svasdssvasds

โควิด-19 ทำงง ใดๆ Fact หรือ Fake เช็คให้ชัวร์ผ่าน “แชทชัวร์” ใน Messenger

โควิด-19 ทำงง ใดๆ Fact หรือ Fake เช็คให้ชัวร์ผ่าน “แชทชัวร์” ใน Messenger

“แชทชัวร์” แขตบอตมาใหม่ที่มี AI ทำงานอยู่เบื้องหลัง จากความร่วมมือของ Facebook, สสส., สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และอีกหลายภาคส่วน เพื่อช่วยลดความสับสนงุนงงเกี่ยวกับข้อมูลโควิด-19 ทั้งเรื่องโรค วัคซีน การดูแลสุขภาพ ข้อควรระวัง ฯลฯ โดยถามตอบได้ผ่านทาง FB Messenger



งงไปหมด ก่อนฉีดวัคซีนและหลังฉีดวัคซีน ทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ สารพัดคำถามชวนสับสนและสิ่งที่เกิดขึ้น จะลดลงด้วย “แชทบอท แชทชัวร์ ช่องทางใหม่ที่เปิดให้ 'คุณถาม - ระบบตอบ' ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ถามได้ ตอบได้ ประชาชนก็รู้เรื่องและรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง

  Fake news เยอะ เฟซบุ๊กก็เลยมาร่วม แชทชัวร์ ด้วย  

เพราะช่วงโควิด-19 ระบาดมีการเผยแพร่ ข่าวลวง (Fake News) เต็มไปหมด การนำเสนอก็มาในหลากหลายรูปแบบและสร้างความสับสน ทำให้แชร์กันผิดๆ เข้าใจกันผิดๆ ในฐานะที่ Facebook เป็นสื่อออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก จึงเข้ามาร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรในประเทศไทยในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อต่อสู้กับข่าวลวง โดยเปิดช่องทางให้สื่อสารผ่านระบบแชทบอท แชทชัวร์ บน Messenger ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ไม่ใช่แค่นี้ Facebook จะเข้ามาช่วยจัดการ คัดกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสื่อสารข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน Messenger ทั่วโลกกว่า 1.3 พันล้านคนต่อเดือน และผู้ใช้งาน Facebook ในประเทศไทย มากกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน

“Facebook เชื่อมต่อผู้คนกว่า 2 พันล้านคนใน 189 ประเทศ ให้เข้าถึงข้อมูลจากหน่วยงานทางการของรัฐ ผ่านศูนย์ข้อมูลโควิด-19 บน Facebook สำหรับประเทศไทยมีการเชื่อมต่อกับเพจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพจไทยรู้สู้โควิด สสส. หรือองค์การอนามัยโลก" ไมเคิล บัค หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย กล่าว

facebook micheal

   กองหน้าและกองหนุนของ แชทชัวร์    

เนื่องจากข้อมูลโควิด-19 มีหลากหลายด้าน ในฐานะเครื่องมือสร้างความเข้าใจร่วมกับการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังเข้ารับวัคซีน หน่วยงานที่มาร่วมดำเนินการให้ข้อมูล ผนึกกำลังเพื่อให้ AI โต้ตอบข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ได้แก่

  • กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
  • Facebook ประเทศไทย
  • บริษัท เฮ็ดบอท จํากัด 
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)
  • สถาบันวัคซีนแห่งชาติ 

   จากการจัดทำ 'คู่มือ' สู่การพัฒนา 'แชตบอต'   

ก่อนหน้านี้ สสส. พัฒนาชุดข้อมูลสุขภาพเอาไว้ในชื่อ คู่มือวัคซีนสู้โควิด (ฉบับประชาชน) เพื่อสร้างความเข้าใจในการเตรียมตัวรับวัคซีนโควิด-19 ควบคู่ไปกับการร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มการสื่อสารในรูปแบบแชตบอต โดยในระบบ แชทบอท แชทชัวร์ จะมีชุดข้อมูลสำหรับถาม - ตอบ เป็นภาษาไทยที่ครอบคลุมเนื้อหาหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ 

