะสามารถรู้ได้แล้ว ว่าเนื้อหาที่เราอัปโหลดไปทดสอบนั้นใช่เสียงจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งเนื้อหาอื่น ๆ ก็สามารถทดสอบได้เช่นกัน เช่นบทความ, ไฟล์ภาพ และวิดีโอ ซึ่งสามารถทดสอบได้ด้วยการกดเลือกในหน้าเว็บก่อนอัปโหลดได้เลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง