SHORT CUT
สกสว.เดินหน้าต่อยอดผลงานวิจัยชั้นเลิศสู่การนำมาใช้งานจริง หลังวงการแพทย์สร้างวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-ไข้หวัดใหญ่สำเร็จ ดึงวิจัยอื่นพัฒนาชุมชนสู่ประเทศ พ้ออยากได้เงินทุนรัฐเพิ่ม อย่างน้อย 2% ของจีดีพี
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานหลักในการยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) อย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งมอบคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมนำไปสู่การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและพร้อมสำหรับโลกอนาคต
ทั้งนี้ เพื่อให้งานวิจัยที่ดีขึ้นหิ้ง สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้จริง โดยทาง สกสว.ก็คาดหวังงบจากทางรัฐบาลเพิ่มอีก 2% จากจีดีพีประเทศ ซึ่งตอนนี้เราได้ที่ 1.2-1.3% เท่านั้น ทำให้งบเฉลี่ยแต่ละโครงการอยู่ที่ 500 ล้านบาท ซึ่งยังไม่พอต่อการสร้างการเติบโตขนาดใหญ่
การคาดหวังงบครั้งใหม่นี้ เพื่อให้รัฐได้ประโยชน์จากการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะตอนนี้เอกชนเป็นคนลงทุนหลักถึง 70% ทำให้ผลประโยชน์ต่างๆ ต้องตกเป็นของผู้ลงทุนและภาพรวมประเทศก็ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก
นอกจากนี้ ยังหวังการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ไม่ใช่ความสำเร็จแค่ระดับชุมชน แต่ต้องสร้างอิมแพคระดับประเทศได้ซึ่งจะเริ่มเดินหน้าในปีนี้
เดิมงบที่ใช้เยอะคือด้านการแพทย์ เราทำวัคซีนสำเร็จแล้ว ต่อมาก็วัคซีนไข้หวัดใหญ่และในปี 2567 ก็น่าจะมีวัคซีนใหม่ 1 ตัว ปี 2568-2569 ก็จะได้มาเพิ่มอีก ถือว่าการแพทย์ไทยพัฒนาไปในแนวทางที่ดี
ผอ.สกสว. กล่าวเพิ่มเติมว่า การเดินหน้านโยบายด้านงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรมนั้น ประกอบด้วย 4 เรื่องหลัก คือ
อย่างเช่นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับทางเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยนั้น ก็เพื่อตอบโจทย์ต่อประเด็นด้านการพัฒนาระดับประเทศและระดับชาติ หวังว่าทุน ISPF จะเป็นหมุดหมายสำคัญด้านความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสหราชอาณาจักรและไทย
มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือภายใต้กองทุน Newton Fund ระหว่างปี 2557 - 2562 ด้วยการลงทุนในสหราชอาณาจักรจำนวน 46 ล้านปอนด์ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทั้งสองประเทศ
ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัยกว่า 1,700 คน ความร่วมมือด้านการวิจัยในโครงการขนาดใหญ่กว่า 115 โครงการ ในด้านสุขภาพ การเกษตร พลังงาน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนานโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นอกจาก Newton Fund แล้ว ประเทศไทยยังมีความร่วมมือกับสหราชอาณาจักรภายใต้ Global Challenges Research Fund (GCRF) ซึ่งเป็นทุนที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศที่กำลังพัฒนาอีกด้วย
โดย Department for Science, Research and Technology (DSIT) สหราชอาณาจักร ได้จัดสรรงบประมาณ 337 ล้านปอนด์ ตั้งแต่ปี 2022 – 2025 เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยอังกฤษได้ทำงานร่วมกับประเทศพันธมิตรทั่วโลก ภายใต้ 4 ประเด็นมุ่งเน้นหลักของสหราชอาณาจักร ได้แก่
โดยไทยมีความร่วมมือกับสหราชอาณาจักรภายใต้ ISPF แล้ว 6 โปรแกรม ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่คาดว่าจะมีความร่วมมือเพิ่มเติมอีก ได้แก่
ทั้งนี้ ทุกฝ่ายคาดหวังความร่วมมือครั้งใหญ่ที่อยากจะให้รัฐบาลของไทยใส่ใจเรื่องของการนำผลงานวิจัยมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด เพราะนักวิจัยของไทยมีผลงานการศึกษาข้อมูลที่ดีมาก แต่มักถูกทิ้งไว้ให้หายไปตามกาลเวลา
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม