งานสัมมนาอนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ โดยสื่อเครือเนชั่น นำโดยสปริงนิวส์ ชวนส่องแนวคิดภาครัฐเอกชนและพรรคการเมืองของไทย เกี่ยวกับแนวคิดด้านนวัตกรรมที่ทุกภาคส่วนควรร่วมกันวางรากฐานและสร้างแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศร่วมกัน
วันที่ 7 มีนาคม 2565 เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ ฐานเศรษฐกิจ และโพสต์ทูเดย์ ได้เปิดเวทีสัมมนาอนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ณ ห้องแกรนด์ บอลลูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เวลา 12.00-16.30 น.
มีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรชั้นนำในเซสชั่น เทคโนโลยีใหม่ เปลี่ยนไทย-เปลี่ยนโลก และเซสชั่น เปิดนโยบายพรรคการเมืองที่จะผลักดัน “นวัตกรรมนำไทย เชื่อมโลก” รวมทั้งสเปเชียลทอล์ก Innovation Megatrend 2023
โดย สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมต่างๆในอดีต จนปัจจุบันมาเป็นสมาร์ทโฟน และยังนวัตกรรมอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ปัจจุบันกลายเป็น 'โลกไร้พรมแดน' เราสามารถซื้อของด้วยนิ้วมือจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลก
ซึ่งมีนวัตกรรมอยู่เบื้องหลังและนวัตกรรมเหล่านี้ถูกคิดค้นต่อยอดเพื่อขับเคลื่อน ซึ่งในวันนี้เรื่องสำคัญก็คือเรื่องของนวัตกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ และการแก้ปัญหาเรื่องความท้าทายหรือแนวโน้มที่เราต้องการในชีวิตประจำวันในโลกยุคใหม่
หากจะพูดถึงเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน รวมถึงในประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็น Sustainablity ซึ่งกลายเป็นหัวข้อหลักสำหรับประเทศเนื่องจากมีการไปเซ็นอนุสัญญากับทาง UN ในตัว COP26
ทำให้ตอนนี้เองก็มีริเริ่มหลายๆเรื่องที่ออกมาจากทางภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้พวกเราสามารถบรรลุเป้าหมายที่ไดเ้ทำสัญญาเอาไว้ ในปี 2050 หรือในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่เป็น 0 ก็ยังมีภาครัฐและเอกชนสนับสนุนกัน
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
Session 1 : เทคโนโลยีใหม่ เปลี่ยนไทย-เปลี่ยนโลก
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)แผนพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า ด้วยการนำอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เชื่อมเข้าด้วยกัน
มาช่วยในเรื่องการเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ด้านนวัตกรรมรวมถึงเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการด้านนวันตกรรม ได้แก่
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า เรื่องอวกาศ ใครฟังก็ว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันที่ไกลตัวและไกลโลก เป็นนิยายที่เข้าถึงยากและเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก
แต่ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนไปแล้ว เรื่องอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยอีกต่อไป และใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ประเทศไทยมีศูนย์ดูแลเกี่ยวกับอวกาศที่เรียกว่า GISTDA ทำหน้าที่เชื่อมประเทศไทยกับอวกาศอยู่ด้วย
เราสามารถใช้ประโยชน์ทั้งในด้านของ Smart Farming / ความปลอดภัย (Security) / ด้านการเกษตร (Agriculture) ดังนั้น เราต้องตระหนักได้แล้ว เพราะต่างประเทศเขาไปไกลมากแล้ว อย่างปีที่แล้ว Space X ปล่อยดาวเทียวและยานอวกาศไปแล้วกว่า 2,000 เครื่อง ดังนั้น เราจะช้าไม่ได้
ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า วันนี้เราอยู่ในโลกของดิจิทัลอินเทลิเจนซ์ (Digital Intelligence) ทั้งในแง่ของธุรกิจและการใช้ชีวิต นั่นแสดงว่าโลกของเรามีการ disrupt ขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และดิจิทัลอินเทลิเจนซ์ทำให้เรื่องของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ไม่ใช่แค่ในเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้า (Customer) ก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วแสดงให้เห็นว่าเรากำลังมีโอกาสในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการสร้างความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ เรื่องของเทคโนโลยีจะมีซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์สื่อสารไว้คุยกับอุปกรณ์ด้วยกัน เครือข่ายอย่าง 5G การจัดเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์ และการใช้ AI มาช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
ดร. สุนทร ศรีทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรวมใจรักษ์ เล่าถึง 'Medtech Trends 2023' ว่า ขณะนี้มีเทคโนโลยีการแพทย์ต่างๆ ที่โรงพยาบาลจะนำเข้ามาใช้ในอนาคต โดยจะช่วยให้การแพทย์ในปร ะเทศไทยถูกพัฒนาและชีวิตคนไทยจะสะดวกสบายต่อการรักษาและดูแลสุขภาพมากขึ้น ได้แก่
Session 2 : เปิดนโยบายพรรคการเมืองที่จะผลักดัน “นวัตกรรมนำไทย เชื่อมโลก”
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลได้พัฒนาและลงมือทำไปแล้วอย่างเรื่องของ IoT, AI, Big Data และ 5G ที่พรรคพลังประชารัฐต้องการที่จะขับเคลื่อนและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยสิ่งที่เห็นภาพชัดคือเรื่องของการสร้างสมาร์ทซิตี้ ที่รัฐบาลต้องการที่จะกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ให้คนไทยไม่ว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศก็สามารถสร้างธุรกิจได้
อรรถวิชญ์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า โชว์วิสัยทัศน์ โดยชี้ว่า นวัตกรรมที่จะสร้างโอกาสนั้น มี 2 ประเด็น คือ
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะทำงานนโยบายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ไทยอยู่ลำดับที่ 43 ของแหล่งการลงทุนจากทั่วโลก จะเห็นว่าเรามีต้นทุนประมาณหนึ่งแล้ว
ดังนั้น ปัจจัยสำคัญเพื่อให้เกิดนวัตกรรม เราจะต้องมี เสรีภาพ / ทิศทาง / เท่าทัน / มุ่งหมาย เช่น ในด้านของนวัตกรรมอาหาร เรามีการเกษตรที่แข็งแกร่ง เรามีอาหารไทย ดังนั้นนวัตกรรมอาหารไทยจึงต้องถูกส่งเสริม
นายเกียรติ สิทธีอมร คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ เผยว่า เรื่องนวัตกรรมจริงๆ ที่เป็นเครื่องมือจะมีการจัดสรรงบเรื่องงานวิจัย สนับสนุนเรื่องที่เหมาะกับศักยภาพของประเทศ ต้องเป็นเรื่องที่เราเก่ง และเพื่อการแข่งขันในระยะยาว
ซึ่งแต่ละจังหวัดของประเทศไทยมีจุดเด่นและมีศักยภาพที่ต่างกัน การใช้นวัตกรรมที่เหมาะกับจุดเด่นของแต่ละที่จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ พรรคชาติไทยพัฒนา นวัตกรรมเพื่อความมั่นคงโอกาสและคุณภาพชีวิตของคนไทย
ล่าสุดประเทศไทยจัดรายงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 372 ล้านตัน ถูกตรึงไว้เพียง 92 ล้านตัน เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนได้รับความอันตราย สู่เหตุภัยพิบัติเช่น น้ำท่วมฉับพลัน
ซึ่งพรรคชาติไทยพัฒนาต้องการให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยหลักการ 'หากปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องจ่ายเงิน และหากตรึงไว้หรือไม่ปล่อยจะได้รับเงิน'
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ รองเลขาธิการ ฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูล และดิจิทัล พรรคก้าวไกล เผยแนวทางว่า หากอยากให้นวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนประเทศได้อย่างยั่งยืน ปัญหาที่เด่นสุดตอนนี้คือ เราต้องสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่
นั่นคือ แก้ไขปัญหาสังคมสูงวัย ซึ่งจะแก้ไขปัญหานี้ หากไม่มีนวัตกรรม เราจะต้องทำให้พวกเขาสามารถรีสกิล มีรายได้มีอาชีพต่อไปได้
รวมทั้งการเข้าถึงน้ำประปาสะอาด ก้าวไกลใช้เทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิตที่จะช่วยลดต้นทุนและเข้าถึงน้ำสะอาดได้อย่างง่าย ดังนี้