ถ้าพูดถึงอาหารที่คู่บ้านคู่ครัวไทยมาเป็นเวลานาน เห็นจะเป็น น้ำพริก เครื่องจิ้มรับประทานคู่กับผักซึ่งไม่ได้มีดีแค่รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายทั้งจากผัก และวัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำพริก
ส่วนประกอบในน้ำพริก ทั้งทำให้กินกับผักอร่อยขึ้นแล้วยังอุดมไปด้วยประโยชน์อีกด้วย
-พริกขี้หนู มีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับลม ลดระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดทั้งยังขับเหงื่อและมีสารต้านอนุมูลอิสระ
-กระเทียม ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อย ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการอักเสบ ช่วยเหนี่ยวนําให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์บํารุงระบบประสาท ป้องกันการอุดตันในหลอดเลือด
-มะเขือพวง มีสารละลายน้ำที่เรียกว่าเพ็กทิน (Pectin) ช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินจากอาหารและลดการดูดซึมอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
-กะปิ อุดมด้วยโปรตีนให้แคลเซียม ไขมันต่ำมีวิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือด
-มะนาว ช่วยให้เจริญอาหารแก้ร้อนใน และป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
คนไทยสมัยก่อนคิดค้นน้ำพริกขึ้นเพื่อเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวจากเมนูอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ที่เรารับประทาน ซึ่งน้ำพริกของแต่ละภาคก็มีสูตรที่แตกต่างกันออกไป อย่าง
น้ำพริก ภาคเหนือ เครื่องปรุงทุกอย่างต้องย่างหรือเผาให้สุกก่อน และปรุงรสด้วยเกลือเป็นหลัก
น้ำพริกภาคใต้ จะมีส่วนประกอบหลักคือ พริก หอม กะปิ และไม่ใส่น้ำมะนาวหรือน้ำตาล จึงมีลักษณะแห้ง
น้ำพริกของทางภาคอีสาน มีหลายอย่าง เช่น ป่น เป็นน้ำพริกที่ประกอบด้วยพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม โขลกผสมกับปลา เห็ด หรือเนื้อสัตว์อื่น ใส่น้ำปลาร้า ลักษณะค่อนข้างข้นเพื่อให้จิ้มผัก และยังมี แจ่ว เป็นน้ำพริกที่มีส่วนผสมหลักคือ น้ำปลาร้าผสมกับพริก ใช้จิ้มทั้งผักและเนื้อสัตว์ ต่อมาจึงเพิ่มเครื่องปรุงอื่นเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้
Cr. สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) / Wikipedia