SHORT CUT
SpaceX ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศ Starship ในภารกิจ Flight 4 สำเร็จเป็นครั้งแรก เตรียมพัฒนา Starship ให้เป็นยานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
หลังจากที่บริษัท SpaceX ของอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ตัดสินใจที่จะพัฒนาจรวดที่ใหญ่ที่สุดและทรงพลังที่สุดในโลก โดยมีเป้าหมายที่จะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และมีประสิทธิภาพมากกว่าจรวด Falcon 9 ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง การทดสอบของ Starship แต่ละครั้งมักจบลงด้วยการระเบิดหรือถูกทำลายในชั้นบรรยากาศ แต่ SpaceX ก็ไม่ย่อท้อ พวกเขาเรียนรู้จากความผิดพลาดและพัฒนาจรวดอย่างต่อเนื่อง
แต่ล่าสุดวานนี้ (6 มิถุนายน 2567)SpaceX เปิดตัวภารกิจทดสอบจรวด Starship เป็นครั้งที่ 4 ในรอบกว่า1ปี จากศูนย์พัฒนาในเท็กซัสตอนใต้ หรือที่เรียกว่า Starbase ภารกิจนี้มีชื่อว่า Flight 4 โดยจรวดลำนี้เป็นจรวดที่ใหญ่ที่สุดและทรงพลังที่สุดในโลก ด้วยความสูงเกือบ 121 เมตร และแบ่งเป็นสองส่วน คือยานบูสเตอร์ 'ซูเปอร์ เฮฟวี' และยาน Starship มีเป้าหมายในการทดสอบการนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เมื่อจรวดถูกส่งขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยยานบูสเตอร์ท่อนแรก 'ซูเปอร์ เฮฟวี' สามารถแยกตัว และลงจอดในอ่าวเม็กซิโกได้สำเร็จ หลังจากยกการทดสอบไร้คนขับได้เพียงสามนาที จากนั้น Starship ก็ติดเครื่องยนต์เพื่อบินรอบโลก ประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อมา มันเริ่มกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่มีความล้มเหลวเหมือนครั้งก่อน และสามารถลงจอดบนฐานในมหาสมุทรอินเดียได้อย่างนุ่มนวลบนฐานในทะเลตามแผนที่วางไว้
ความสำเร็จของ Starship ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการทำให้มันสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแสดงให้เห็นการลงของยานและสามารถควบคุมบูสเตอร์ได้ โดยมันมีแผ่นกระเบื้องสีดำหลายร้อยแผ่นเพื่อป้องกันความร้อนจัดที่เกิดขึ้นเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับภารกิจในอนาคต
Slow motion liftoff of Starship on Flight 4 pic.twitter.com/9itFbrfxW7
— SpaceX (@SpaceX) June 6, 2024
NASA ได้สั่งยานอวกาศ Starship สองลำสำหรับภารกิจลงจอดบนดวงจันทร์ในปลายทศวรรษนี้ โดยมันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งปัจจุบันมีเป้าหมายให้บรรลุผลในเดือนกันยายน พ.ศ. 2569 และบริษัทของ Musk ก็จำหน่ายทริปท่องเที่ยวรอบดวงจันทร์แล้ว โดยตั้งเป้าให้มีประสิทธิภาพมากกว่าและราคาถูกกว่าจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ซึ่งปล่อยจรวดไปแล้วกว่า 300 ครั้งในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา
ที่มา