svasdssvasds

Google แนะเครื่องมือ ช่วยผู้ปกครองกรองเนื้อหาวัยเด็ก เล่นโซเชียลปลอดภัย

Google แนะเครื่องมือ ช่วยผู้ปกครองกรองเนื้อหาวัยเด็ก เล่นโซเชียลปลอดภัย

Google ได้เผยข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้ผู้ปกครองและคนทั่วไปรับทราบและเตรียมพร้อมที่จะดูแลความปลอดภัยของเด็กๆที่ใช้อินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันเด็กและเทคโนโลยีต่างๆมีความเชื่อมโยงในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น เรียนออนไลน์, การพูดคุยกับเพื่อนๆ

เชื่อว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาที่บุตรหรือหลานเริ่มใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็ปเลตรวดเร็วกว่าในยุคก่อน ทำให้การควบคุมเนื้อหาต่างๆที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ยาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงมีความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ

ไม่ว่าจะมาจากทางช่องทางโซเชียลมีเดียหรือช่องทางการค้นหาอย่างกูเกิล ยิ่งเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นมากเท่าไร การดูแลควบคุมก็ยิ่งต้องมากขึ้นเท่านั้น ความกังวลของผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองจึงสูงมากขึ้นในทุกๆวันนี้

ดังนั้น ความท้าทายของผู้ปกครองในการติดตามเรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามและควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน และความยากลำบากในการพูดคุยกับบุตรหลานของตน 

Google ได้นำเสนอถึงเครื่องมือที่จะช่วยคัดกรองเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาดีๆให้กับบุตรหลานหรือเด็กเล็ก ดังนี้

Be Internet Awesome เป็นทั้งเครื่องมือและเกมแบบอินเทอร์แอคทีฟที่สอนเด็กๆ เกี่ยวกับพื้นฐานของการเป็นพลเมืองดิจิทัลและความปลอดภัยบนโลกออนไลน์

Google แนะเครื่องมือ ช่วยผู้ปกครองกรองเนื้อหาวัยเด็ก เล่นโซเชียลปลอดภัย

Family Link ช่วยตั้งกฎพื้นฐานทางดิจิทัลเพื่อแนะนำบุตรหลานในขณะที่เรียนรู้ เล่น และสำรวจโลกออนไลน์ รวมไปถึงการสร้างตัวเลือกเวลาหน้าจอที่เหมาะสม

Google แนะเครื่องมือ ช่วยผู้ปกครองกรองเนื้อหาวัยเด็ก เล่นโซเชียลปลอดภัย

ฟีเจอร์ค้นหาปลอดภัยโดย Google ช่วยกรองเนื้อหาที่โจ่งแจ้งและไม่ปลอดภัยในผลการค้นหาของ Google สำหรับการค้นหาทั้งหมด รวมถึงรูปภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่ การตั้งค่า > ผลการค้นหา > ตัวกรองค้นหาปลอดภัย

Google แนะเครื่องมือ ช่วยผู้ปกครองกรองเนื้อหาวัยเด็ก เล่นโซเชียลปลอดภัย

YouTube Kids ผู้ปกครองสามารถสร้างโปรไฟล์สำหรับบุตรหลานเพื่อแสดงเนื้อหาที่เหมาะสำหรับครอบครัว และจัดการเวลาอยู่หน้าจอ

Google แนะเครื่องมือ ช่วยผู้ปกครองกรองเนื้อหาวัยเด็ก เล่นโซเชียลปลอดภัย

ในช่วงปีที่ผ่านมา Google ได้ตรวจสอบกับผู้ปกครองทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมถึงประเทศไทย เกี่ยวกับการจัดการการใช้เทคโนโลยีของบุตรหลาน และได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กและครอบครัวที่แสดงให้เห็นว่า

ผู้ปกครอง 83% มั่นใจว่าบุตรหลานจะมาปรึกษาเมื่อพบปัญหาบนโลกออนไลน์

ผู้ปกครอง 67% ได้เสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ (เทียบกับ 66% ในปี 2564)

ผู้ปกครอง 79% ได้พูดคุยกับบุตรหลานเรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ (เทียบกับ 77% ในปี 2564)

ทั้งนี้ ผู้ปกครองต่างเข้าใจดีว่าตั้งแต่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กิจกรรมหลายอย่างได้ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์  โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ที่มีถึง 55% โดยแอปการศึกษายอดนิยมในปีที่ผ่านมา ได้แก่ Khan Academy 16% , Google Classroom 14% , Duolingo 12%

นอกจากกิจกรรมการเรียนออนไลน์แล้ว ยังมีกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ ด้วย โดย 36% เป็นการติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวทางไกล และ 33% เป็นการเล่นเกมออนไลน์กับเพื่อน

และถึงแม้ผู้ปกครองส่วนมากอนุญาตให้บุตรหลานมีเวลาอยู่หน้าจอนานขึ้น

แต่ 1 ใน 3 ของผู้ปกครองยังรู้สึกว่าบุตรหลานของตนไม่มีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ โดยความกังวลอันดับต้นๆ ของผู้ปกครองคือ เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย และการล่อลวงออนไลน์

ในขณะที่อายุเฉลี่ยของบุตรหลานที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเองคือ 9 ปี ซึ่งใช้โทรศัพท์มือถือตั้งแต่วัยเด็กต่างจากสมัยก่อน แต่อายุเฉลี่ยของบุตรหลานที่มีการพูดคุยเรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์อยู่ที่ 13 ปี

และนอกจากเครื่องมือที่ทาง Google นำมาช่วยคัดกรองแล้ว การพูดคุยกับบุตรหลานหรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการสอนวิธีใช้ที่ถูกต้อง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสื่อต่างๆที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เด็กๆสามารถคัดกรองและรับมือกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าระบบที่อาจผิดพลาดและกรองได้ไม่ทั้งหมด

อนาคตโลกอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจมีทั้งข้อดีข้อเสียสำหรับทุกคน และวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการที่ปรึกษา การเรียนรู้

related