svasdssvasds

เตือนภัย ! แอดมินเพจ Facebook มุกใหม่มิจฉาชีพ ห้ามกดลิงค์เด็ดขาด

เตือนภัย ! แอดมินเพจ Facebook มุกใหม่มิจฉาชีพ ห้ามกดลิงค์เด็ดขาด

มุกใหม่มิจฉาชีพ แอบอ้างเป็น Meta Facebook โลโก้ ติ๊กถูกมีครบ เรียกได้ว่า เหมือนแท้100% จนแยกไม่ออกกันเลยทีเดียวส่งข้อความมาหาต่อให้มีเครื่องหมายติ๊กถูกก็เชื่อไม่ได้ !

SHORT CUT

  • มิจฉาชีพมาแบบใหม่แอบอ้างเป็น Meta Facebook หลอกลวงเอาข้อมูลบัญชีและรหัสผ่าน
  • การกระทำดังกล่าวเรียกว่าการฟิชชิ่ง (Phishing) และยังสามารถส่งมาผ่านเมลที่ผูกกับบัญชีเพจไว้ได้อีกด้วย
  • ป้องกันมิจฉาชีพได้ คือ ตรวจสอบรายละเอียดของผู้ส่งข้อความ ให้ความรู้แก่สมาชิกในทีม และ ใช้การยืนยันตัวตนแบบสองชั้น เป็นต้น

มุกใหม่มิจฉาชีพ แอบอ้างเป็น Meta Facebook โลโก้ ติ๊กถูกมีครบ เรียกได้ว่า เหมือนแท้100% จนแยกไม่ออกกันเลยทีเดียวส่งข้อความมาหาต่อให้มีเครื่องหมายติ๊กถูกก็เชื่อไม่ได้ !

เรียกได้ว่าตอนนี้พูดไปคงไม่มีใครไม่รู้จัก เกี่ยวกับมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบโซเชียลที่แพร่กระจายอย่างกับเนื้อร้ายในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ชวนให้สมัครทำรายได้เสริม กดลิงค์ดูคลิปเพื่อรับเงิน ทำให้มีผู้เสียหายและผู้ที่หลงเชื่อจำนวนมาก และล่าสุดถึงขั้นแอบอ้าง ปลอมเป็น Meta Facebook โลโก้ ติ๊กถูกมีครบ เรียกได้ว่า เหมือนแท้100% จนแยกไม่ออกกันเลยทีเดียว

มุกใหม่มิจฉาชีพแอดมินเพจอย่ากดลิงค์เด็ดขาด

Spring จึงอยากจะเตือนภัยชาวแอดมินทุกคน ที่มีเพจเป็นของตัวเองอยู่ อย่าหลงเชื่อและกดลิงค์เป็นอันขาด โดยเบื้องต้นที่น่าจะโดนกันหลายๆคนคือ เพจของคุณจะถูกล็อคชั่วคราว เนื่องจากทำผิดกฎและละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพและมาตรฐานชุมชนของเรา โปรดติดต่อทีมสนับสนุนเพื่อขอคำแนะนำ รหัสเคสของคุณ 468537 พูดคุยกับทีมสนับสนุน Meta ตอนนี้ และจะมีลิงค์แนบไป 

โดยภายในข้อความจะมีลิงก์ที่ล่อลวงให้เหยื่อกดเข้าไปดำเนินการ โดยเมื่อเราลองคลิกที่ลิงก์ ก็พบว่าลิงก์ดังกล่าวไม่ได้ใช้โดเมนของ Facebook หรือ Meta และมีการปลอมแปลงหน้าเว็บให้ดูเหมือนหน้าล็อกอินของ Facebook เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลบัญชีและรหัสผ่าน โดยการกระทำดังกล่าวเรียกว่าการฟิชชิ่ง (Phishing) และนอกจากนี้นั้นยังส่งมาผ่านเมลที่ผูกกับบัญชีเพจไว้ได้อีกด้วย

ป้องกันมิจฉาชีพได้ดังนี้

  • ตรวจสอบรายละเอียดของผู้ส่งข้อความ ตรวจสอบที่มาและความถูกต้องข้อความที่อ้างว่ามาจาก Meta หรือ Facebook เสมอ โดยดูว่าข้อความดังกล่าวมาจากช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการหรือไม่ หรือติดต่อฝ่ายสนับสนุนโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มเพื่อความแน่ใจ
  • ตรวจสอบ URL วางเมาส์เหนือลิงก์ในข้อความเพื่อดูตัวอย่าง URL ปลายทาง โดยทั่วไปลิงก์ Facebook ที่ถูกต้องจะขึ้นต้นด้วย “https://www.facebook.com/” หรือ “https://meta.com/” นอกจากนี้ ให้ตรวจสอบว่ามีการสะกดผิดเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแอบอ้างหรือไม่
  • ใช้การยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (2FA) เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบสองชั้นบนบัญชี Facebook เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าแม้ว่าเหล่ามิจฉาชีพจะได้รับข้อมูลการเข้าสู่ระบบของคุณ แต่ยังคงมีขั้นตอนการยืนยันตัวตนเพิ่มเติมเพื่อเข้าถึงบัญชี
     
  • ให้ความรู้แก่สมาชิกในทีม หากคุณจัดการเพจ Facebook ที่มีผู้ดูแลระบบหลายคน ให้ความรู้สมาชิกในทีมของคุณเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งและแบบอื่นๆ และแนะนำให้สมาชิกในทีมปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยออนไลน์
  • อัปเดตซอฟต์แวร์อยู่เสมอ อัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์เป็นประจำเพื่อแก้ไขช่องโหว่ที่มิจฉาชีพอาจใช้ประโยชน์ได้
  • ระวังคำขอหรือข้อความที่ไม่รู้จัก ให้ระวังเป็นพิเศษเมื่อได้รับข้อความไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะข้อความที่กระตุ้นให้ดำเนินการทันที เช่น ให้ดำเนินการอุทธรณ์ผ่านลิงก์ภายใน 24 หรือ 48 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตามการไม่เริ่มไปกดลิงค์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะบางทีการกดแค่ครั้งเดียวมิจฉาชีพก็อาจจะทำการแฮคระบบของคุณและเอาข้อมูลส่วนตัวไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related