SHORT CUT
การลงทุน AI ถือว่าเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากตกยุค แต่รู้หรือไม่ว่า Traditional AI กับ Generative AI มีความแตกต่างกัน และในบางชิ้นงานก็ควรทำคู่กันเพื่อให้ผลลัพธ์ดีขึ้นเช่นกัน
ภาคธุรกิจเริ่มสนใจอยากได้ AI มาประยุกต์ใช้ในหลายด้าน ทำให้ในการลงทุนระยะแรกองค์กรอาจเจอปัญหาค่าใช้จ่ายสูงและตัวเลือกผู้ให้บริการในตลาดยังมีน้อย
ปัจจุบัน AGI (Artificial General Intelligence) หรือ Generative AI มีเพียง 3 Use Cases ที่วัดผลได้ นั่นคือ การใช้งานเทคโนโลยี ANI (Artificial Narrow Intelligence) หรือ Traditional AI ควบคู่กัน เพื่อผลลัพธ์ที่วัดผลได้ในต้นทุนที่เหมาะสม
นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด กล่าวว่า เทรนด์การใช้ Generative AI (AI สร้างสรรค์) เป็นกระแสที่ถูกพูดถึงและมาแรงอย่างมาก ภาคอุตสาหกรรมต่างตื่นตัวและมีแผนลงทุนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรมากขึ้น
Gartner ระบุว่าในช่วงปีที่ผ่านมา Generative AI ถูกยกเป็นวาระของผู้บริหารองค์กร โดยในหลายองค์กรได้เริ่มนำร่องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว ซึ่งการประยุกต์ใช้ Generative AI มีความท้าทาย 2 ด้าน คือ
การประยุกต์ใช้ Generative AI โดยทันทีอาจมีข้อจำกัดและได้ผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มค่า องค์กรควรพิจารณาเทคโนโลยี ANI (Artificial Narrow Intelligence) หรือ Traditional AI (AI แบบดั้งเดิม) ควบคู่กัน เพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มองหาการใช้งานจริงในทันทีและผลลัพธ์ที่วัดผลได้ในต้นทุนที่เหมาะสม การเริ่มต้นด้วย ANI อาจตอบโจทย์มากกว่า เพราะเทคโนโลยี ANI ได้รับการออกแบบมาให้เรียนรู้งานหรือโดเมนที่เฉพาะเจาะจง มีโซลูชันที่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดให้เลือกใช้อย่างหลากหลายในตลาด เช่น Machine Learning, Neural Network หรือ Deep Learning เป็นต้น
โดย ANI มีข้อพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมจาก Case Study ของบริษัทระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Starbucks, Facebook, Tesla, Apple ที่ล้วนแล้วแต่นำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ
ทั้งนี้ การเลือกระหว่าง ANI และ Generative AI หรือการตัดสินใจใช้งานทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ขององค์กร เช่น วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ทรัพยากรที่มีอยู่ ความพร้อมทางเทคโนโลยี และข้อกำหนดเฉพาะของอุตสาหกรรม
ดังนั้น เจ้าของธุรกิจควรประเมินความต้องการ พิจารณาถึงประโยชน์และความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละแนวทาง รวมถึงผลตอบแทนในการลงทุน (Return on investment : ROI) และพัฒนากลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและลำดับความสำคัญระยะยาว
นอกจากนี้ ตัวอย่างของการใช้งาน Generative AI ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและวัดผลแล้วว่าใช้ประโยชน์ได้จริง ควรประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
นอกจากนี้ การพัฒนาเครื่องมือสำหรับ AI มาใช้งานนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำงานและตอบโจทย์ในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
อย่างไรก็ตาม การตระหนักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากช่วยให้องค์กรเดินหน้าทำงานได้เร็วขึ้น ลดปัญหาด้านการจ้างงานที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์แล้ว ยังทำให้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้
แต่ทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนอย่างเหมาะสมและบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างสมเหตุสมผลด้วย
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม