svasdssvasds

วิธีป้องกันตัวนอกบ้าน ไปทำงานให้ปลอดภัย ในวิกฤตโควิด19

วิธีป้องกันตัวนอกบ้าน ไปทำงานให้ปลอดภัย ในวิกฤตโควิด19

ท่ามกลางภาวะวิกฤต เกิดการกลายพันธุ์ของโควิด แต่เตียงผู้ป่วยโควิดไม่พอสำหรับทุกคน วัคซีนล่าช้า บางคนยังไม่ได้ฉีดสักเข็ม แต่งานก็ยังต้องออกไปทำ ชีวิตก็ต้องดินรนต่อไป ถึงเวลาที่เราคนไทยทุกคน ต้องเอาตัวรอดด้วยตัวเอง ไม่ให้ติดโควิด แนะ 9 วิธี เอาตัวรอด ยุควิกฤตโควิด19

       สถานการณ์โควิด19 ในไทย ยังไม่มีข่าวดีให้น่าชื่นใจได้เลย ตัวเลขผู้ติดเชื้อพรวดๆครึ่งหมื่นแทบทุกวัน กทม.กับมาตรการต่างๆดูไร้ผล ไม่แรงพอ แม้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ในฐานะผอ.ศบค. รวบอำนาจเบ็ดเสร็จสั่งการคนเดียวในมือได้ แต่ดูเหมือนการบริหาต่างๆไม่เป็น Single command เกิดความสับสน งุนงงระหว่างหน่วยงานเดียวกัน และมีปัญหาล่าช้าติดขัดในหลายอย่าง การจัดซื้อวัคซีนช้า บางยี่ห้อกว่าจะมาปลายปี บางคนคาดว่าหากเกิดการ กลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ใหม่ในไทย วัคซีนที่มีอาจไม่ได้ผล

ตัวที่มีก็กังขาเรื่องประสิทธิภาพ ประชาชนจองโควต้าฟรีจากรัฐ แม้ทันแต่ก็โดนเท ประชาชนที่พอมีปัญญา จำต้องจ่ายเงินเองเพื่อให้เข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 

สาธารณสุขใกล้ถึงจุดที่เกินรับไหว คุณหมอ ยอมออกมาพูดถึงความเป็นจริงว่าสาหัสแค่ไหน ภาพพยาบาลร้องไห้ เป็นลมคาชุดPEE เพราะเหนื่อยมากมีให้เห็นรายวัน เราจะทำอย่างไรดี?

แต่กระนั้นชีวิตก็ยังต้องดำเนินต่อไป งานการบางบริษัท บางตำแหน่ง ยังคงต้องออกไปทำเพราะ Work from home(WFH) ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทำทุกทางให้ไม่ติดเชื้อ ในขณะที่วัคซีนยังไม่มา เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ถึงเวลาที่คนไทยต้องเอาตัวรอดกันเองแล้ว ช่วยลดภาระคุณหมอไปในตัว วันนี้โอ๋รวบรวมข้อมูลมาย้ำเตือน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

9 วิธี ไปทำงาน ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ไม่ติดโควิด19

  1. อย่านอนน้อย
    ดูเหมือนง่าย แต่หลายคนทำไม่ได้ เพราะการนอนถือเป็นปัจจัยสำคัญของการมีสุขภาพดี ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง พร้อมต่อสู่กับเจ้าโควิด19 
     
  2. ไม่กินของสดและเลือกร้านปิดมิดชิด
    ผักสด ปลาดิบ หรืออาหารที่ใช้มือจับและไม่ผ่านความร้อนซ้ำ เพราะต่อให้พ่อครัวระวังแค่ไหน แต่อาจพลาดได้ เพราะโควิดกระจายในอากาศได้ระยะหนึ่ง ก่อนตกลงพื้น อาจตกใส่อาหารได้ 
     
  3. ไม่สูบบุหรี่ และไม่เข้าใกล้ควัน
    งานวิจัยชี้ว่า บุหรี่ ทั้งแบบมวลและไฟฟ้า ทำให้ปอดอ่อนแอ เสี่ยงติดโควิดเพิ่มเป็น 2 เท่า มีโอกาสเสียชีวิตถึง 30% 
     
  4. ใส่หน้ากากอนามัย2ชั้น และกดลวดแนบจมูก 
    ปัจจัยที่ 6 นอกจากมือถือ คือ หน้ากากอนามัย สิ่งสำคัญคือ การสวมตลอดเวลาและสวมให้ถูกต้อง 
    สวมหน้ากากอนามัย
  5. ล้างแอลกอฮอล์ที่มือให้เป็นนิสัย
    ทำทุกครั้งหลังจับจุดจับร่วม เช่น ปุ่มลิฟท์ ราวบันได แบงค์ เหรียญ ราวรถ ประตูรถแท็กซี่ พนักจับพี่วิน ก่อนจับมือถือตัวเอง      
  6. อย่าไปในที่คนเยอะ ห้าง ตลาด โรงพยาบาล
    จริงๆโควิดตอนนี้ที่ไหนก็ไม่ปลอดภัยนอกจากอยู่กับบ้าน เลี่ยงได้เลี่ยงก่อน ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจริงๆ 

  7. เว้นระยะห่างทางสังคม
    อย่าเข้าใกล้ใครแม้สนิท และห้ามถอดหน้ากากเด็ดขาด

  8. ไม่ควรทานอาหาร และ น้ำ ในห้องแอร์สาธารณะ

    เพราะเชื้อโควิดสามารถฟุ้งในอากาศได้พักนึงก่อนตกลงพื้น มีโอกาสตกลงในอาหาร หรือ เกาะที่หลอดเรา รวมทั้งแม้ตกลงพื้น การเดินในห้องแอร์ ก็พัดมันวนขึ้นมาใหม่ได้

    ซูชิ

  9. กลับถึงบ้านอาบน้ำทันที เสื้อผ้าเอาไว้นอกบ้าน
    เมื่อหมดวันทันทีที่ถึงบ้านเราผ่านเชื้อโรคตามที่ต่างๆมาร้อย แปด รีบอาบน้ำเลยได้ก็ดี เพื่อจะได้ไม่นำเชื้อโรคตามตัวไปติดตามที่ต่างๆในบ้านและ แพร่สู่คนในครอบครัว

       หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้ จะช่วยให้ทุกคนใช้ชีวิตท่ามกลางวิกฤตโควิดได้ โควิด19 เป็นโรคที่เล่นกับความเป็นมนุษย์ของเรา ทำให้สัตว์สังคมอย่างเราต้องห่างกัน อยู่ร่วมกันเหมือนเดิมไม่ได้ แม้กับคนในครอบครัว บางคนตายแบบไม่ทันได้ร่ำลาดูใจ แต่กระนั้นเราก็ยังต้องใช้ชีวิตกันต่อไปจนกว่าเราจะเอาชนะ เจ้าโควิดได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ สุขอนามัยส่วนบุคคล หากเราทุกคนมีวินัย รักษาความสะอาด ลดการสัมผัสคนอื่นชั่วระยะหนึ่ง ในช่วงที่เตียงโควิดวิกฤต วัคซีนในไทยก็ยังล่าช้า แม้ฉีดก็ติดได้ ป้องกันตัวเองเอาไว้ไม่ให้ป่วย ดีกว่าไปรอใช้เตียงในรพ.สนามนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Rama channel, กรมสุขภาพจิต, กรมควบคุมโรค, กรมอนามัย, Siriraj Channel, รพ.เอกชัย

related