SHORT CUT
นาซาได้เปิดเผยภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อมี เปลวสุริยะปะทุพร้อมๆ กันถึง 4 จุดบนดวงอาทิตย์ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 67 แต่ที่น่าสนใจก็คือ ปรากฏการณ์ครั้งนี้ มีโอกาสที่ ส่งผลให้มี พายุสุริยะ มาถึงโลก 26 เม.ย. 67 ก็เป็นได้
นาซา (NASA) หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ได้เปิดเผยภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อมี เปลวสุริยะปะทุพร้อมๆ กันถึง 4 จุดบนดวงอาทิตย์ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 67 แต่ที่น่าสนใจก็คือ ปรากฏการณ์ครั้งนี้ มีโอกาสที่ ส่งผลให้มี พายุสุริยะ มาถึงโลก 26 เม.ย. 67 ก็เป็นได้
โดยประเด็นภาพ เปลวสุริยะที่ปะทุ ครั้งนี้ ถูกจับภาพได้จาก ดาวเทียมสำรวจกิจกรรมต่างๆ ของดวงอาทิตย์ (Solar Dynamics Observatory) ขององค์การนาซา
ทั้งนี้ จุดที่เกิดการปะทุบนพระอาทิตย์นั้น แต่ละจุดอยู่ห่างกันหลายๆแสนไมล์ และกินพื้นที่ราว 1 ใน 3 ของพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่หันเข้าหาโลก
ด้วยเหตุนี้เว็บไซต์ Spaceweather.com ที่รายงานสภาพต่างๆ ของดวงอาทิตย์จึงเตือนว่า การปะทุนี้อาจส่งผลกับสนามแม่เหล็กของโลก เพราะจากการคาดการณ์ เชื่อว่า พายุสุริยะ มาถึงโลก 26 เม.ย. 67
อย่างไรก็ตาม , โดยทั่วไปแล้ว พายุสุริยะ จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจากชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กของโลกทำหน้าที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม นักบินอวกาศที่อยู่บนสถานีอวกาศ หรือในยานอวกาศที่โคจรอยู่นอกโลก อาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะได้รับอันตรายจากพายุสุริยะได้ ในช่วงเวลาที่พายุสุริยะ
ในอดีต , ปรากฏการณ์พายุสุริยะ เคยสร้างความเสียหายกับโลกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1989 โลกได้รับพายุสุริยะพัดกระหน่้ำอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุให้ระบบไฟฟ้าของเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ขัดข้องเป็นเวลา 9 ชั่วโมง แต่ครั้งนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าความรุนแรงของการปะทุรวมกันอยู่ในระดับใด แต่หากพิจารณาจากพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ที่จุดมืดของดวงอาทิตย์ครอบคลุม ก็มีโอกาสที่อย่างน้อยเศษชิ้นส่วนบางชิ้นอาจมุ่งหน้ามายังโลกได้
ที่มา :livescience spaceweather
ข่าวที่เกี่ยวข้อง