GISTDA เชื่อ Spaceport ในไทยเป็นไปได้ เรื่องอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ใกล้ตัวคนไทยมากกว่าที่คิด ต่างประเทศไปไกลมากแล้ว ไทยจะช้าไม่ได้ เราต้องลงมือทำวันนี้
อวกาศ ใครฟังก็ว่าเป็นเรื่องเพ้อฝันที่ไกลตัวและไกลโลก เป็นนิยายที่เข้าถึงยากและเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก แต่ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนไปแล้ว เรื่องอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยอีกต่อไป และใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ประเทศไทยมีศูนย์ดูแลเกี่ยวกับอวกาศที่เรียกว่า GISTDA ทำหน้าที่เชื่อมประเทศไทยกับอวกาศอยู่ด้วย
วันที่ 7 มีนาคม 2566 เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจและโพสต์ทูเดย์ ได้จัดงานสัมมนา อนาคตประเทศไทย หัวข้อ นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ใน Session ที่ 1 หัวข้อ เทคโนโลยีเปลี่ยนไทย-เปลี่ยนโลก ได้รับเกียรติจาก ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA โดยดร.ปกรณ์ได้กล่าวภายใต้หัวข้อนี้ว่า เรื่องอวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทย แต่เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด
ใกล้ชิดขนาดไหน ก็ใกล้ขนาดที่ว่า เราทุกคนก็ใช้ประโยชน์จากอวกาศอยู่ทุกวัน เช่น Google, GPS การพยากรณ์อากาศ ดังนั้น เทคโนโลยีเปลี่ยน….โลกก็เปลี่ยน อวกาศไม่ใช่เรื่องของประเทศมหาอำนาจ หรือแค่ภาครัฐ แต่มันสามารถเป็นเรื่องของประชาชนและเอกชนด้วย อย่างที่เห็นว่าทุกวันนี้มีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นมากมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GISTDA เผย จุดความร้อนไทยพุ่งต่อเนื่องกว่า 3.7 พันจุด สูงสุดในรอบปี
ตะลึง! ไทยพบจุดความร้อนมากสุด "เขตป่าอนุรักษ์" ทั้งประเทศเกือบ 2,500 จุด
รู้จักวิธีใช้แอป "เช็คฝุ่น" ดึงภาพดาวเทียมมาวิเคราะห์ ฝีมือ GISTDA-ม.เกษตร
ข้อมูลดาวเทียม IOT GPS สำคัญมาก ๆ เราสามารถใช้ประโยชน์ทั้งในด้านของ Smart Farming / ความปลอดภัย (Security) / ด้านการเกษตร (Agriculture) ดังนั้น เราต้องตระหนักได้แล้ว เพราะต่างประเทศเขาไปไกลมากแล้ว อย่างปีที่แล้ว Space X ปล่อยดาวเทียวและยานอวกาศไปแล้วกว่า 2,000 เครื่อง ดังนั้น เราจะช้าไม่ได้
Ground Station อากาศยานอวกาศ กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลก สงครามก็ใช้เทคโนโลยีอวกาศในการขับเคลื่อนและการสู้รบ สิ่งที่ตามมาคือ ชิ้นส่วนอวกาศที่ในปัจจุบันมีมากกว่า 30,000 ชิ้นแล้วนอกโลก และมันก่อให้เกิดอาชีพใหม่ นั่นคือ อาชีพกำจัดขยะอวกาศ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องลงทุนคือสมองในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพเกิดใหม่นั้น
ส่วนประเทศไทย อดีตเราเป็นผู้ใช้ (USER) แต่เราจะไม่เป็นผู้ใช้อีกต่อไปแล้ว ปีนี้เราจะเดินหน้า Launch ดาวเทียมของภาครัฐ เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของเราเอง (Technology Development) เรามีวิศวกรที่รองรับเทคโนโลยีอวกาศที่กำลังจะเกิดขึ้น
เปิดตัวโครงการ SERVIR-Southeast Asia เตือนภัยพิบัติล่วงหน้าเร็วขึ้น
เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด! “ชิ้นส่วนจรวด” กำลังจะตกสู่โลก ห่างโลกเพียง 146 กม.
ยกตัวอย่าง ปัญหาด้านสภาพอากาศ ดาวเทียมสามารถตรวจวัดมีเทนในแต่ละพื้นที่ได้ หรือการดูดซับคาร์บอนของพืชแต่ละต้นได้ ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดปัจจุบันได้ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และเราก็ได้เปิดให้บริการอัปเดตรายเดือนในเรื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ซึ่งสำคัญมาก ๆ ในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของไทยและโลก
Spaceport Thailand เป็นไปได้
เรื่องจุดจอดเกี่ยวกับอากาศยานอวกาศหรือท่าอวกาศยานในประเทศไทยสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราศึกษาวันนี้ คิดวันนี้ ลงมือทำวันนี้ GISTDA ได้ร่วมมือกับเกาหลี ญี่ปุ่น และนาซา ในการพัฒนานวัตกรรมดาวเทียมและอวกาศ และ GISTDA เองก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลกด้วย เราจะเปลี่ยนจากเรื่องแต่งให้เป็นวิสัยทัศน์ (Fiction to Vision) เทคโนโลยีอวกาศ เปลี่ยนโลก เปลี่ยนประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ทุกคนเข้าถึงได้
ทำอย่างไรให้เทคโนโลยีนี้ใกล้ตัวประชาชน
เรื่องนี้เราต้องตีโจทย์ ว่าความต้องการของประเทศคืออะไร เราต้องการสร้างดาวเทียมไปเพื่อรู้อะไร ด้านการเกษตร ด้านสภาพอากาศ ด้านภัยธรรมชาติ เราพัฒนาดาวเทียมเพื่อพัฒนาประเทศ สิ่งที่เป็นไปได้คือการร่วมมือกับต่างประเทศในการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มเพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำ และเรื่องนี้รัฐต้องเตรียมความพร้อมให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้น