  • 1. โรคโควิด-19 
  • 2. วัคซีนโควิด-19 
  • 3. การดูแลสุขภาพ
  • 4. การดูแลจิตใจ 

รวมแล้วมีมากกว่า 200 เรื่อง ในระยะต่อไปจะมีการพัฒนาและเผยแพร่ชุดข้อมูลถาม - ตอบ อีก 200 - 400 เรื่อง 

   ใช้งาน แชทชัวร์ อย่างไร ไปดูกัน  

Messenger แชทบอท แชทชัวร์ ที่ทำงานด้วยระบบ AI จะช่วยให้เพจ Social Marketing ThaiHealth by สสส. ตอบคำถามที่มีผู้สอบถามเข้ามาบ่อยและตอบคนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ในการตอบคำถามได้อีกด้วย 

สำหรับการใช้งานแชทบอทบน Messenger ให้เข้าผ่านเพจ Facebook : Social Marketing ThaiHealth by สสส. แล้วพิมพ์ถามในช่องส่งข้อความ Messenger ดูจากเมนูที่มี แล้วเลือกการค้นหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโควิด-19 ในด้านต่างๆ 

messenger

แชทชัวร์ charbot

จากการขยายความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ผ่านการทำงานของ สสส. และพันธมิตรด้านเทคโนโลยี Hbot ข้อมูล (คำตอบ) ที่ปรากฏจากการป้อนคำถาม - คำตอบภาษาไทย เข้าไปในระบบ แล้วให้ AI ประมวลผล ดึงคำตอบที่ตรงกับคำถามขึ้นมาแสดงผล แพทเทิร์นการถามจึงต้องสอดคล้องกับแพลตฟอร์มนี้ เช่น ต้องถามทีละคำถาม หากถามเรื่องยา ให้พิมพ์ชื่อยาที่ต้องการทราบรายละเอียดทีละชื่อ 

เนื่องจากเป็นการโต้ตอบผ่านภาษาไทย (ไม่ใช่ภาษาที่ใช้กันทั่วโลกอย่างภาษาอังกฤษ) การใช้ AI ประมวลผล จึงมีข้อดีคือ ยิ่งมีการถาม - ตอบ หรือมีข้อมูลภาษาไทยวิ่งในระบบมากๆ เข้า แพลตฟอร์มแชทชัวร์จะเรียนรู้และตอบคำถามเราได้เร็วขึ้น ใกล้เคียงภาษามนุษย์ยิ่งขึ้น

อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ดูคลิปสาธิตการวิธีการใช้งานได้ที่ https://youtu.be/HoPVHlR2Y0w

 

   เฮ็ดบอท (Hbot) สตาร์ทอัพไทยที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันแชร์สิ่งที่ถูก   

ในฐานะบริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาแพลตฟอร์มผลิตแชตบอต ชญานิษฐ์ ศรีนาคอ่อน ผู้บริหารบริษัท เฮ็ดบอท จํากัด กล่าวถึงว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมพัฒนาระบบแชทบอท แชทชัวร์ ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้ร่วมงานกับ Facebook ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มระดับโลก

"ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันในการพัฒนาโครงการนี้ เชื่อว่าคนไทยทุกคนควรเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่พวกเขาจะสามารถตัดสินใจเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง"

นับเป็นความพยายามอีกด้านทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่ช่วยกันเสริมพันธกิจในด้าน 'การให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้' แก่ผู้ใช้งานชาวไทย เพื่อร่วมฟื้นฟูวิกฤตสุขภาพทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แชทชัวร์ บน Messenger อ่านต่อได้ที่ https://www.facebook.com/socialmarketingth หรือ m.me/socialmarketingth หรือสแกน QR Code ด้านล่างนี้

โควิด-19 ทำงง ใดๆ Fact หรือ Fake เช็คให้ชัวร์ผ่าน “แชทชัวร์” ใน Messenger

related