SHORT CUT
พาราฟิน หรือขี้ผึ้งเทียนไข เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นปิโตรเลียม ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายตั้งแต่ในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง รวมถึงทำเทียนไข ล่าสุด ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ
บริษัทสตาร์ทอัพของเยอรมันชื่อ HyImpulse ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ เมื่อสามารถปล่อยจรวดที่ขับเคลื่อนด้วยขี้ผึ้งเทียนไข หรือพาราฟิน ขึ้นสู่อวกาศสำเป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งจรวดลำนี้มีความสามารถในการบรรทุกดาวเทียมเชิงพาณิชย์เพื่อทดสอบการบินใต้วงโคจร
มาริโอ โคบอลด์ ผู้บริหารระดับสูงของ HyImpulse ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เรากำลังส่งสัญญาณให้เห็นถึงความกล้าหาญของเยอรมนีในฐานะประเทศที่เดินทางในอวกาศและขยายการเข้าถึงอวกาศของยุโรป"
จรวดทดสอบ"SR75" มีขนาดความยาว 12 เมตร น้ำหนัก 2.5 ตัน ถูกปล่อยขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในเมืองคูนิบบา รัฐเซาท์ออสเตรเลีย โดยสามารถบรรทุกดาวเทียมขนาดเล็กน้ำหนัก 250 กิโลกรัม (551 ปอนด์) ไปที่ระดับความสูงสูงสุด 250 กิโลเมตร (155 ไมล์)
ตามข้อมูลของ HyImpulse ระบุว่า การใช้พาราฟินเป็นเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับจรวดนั้นมีราคาถูกกว่าและปลอดภัยกว่า ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการขนส่งผ่านดาวเทียมได้สูงถึง 50%
เป็นเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของสารออกซิไดซ์ เช่น Ammonium nitrate, Ammonium dinitramide, Potassium nitrate ผสมกับผงเชื้อเพลิง เช่น Aluminium, Beryllium, RDX และ HMX เมื่อจุดระเบิดแล้วจะไม่สามารถดับได้ ต้องปล่อยให้เผาไหม้จนหมด
เป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของเหลว ที่นิยมใช้กันได้แก่ น้ำมันก๊าด Kerosene (RP-1), ไฮโดรเจนเหลว และมีเทนเหลว ข้อดีคือสามารถควบคุมการจุดระเบิดและดับเครื่องยนต์ได้
บริษัท HyImpulse สตาร์ทอัพด้านอวกาศที่แยกตัวออกมาจากหน่วยงานอวกาศ DLR ของเยอรมนี ปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมด 65 คน ได้รับเงินทุนสนับสนุนหลักจากภาคเอกชน ควบคู่ไปกับ "การสนับสนุนจากสาธารณะบางส่วน"
HyImpulse เปิดเผยว่าได้รับคำสั่งจองให้จัดส่งดาวเทียมคิดเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านยูโร (ราว 105 ล้านดอลลาร์) แล้ว โดยทางบริษัทมีแผนที่จะขยายการดำเนินงานเพื่อรองรับความต้องการดาวเทียมเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยตั้งเป้ายอดขายประจำปีให้แตะระดับ 700 ล้านยูโรภายในปี 2575
นอกจากนี้ ภายในสิ้นปีหน้า HyImpulse ยังมีแผนเปิดตัว "SL-1" จรวดหลายขั้นตอนขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งสามารถส่งดาวเทียมหนักถึง 600 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรโลกระดับต่ำได้อีกด้วย
ดังนั้นการค้นพบเชื้อเพลิงจรวดชนิดใหม่อย่างพาราฟินจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า ปลอดภัยกว่า และอาจนำไปสู่การเข้าถึงอวกาศที่ง่ายขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภารกิจอวกาศและธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์
ที่มา