svasdssvasds

เทียบแผนลงทุน “Kerry – lazada” ใช้ “AI-เทคโนโลยีขนส่ง” แก้ของหาย ส่งช้า

เทียบแผนลงทุน “Kerry – lazada” ใช้ “AI-เทคโนโลยีขนส่ง” แก้ของหาย ส่งช้า

เทียบแผนการลงทุนโลจิสติกส์ของ Kerry - lazada ทุ่มงบไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท เพื่อลงทุนเทคโนโลยีด้านการขนส่ง แก้ปัญหาของหาย ส่งช้า และทำพัสดุตกค้าง รับเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้น

นอกจากเรื่องของการชอปปิงออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาหลายปี แม้ช่วงสองปีหลังทั้ง ช้อปปี้ และ ลาซาด้า เริ่มมีกำไรเข้ามาบ้างแล้ว 

ตอนนี้สิ่งที่ต้องเร่งแข่งขันคืองานบริการ อย่างการ "ขนส่ง" ทำให้ระบบบริหารจัดการเรื่องการขนส่งหรือโลจิสติกส์ (Logistics) มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแรงของธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำกันเลย

การเปรียบเทียบธุรกิจโลจิสติกส์

เคอรี่ (Kerry)

มูลค่าธุรกิจ :

รายได้ 6,068 ล้านบาท ขาดทุน 1,834 ล้านบาท (ตัวเลขครึ่งปี 2566)

ตัวเลขการลงทุนโลจิสติกส์ :

34,000 ล้านบาท

เทคโนโลยีที่ใช้ :

  • Smart Sorting : เทคโนโลยีช่วยคัดแยกพัสดุเพื่อกระจายสินค้าไปภูมิภาคและจังหวัดต่างๆ
  • Digital Mapping : ช่วยระบุที่อยู่ในหมุดแผนที่ปลายทาง

เคอรี่ ผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุ เจอปัญหาขาดทุนกว่า 2,829 ล้านบาท ในปี 2565 และในครึ่งปีแรกของปี 2566 ก็ยังขาดทุน 1,834 ล้านบาท

ทั้งนี้ การจัดแคมเปญของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้ง 11/11 และ 12/12 คาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เคอรี่สามารถทำกำไรฟื้นขึ้นมาได้

ลาซาด้า (Lazada)

มูลค่าธุรกิจ :

รายได้ 20,675 ล้านบาท กำไร 413 ล้านบาท (ตัวเลขปี 2565)

ตัวเลขการลงทุน :

มูลค่า1,000 ล้านบาท เฉพาะศูนย์ที่เทพารักษ์ และยังมีแผนตั้งเป้าในการทำศูนย์โลจิสติกส์อีก 10 แห่ง)

เทคโนโลยีที่ใช้ :

  • กล้อง AI : ติดตั้งและสแกนพัสดุบนสายพาน
  • ระบบสายพาน : ช่วยจัดเรียงพัสดุให้มีระยะห่างอย่างเป็นระเบียบ
  • ระบบเซนเซอร์ตรวจจับปากถุง : ระบบแจ้งเตือนให้ปิดปากถึงและส่งถุงไปตามรางเหล็กเพื่อกระจายสินค้า

ปี 2565 ที่ผ่านมา ลาซาด้ามีรายได้กว่า 20,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.9% เรียกได้ว่าสร้างกำไรต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เมื่อเทียบกับปี 2564 และในครึ่งปีแรก 2566 ลาซาด้าก็ประเมินว่าการแข่งขันอีคอมเมิร์ซยังสูงเช่นเดิม

  • 74% ของผู้บริโภคชาวไทยซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง
  • 25% ซื้อสินค้าหลายครั้งต่อสัปดาห์
  • จำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซ 43.5 ล้านคน คิดเป็น 61.8% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
  • จำนวนผู้ขายสินค้าบนลาซาด้าเพิ่มขึ้น 30% 
  • อีคอมเมิร์ซไทยมีส่วนแบ่งตลาด 16% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด

 

ที่มา : Lazada, Positioning

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related