svasdssvasds

ธนาคารแห่งประเทศไทย แจงชัด "ไม่พบข้อมูลรั่วไหล" พร้อมแนะวิธีป้องกัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย แจงชัด "ไม่พบข้อมูลรั่วไหล" พร้อมแนะวิธีป้องกัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ชี้แจงกรณีข่าวข้อมูลประชาชนรั่วไหลว่าไม่เป็นอันตราย พร้อมแนะนำวิธีป้องกันเบื้องต้น

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ร่วมกับศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ภายใต้สมาคมธนาคารไทย (TBA) ในการตรวจสอบระบบของธนาคารแล้ว "ไม่พบข้อมูลรั่วไหลจากธนาคาร"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

นอกจากนี้ ข้อมูลที่รั่วไหลออกไปดังกล่าว ไม่สามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน mobile banking ได้ เนื่องจากยังต้องใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ ซึ่งต้องมีรหัสส่วนตัวในการเข้าใช้ รวมทั้งจะต้องยืนยันตัวตนอีกครั้งในการทำธุรกรรม

ทั้งนี้ สถาบันการเงิน (สง.) มีระบบป้องกันข้อมูลของลูกค้าอย่างเข้มงวด และมีระบบตรวจจับความผิดปกติเพื่อให้การให้บริการทางการเงินมีความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งล่าสุด สถาบันการเงินได้ยกระดับการเฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด

ขณะเดียวกัน ธปท. ได้เน้นย้ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งดำเนินการตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 อย่างเคร่งครัด โดยหากตรวจสอบและพิสูจน์พบว่าเป็นความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของ สง. ให้ สง. ต้องพิจารณาช่วยเหลือและดูแลความเสียหายให้กับผู้ใช้บริการโดยเร็ว อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยการเงิน ประชาชนสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภัยเบื้องต้นได้ ดังนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย แจงชัด \"ไม่พบข้อมูลรั่วไหล\" พร้อมแนะวิธีป้องกัน
 1. ระมัดระวังมิจฉาชีพที่อาจใช้ข้อมูลที่รั่วไหลออกไป เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หรือที่อยู่ ในการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงิน
 2. หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงินกับบุคคลอื่น ผ่านโทรศัพท์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรืออีเมล ที่ไม่น่าเชื่อถือ
 3. หากถูกหลอกลวงในการให้ข้อมูลส่วนตัว หรือพบความผิดปกติของการทำธุรกรรม  ให้เปลี่ยนรหัสผ่าน mobile banking ทันที และติดต่อธนาคารที่ใช้บริการผ่านช่องทาง hotline โดยเร็วที่สุด

related