svasdssvasds

ส่องอนาคตเมืองไทย กับระบบ IoT พัฒนาชีวิตคนไทยให้ดีและง่ายขึ้นกว่าที่เคย

ส่องอนาคตเมืองไทย กับระบบ IoT พัฒนาชีวิตคนไทยให้ดีและง่ายขึ้นกว่าที่เคย

ในงาน Next Step Thailand 2023 ได้มีพรรคการเมืองพูดถึงนโยบายที่เกี่ยวกับ IoT (Internet of Things) เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้วิถีชีวิตคนไทยดีขึ้ทางสปริงนิวส์ได้มีโอกาสสัมภาษณ์กับ นิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไอโอทีเพื่อคลายข้อสงสัยในหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้

นิติ ได้เล่าถึงความเป็นมาของ IoT โดยแะนำถึงความหมายของ IoT ก่อนเป็นอันดับแรก

IoT คืออะไร ทำความรู้จักเทคโนโลยีนี้กันก่อน

Internet of Things (IoT) คือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เทคโนโลยี IoT เข้ามาพัฒนาชีวิตและประเทศไทย สามารถทำได้ในส่วนไหนบ้าง? 

IoT ในปัจจุบันสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ได้เป็นวงกว้าง ยกตัวอย่างเช่น การผลิตน้ำประปา สิ่งที่แตกต่างก็คือ IoT สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลได้ง่ายและละเอียดกว่า ซึ่งจะกลายเป็น Big Data และนำมาวิเคราะห์ต่อเพื่อพัฒนาระบบได้ 

IoT จะสามารถเข้ามาช่วยปรับแต่งค่าสารเคมี คำนวณค่าตกตะกอน ความเป็นกรดเป็นด่าง และความสะอาดต่างๆ และกลายเป็นระบบที่บำบัดน้ำส่งออกสู่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ

แต่ถ้าหากจะเป็นภาพง่ายๆ มักจะอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ IoT สามารถสร้างระบบอัตโนมัติและควบคุมการผลิตได้แล้วในปัจจุบัน

ในส่วนของมิเตอร์ IoT ก็มีการใช้กันในหลายหน่วยงานแล้วในปัจจุบัน ซึ่งสามารถดูข้อมูลการใช้ไฟ , ใช้น้ำได้ผ่าน Smart Device เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน , หรือแท็บเล็ต แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในด้านราคาที่สูงอยู่ อาจไม่เหมาะกับใช้ในครัวเรือน

ซึ่งหากภาครัฐนำระบบ IoT มาปรับใช้ในการให้บริการสาธาณูปโภคกับประชาชน จะทำให้คนไทยสะดวกและง่ายต่อการจัดการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบอกค่าไฟ , ค่าน้ำอย่างละเอียดในครัวเรือน สามารถใช้ IoT เก็บข้อมูลในพื้นที่ต่างๆได้ เช่น พื้นที่ไหนใช้ไฟเยอะหรือไฟน้อย และเข้าพัฒนาแหล่งนั้นๆได้ง่ายขึ้น 

 

 

 

IoT แบบไหนบ้าง? ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาเมืองและชีวิตคนไทย 

ในมุมมองของภาครัฐสามารถนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาเก็บข้อมูลให้เป็น Big Data และจัดการบริหารพัฒนาเมืองและคุณภาพสาธารณูปโภคต่างๆได้ง่ายขึ้น หรือที่เรียกว่า Smart City ซึ่งประกอบไปกด้วย 7 ด้านด้วยกัน ดังนี้

สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ซึ่งเทคโนโลยี IoT จะสามารถเก็บข้อมูลอากาศและมลภาวะ และเข้าไปแก้ไขปัญหาก็จะทำให้สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยดีขึ้น

การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม ไปจนถึงการส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)

พัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบ รวมถึงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความหลากหลายทางสังคม

พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกอันเป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy) เช่น เชื้อเพลงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ เป็นต้น

เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)

เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ (เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น)

การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)

มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

นอกจาก Smart City แล้วปัจจุบัน IoT ยังเข้ามาช่วยพัฒนาชีวิตผู้คนทั่วโลกได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแกดเจ็ตอย่าง Smart Watch ที่สามารถรู้สุขภาพของตัวเองได้แบบเรียลไทม์ กล้องวงจรปิดที่มีระบบเตือนภัยอัตโนมัติ ซึ่งอนาคตเราอาจนำเทคโนโลยีเหล่านี้เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลหรือสถานีตำรวจและเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออันตรายเราจะสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้นและป้องกันได้ก่อนเหตุการณ์อันตราย

สุดท้ายนี้บางคนอาจยังไม่รู้จักเทคโนโลยี IoT โดยละเอียด แต่ชีวิตคนไทยในปัจจุบันก็ได้มีโอกาสสัมผัส IoT ในชีวิตประจำวันไปแล้วโดยไม่รู้ตัว เช่นการสั่งงานด้วยเสียง เช่น Siri , การสตาร์ทรถผ่านแอปพลิเคชั่น แต่หากประเทศไทยและภาครัฐและเอกชนนำระบบนี้มาใช้อย่างจริงจัง เชื่อว่าชีวิตคนไทยจะสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างแน่นอนในหลากหลายด้าน

ที่มา : depa , คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไอโอที 

related