ESG แนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ที่มาจากเรื่องของ Environment, Social และ Governance ที่นอกจากจะได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจแล้ว ยังเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้นอีกด้วย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้รวบรวมประเด็นความท้าทายด้าน ESG ที่ภาคธุรกิจควรจับตามองในปี 2566
จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ความผันผวนของราคาพลังงาน และข้อจำกัดในการหาแหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และการตัดสินใจลงทุนด้าน ESG ของภาคธุรกิจ
กลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แบ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ออกเป็น 3 ระดับ คือ
ซึ่งภาคธุรกิจสามารถอ้างอิงเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต่ำลงได้หากจัดอยู่ในประเภทเขียวหรือเหลือง ในขณะที่กิจการในกลุ่มสีแดงอาจเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น มาตรการปรับราคาคาร์บอน ก่อนข้ามพรมแดน สำหรับสินค้านำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การเตรียมใช้ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการทำลายป่าไม้ของสหภาพยุโรป
การเตรียมใช้ร่างกฎหมาย Clean Competition Act ของสหรัฐฯ รวมทั้งแนวโน้มการผลักดันด้านการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ที่หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ถึงแม้ว่าบางพื้นที่ของสหรัฐฯ อาจมีการนำเคมเปญด้านการต่อต้านการดำเนินการด้าน ESG (Anti-ESG Campaign) ผ่านการออกกฎหมายในบางรัฐ แต่อาจเป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่าการนำมาบังคับใช้จริง
ร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้ประกอบการ ที่นำเข้าสินค้ามายังอียูจะต้องมีการตรวจสอบและรายงาน การมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free products) จากสินค้า 7 กลุ่ม ได้แก่
ผู้ประกอบการ จะต้องแสดงข้อมูลที่ตรวจสอบได้ว่าสินค้านำเข้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่านับตั้งแต่ปี 2564 โดยหากไม่ปฏิบัติตามจะมีค่าปรับ
สำหรับประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ จะมีข้อกำหนดด้านการทำบัญชีที่เกี่ยวข้องสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากความท้าทายดังกล่าวที่จะต้องจับตามองแล้ว ประเด็นเรื่องของการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) เทคโนโลยีการผลิตและการใช้เชื้อเพลิง พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาด
นอกเหนือจากประเด็นความท้าทายด้าน ESG ทั้ง 3 ข้อ ได้แก่
นอกจากสิ่งที่จะต้องจับตามองแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องของการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่น เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) เทคโนโลยีการผลิตและการใช้เชื้อเพลิง พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ที่จะมาเป็นอีกปัจจัยผลักดันให้การดำเนินการด้าน ESG และการบรรลุเป้าหมายทางการลดปัญหาสภาพภูมิอากาศตามแผนงานขององค์กรได้เห็นภาพมากขึ้น
ที่จะมาเป็นอีกปัจจัยผลักดันให้การดำเนินการด้าน ESG และการบรรลุเป้าหมายทางการลดปัญหาสภาพภูมิอากาศตามแผนงานขององค์กรได้เห็นภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน