SHORT CUT
ชวนดู 5 สายงาน ยังไม่ถึงจุดจบง่ายๆ แม้เข้าสู่ ยุค AI เริ่มครองเมือง ได้แก่ งานด้านฝ่ายบุคคล, งานด้านฝ่ายขาย / งานด้านฝ่ายการตลาด , งานด้านจัดอีเว้นท์ , งานด้านการเขียนเชิงวรรณกรรม และ งานด้านกราฟิกดีไซน์
เนื่องในโอกาสที่ใกล้ถึง วันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2567 ประเด็นของ ผู้ใช้แรงงานมักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงความสำคัญ เพราะนี่คือกระดูกสันหลังของโลก อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ณ เวลานี้ อีกหนึ่งกระแสที่มาแรง ก็คือ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ใครหลายคนและในหลายๆวงการ มองว่า นี่คือสิ่งที่จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ และ AI กำลังจะมาแย่งงาน กลุ่มคนใช้ "แรงงาน" ในบางสาขา
แต่หากมองให้ลึก โลกทุกวันนี้ มันก็ยังมีหลากหลายลักษณะงานที่เต็มไปด้วยฝีไม้ลายมือ ที่ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยังไม่สามารถแย่งชิงงานไปได้ หรือ เป็นไปได้ยาก ที่ AI จะมาแย่งงาน
โดยงานที่ AI ไม่สามารถชิงจากมนุษย์แรงงานไปได้ก็ จะเป็นลักษณะงานที่ต้องอาศัยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรืองานที่ต้องใช้ Soft Skill เช่น การเป็นผู้นำ, การบริหารจัดการอารมณ์ , การสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน , การรับฟังและเข้าใจจิตใจผู้อื่น ฯลฯ รวมถึงงานที่เป็นแบบ Non-Routine โดยต้องอาศัยปรับตัวตามสถานการณ์กันไป ลักษณะเหล่านี้ AI ยังพัฒนามาได้ไกล ไม่มากพอ
ฝ่ายบุคคลต้องมีทักษะในด้าน Soft Skill กล่าวคือต้องมีความยืดหยุ่นสูง ทั้งความเป็นผู้นำ การสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์กับผู้คนเพื่อรับมือกับพนักงานภายในองค์กรซึ่ง AI ยังไม่สามารถทำงานในลักษณะนี้ได้
สำหรับฝ่ายขายต้องใช้ทักษะในเรื่องการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือต้องสื่อสารกับผู้คน , การรับฟังและเข้าใจจิตใจผู้อื่น ต้องมีหลักจิตวิทยา , มีการใช้วาทะศิลป์และจิตวิทยา ซึ่งเป็นจุดที่ AI ยังไม่สามารถทำได้
ขณะที่ฝ่ายการตลาด จะต้องมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือคิดแคมเปญการตลาดใหม่ๆ รวมถึงการรับฟังและเข้าใจความต้องการของลูกค้า ซึ่ง AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ไม่อาจทำงานในลักษณะนี้ได้เช่นกัน
ส่วนฝ่ายประชาสัมพันธ์ต้องใช้ Soft Skill ทั้งทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้คน รวมถึงทักษะในด้านมนุษยสัมพันธ์ รวมถึงการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ซึ่งทักษะเหล่านี้ AI ก็ยังไม่สามารถทำได้ ณ เวลานี้
การจัดงานอีเว้นท์ต้องใช้ทักษะเฉพาะตัวทั้งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงาน ต้องมีการแก้ปัญหาหน้างานตลอดเวลา มีการใช้ทักษะในการสื่อสารเพื่อนำเสนอธีมการจัดงานให้ลูกค้าผู้ว่าจ้างเห็นภาพและเข้าใจ
รวมไปถึงการใช้ทักษะความเป็นผู้นำในการบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขณะจัดงาน รวมถึงการทำงานในลักษณะเป็นทีม ซึ่งนักจัดอีเว้นท์อาชีพต้องใช้ทักษะเฉพาะตัวหลายด้านซึ่งแน่นอนว่า AI ยังทำงานในลักษณะนี้ไม่ได้
งานเขียนเชิงวรรณกรรมต้องใช้ทักษะหลายอย่างทั้งศาสตร์และศิลป์ใช้ศิลปะเชิงภาษาเพื่อสื่อสารขั้นสูง แสดงอารมณ์และบอกเล่าเรื่องราว ตามบริบทต่างๆ
โดยการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอารมณ์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและมีความหมายในเชิงเปรียบเปรย เปรียบเทียบหรือเชิงสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะใช้ AI ในการเขียน
งานด้านกราฟิกดีไซน์เป็นงานที่อาศัยจินตนาการบวกกับความคิดสร้างสรรค์และไอเดียแปลกใหม่ ซึ่งทักษะแบบนี้ AI ยังไม่สามารถจะทำได้เช่นกัน แต่ AI จะเป็นได้เพียง "เครื่องมือ" สำหรับมนุษย์กราฟฟิก โดยในประเด็นนี้ จะต้องมองว่า
สำหรับงาน กราฟิกดีไซน์ ถือว่าเข้าข่ายงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ – เช่นเดียวกับ นักเขียน ศิลปิน นักดนตรี งานเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ที่ลึกซึ้งในระดับหนึ่ง ซึ่งถือเป็นทักษะเฉพาะของมนุษย์ที่หุ่นยนต์ หรือ AI ไม่สามารถเลียนแบบได้แบบเป๊ะ
โดยสรุปแล้ว ,แม้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะเข้ามามีบทบาทในหลายอาชีพ ณ ปี 2024 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ่นยนต์เหล่านี้จะทำงานได้ดีกว่ามนุษย์เสมอไป เพราะยังคงมีงานหลายสายที่ต้องอาศัยความคิดจิตใจ สัญชาตญาณ ความคิดสร้างสรรค์ ความละเอียดอ่อน และการมีประสบการณ์เฉพาะด้าน ซึ่งเป็นอาชีพที่ AI ทำแทนไม่ได้แน่ ๆ
อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงแผนระยะสั้นประมาณ 5-10 ปีต่อจากนี้เท่านั้น ต้องอย่าลืมว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยนี้ค่อนข้างก้าวกระโดดและไปไกลกว่าที่คิดมาก หากยังไม่ปรับตัว หรือคิดและทำงานด้วยรูปแบบเดิม ๆ โอกาสที่มนุษย์จะถูกแทนที่ด้วย AI ก็คงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง