PropTech (Property Technology) หรือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในต่างประเทศ แต่ละเทคโนโลยีจะตอบสนองการใช้ชีวิตในยุคต่อไปอย่างไร ชวนคนไทย สตาร์ทอัพไทย มาดูเพื่อรู้ ดูเพื่อพัฒนาต่อยอด อาจเพื่อผู้อื่นหรือเพื่อตัวคุณเอง
ยุคที่โลกรวน เกิดโรคระบาดใหญ่ อะไรๆ ก็ไม่เหมือนเดิม มนุษย์จึงต้องสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมาช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกขึ้น และที่จะตามมาเมื่อได้รับความสะดวกสบายคือ มันจะเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตของเราไปเรื่อยๆ และในที่สุดก็จะเปลี่ยนแปลงชุดความคิดและการกระทำของเราไปอย่างสิ้นเชิง
ยกตัวอย่าง FinTech เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบริการทางการเงินที่ชาวเราเปิดรับมากขึ้นเพราะโควิด-19 ทำให้เราต้องเว้นระยะห่าง EdTech เทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่นักเรียนและครูเปิดรับมากขึ้น เนื่องจากถูกบังคับทางอ้อมให้ต้องเปลี่ยนไปเรียนผ่านทางออนไลน์ รวมถึง PropTech ที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การซื้อบ้าน!
7 เทรนด์ PropTech ที่จะพลิกวิธีซื้อบ้านภายในปี 2025
..............................................................................................
อ่านเพิ่มเติม
RentSpree : PropTech ไทยที่ข้ามไปโต 1001% ในอเมริกา ขึ้นแท่น Inc. 5000
ส่องบ้านยั่งยืนของ Elon Musk และโปรเจกต์มีบ้านได้ในราคา 10,000 ดอลลาร์
..............................................................................................
มาดูกันว่าเทรนด์ PropTech แต่ละข้อนั้นเปลี่ยนแนวทางการซื้อบ้านไปอย่างไร
เช่น แบรนด์ Zillow ที่ดีไซน์พื้นที่แบบอินเตอร์แอ็คทีฟ เปิดให้ทัวร์รอบบ้านแบบสามมิติผ่านอุปกรณ์ VR หรือสมาร์ทโฟน และเพิ่ม AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยตอบคำถามเรื่องบ้าน หรือ Matterport สตาร์ทอัพที่นำ 3D Imagery มาใช้ถ่ายภาพพื้นที่เพื่อสแกนดูว่า สถานที่แห่งนั้นมีพื้นที่เท่าไหร่ ด้วยเทคโนโลยี AI และ Smart Measurement และยังใช้งานได้ทั่วโลกเพราะสะดวกด้วยการแคปเจอร์ภาพ แล้วแพลตฟอร์มก็ใช้ทั้งซอฟต์แวร์เครื่อง แอปในมือถือ และกล้องเพื่อแสดงให้เห็นว่า อสังหาริมทรัพย์อยู่ในทุกมิติ
เชื่อไหม…มีเอกสารเกือบ 1.3 พันล้านฉบับที่ใช้ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ลายเซ็นดิจิทัล และได้รับการรับรองในสหรัฐอเมริกาแล้ว! และการใช้งาน ลายเซ็นดิจิทัล ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้จะดิสรัปต์การลงชื่อหรือเซ็นชื่อโดยตัวบุคคล แล้วส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผู้ให้บริการด้านลายเซ็นดิจิทัลที่จะเติบโตอีกเยอะมาก เช่น HelloSign บริษัทสตาร์ทอัพที่ให้บริการด้านลายเซ็นดิจิทัลที่ Dropbox เข้าซื้อกิจการไปแล้ว
หากดูมูลค่าตลาดลายเซ็นดิจิทัลทั่วโลก คาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี 2021 ถึง 2027 จะเติบโตเฉลี่ย 26.3% ต่อปี โดยในปี 2025 คาดว่าตลาดนี้จะมีมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ และในปี 2030 คาดว่ามูลค่าตลาดจะแตะหลัก 24 ล้านดอลลาร์ โดยสองเหตุผลหลักที่จะทำให้ธุรกิจลายเซ็นดิจิทัลโตอย่างมากคือ แพลตฟอร์มมีความยืดหยุ่น และ ปลอดภัย
ในภาพรวม การโฆษณาของอสังหาริมทรัพย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 30 พันล้านดอลลาร์ แต่การที่แพลตฟอร์มโฆษณาเข้ามาดิสรัปต์พื้นที่โฆษณาของธุรกิจอสังหาฯ หรือกินพื้นที่โฆษณาของแบรนด์อสังหาริมทรัพย์เสียเอง ผู้เชี่ยวชาญในวงการอสังหาริมทรัพย์อาจหาโซลูชันที่ช่วยกำหนดโฆษณาได้เอง หรืออาจใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กแสดงโฆษณาให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ในพื้นที่เดียวกันได้เห็น เช่น Nextdoor แพลตฟอร์มที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างนายหน้าในพื้นที่กับเจ้าของบ้านที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน
การจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหลากหลายจะสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของเจ้าของทรัพย์สินได้แบบเรียลไทม์ โดยจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดช่องว่าง เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ตลอดจนสร้างผลกำไร เช่น Knock CRM แพลตฟอร์มอัตโนมัติที่มีเครื่องมือและแนวทางสนับสนุนที่จำเป็นในการเติมเต็มช่องว่างทางเทคโนโลยี ที่ยังช่วยบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ หลังจากระดมทุนได้ 20 ล้านดอลลาร์ในปี 2021
โลกของการลงทุนโดย ‘นักลงทุนรายย่อย’ จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก และแนวโน้มนี้จะไปไกลกว่าแค่ตลาดหุ้น ตลาดเงินดิจิทัล แต่จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วย
เนื่องจากการเริ่มต้นซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก นักลงทุนจึงกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับคนอื่นๆ ผู้ประกอบธุรกิจ Proptech ก็จะให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาฯ บางส่วน และเปิดรับการระดมทุนเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนร่วมกันอีกทางหนึ่ง
Mr. Ruffles is a fearless protector. But your smart thermostat doubles as a security hub to:
— ecobee (@ecobee) July 20, 2022
🧐Outsmart intruders
🧯Protect you from fires
🥶Alert you to frozen pipes *
Learn more: https://t.co/77Dnkw4jL1
*ecobee Smart Security plan required pic.twitter.com/LoMO7EHiKw
การเปลี่ยนบ้านให้เป็น บ้านอัจฉริยะ ถือเป็นอีกวิธีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อสังหาฯ และจากผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า 62% ของผู้เช่า ที่เป็น Gen Z จะพิจารณาบ้านที่ให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยี มากกว่าสิ่งอำนวยความสะดวกแบบเดิมๆ อย่างฟิตเนส ลานจอดรถ
เช่น Ecobee ผู้ให้บริการด้านระบบอัตโนมัติภายในบ้านโดยจะติดตั้งเทอร์โมสแตท กล้อง และเซ็นเซอร์ เพื่อติดตามความปลอดภัยและทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานได้อย่างอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT
iBuyers คือ คนที่นิยมการซื้อมาขายไป เช่น ซื้อบ้านมาแล้วขายต่อ และใช้ระบบอัตโนมัติช่วยให้สิ่งที่ซื้อมาสามารถขายออกได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะเป็น iBuyer ได้ต้องพึ่งพาข้อมูลมหาศาลและมองออกว่าศักยภาพของบ้านหลังนั้นๆ ขายได้ แม้ไม่ได้ไปเห็นด้วยตาตัวเอง และ iBuyers จะได้รับความสนใจจากเจ้าของบ้านมากขึ้น โดย 71% ของผู้ที่ต้องการขายบ้านระบุว่า พวกเขาจะพิจารณาให้ iBuyers ช่วยขายบ้านให้
ในช่วงการระบาดใหญ่ บทบาทของ iBuyers ลดลงอย่างมาก แต่เมื่อไทยกลับมาเปิดประเทศ ยอด iBuyers ก็กลับมาเช่นกัน แม้แต่ CEO ของ Knock CRM เองยังเชื่อว่า ครึ่งหนึ่งของยอดขายบ้านทั้งหมดจะถูกกว้านซื้อโดย iBuyers ภายใน 10 ปีข้างหน้า
..............................................................................................
ที่มา