svasdssvasds

อัฟกานิสถาน อาจเป็นฝันร้ายของชีวิตผู้หญิง เมื่อกลุ่มตาลีบันกลับมา

อัฟกานิสถาน อาจเป็นฝันร้ายของชีวิตผู้หญิง เมื่อกลุ่มตาลีบันกลับมา

ไม่เคยมีความโรแมนติกบนแผ่นดินอัฟกานิสถาน! เพราะหากเมื่อกลุ่มตาลีบันกลับมามีอำนาจ ที่นี่อาจจะเป็นฝันร้ายไปตลอดกาลของผู้หญิง อาจมีเรื่องราวที่คล้ายตกนรกทั้งเป็น ผู้หญิงที่นี่อาจจะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศหรือถูกทำร้ายทางจิตใจ

สถานที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้หญิง
.
เว็บไซต์บีบีซี ได้ลงข้อความเกี่ยวกับเรื่องราว ชากีล่า ชารีน หญิงสาวชาวอัฟกานิสถาน วัย 25 ปี ที่ชีวิตราวกับตกนรกทั้งเป็น ตั้งแต่วัยเด็ก โดยที่เธอเป็นคนที่รอดชีวิตอย่างน่าเหลือเชื่อ ทั้งที่ถูกสามียิงเข้าที่ใบหน้าด้านซ้าย
.
แม้ปัจจุบันเธอจะย้ายมาอาศัยอยู่ที่ประเทศแคนนาดาแล้ว แต่ภายใต้เบื้องหลังรอยแผลเป็นอันใหญ่ เธอมีเรื่องราวที่อาจจะเลวร้ายเกินกว่าจะรับฟัง มันอาจเป็นหลุมดำ เป็นความมืดบอดในความเป็นมนุษย์ และการกดขี่เพศหญิง ที่เกิดขึ้นในประเทศอัฟกานิสถาน-บ้านเกิดของเธอ
.
ความตอนหนึ่งของเว็บไซต์ บีบีซี ถึงกับสรุปว่า "อัฟกานิสถานเป็นหนึ่งในสถานที่ที่เลวร้ายที่สุดในโลกในการเป็นผู้หญิง มีความรุนแรงต่อผู้หญิงเกิดขึ้น 3,500 กรณีในปีที่แล้ว 2020  และเกรงว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงที่เลวร้ายลง ชาคิลา ซารีน วัย 25 ปี เป็นผู้รอดชีวิตที่ผ่านการผ่าตัด 22 ครั้ง หลังจากถูกสามียิง"
.
 ชากีล่า ชารีน เติบโตที่ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน ในวัยเด็กเธอบอกว่าเธอจำไม่ได้ด้วยซ้ำ ว่า ได้มีโอกาส ยิ้ม สักกี่ครั้ง...เธอถูกบังคับให้แต่งงานกับชายแก่ ตอนอายุ 17 ปี และจู่ๆมาวันหนึ่ง เธอก็ถูกสามียิงเข้าที่ใบหน้า และสามีของเธอก็หนีไปได้ง่ายๆ แต่แผลร้าย เธอยืนยันหนักแน่นว่า การเกิดเป็นผู้หญิงอัฟกัน เป็นเรื่องราวที่หนักหนาสาหัสและใช้ชีวิตอย่างข้นแค้น ต้องทนทรมาน
.
บนเข็มนาฬิกาเดินอยู่ ปัจจุบัน เธอยืนยันว่า ผู้หญิงอัฟกัน จงอย่ายอมแพ้ต่อความรุนแรง แต่จงลุกขึ้น และเธอเองก็จะใช้ชีวิตที่แคนาดา เป็นกระบอกเสียงให้ตลอดไป!

Shakila Zareen  ชากีล่า ชารีน

Shakila Zareen

ชากีล่า ชารีน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


เมื่อเรียกร้องความเท่าเทียม - แต่ตาลีบันยิงศีรษะ
.
อีกหนึ่งเรื่องราวที่ทุกคนทั่วโลก น่าจะรู้จักกันดี ในความโหดร้ายและต้องการกด เพศหญิงเอาไว้ ไม่ให้ได้รับการศึกษา  นั่นคือเรื่องราวของ มาลาลา ยูซัฟไซ (Malala Yousafzai) หญิงสาวที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพเมื่อปี 2014.
.
ย้อนกลับไปในปี 2012 วันที่ 9 ธันวาคม ขณะที่ มาลาลา ยูซัฟไซ  มีอายุ 15 ปี  เธอถูกกลุ่มตาลีบัน ยิงที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บสาหัส ในเขตสวัต ในปากีสถาน เพราะกลุ่มตาลีบันไม่พอใจที่ มาลาลา ยูซัฟไซ ออกมารณรงค์ให้ผู้หญิงได้รับการศึกษา เมื่อปี 2012
.
เหตุการณ์นั้น เธอถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วน เรื่องของเธอดังขึ้น สิ่งที่เธอทำมานานาชาติเห็น ซึ่งทางสหราชอาณาจักร ติดต่อทางปากีสถานขอรับตัวเธอออกมาจากพื้นที่ทันที

.
มาลาลา ยูซัฟไซ ตื่นมาและพบว่าตัวเองอยู่ใน รพ. ที่เบอร์มิ่งแฮมแล้ว  ทางสหราชอาณาจักร ช่วยรักษาเธอจนหายดี ย้ายทั้งครอบครัวเธอมาอยู่ที่นี่ เธอได้เรียนจนจบอ็อกซ์ฟอร์ด มีชีวิตที่ดี และตั้งแต่วันที่แผลเธอหาย เธอก็เรียกร้องสิทธิให้ผู้หญิงได้มีโอกาสในชีวิตเหมือนเดิม และเธอก็ได้รางวัลโนเบลตั้งแต่ อายุ 17 ปี
.
เรื่องราวของ มาลาลา ยูซัฟไซ... แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน แต่ก็สะท้อนถึงความรุนแรง การใช้กำลังของกลุ่มตาลีบัน ซึ่ง ณ เวลานี้ กำลังมีบทบาทและมีอำนาจมากขึ้น ในพื้นที่ประเทศอัฟกานิสถาน

Malala Yousufzai มาลาลา ยูซัฟไซ

ผู้หญิงอัฟกันคิดฆ่าตัวตาย อัตราสูง
.
บีบีซี เคยลงรายงาน เมื่อปี 2018 สะท้อนว่า ชีวิตผู้คนในประเทศอัฟกานิสถาน ไม่ได้มีความสุข และมีความเครียดกดดันอยู่มากมายในทุกๆองค์ประกอบชีวิต โดยมี ข้อมูลของคณะทำงานอิสระด้านสิทธิมนุษยชนอัฟกัน(AIHRC) ระบุว่าในแต่ละปีมีชาวอัฟกันพยายามฆ่าตัวตายมากถึงราว 3,000 คน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งที่คิดสั้นอยู่ในจังหวัดเฮรัต เมืองที่อยู่ใกล้กับอิหร่าน

ด้าน ข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดเฮรัต บอกว่าเฉพาะในปี 2017 เพียงปีเดียว มีคนที่นี่พยายามจะฆ่าตัวตายมากถึง 1,800 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 1,400 ราย และมี 35 รายที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ซึ่งนับเป็นสถิติของความพยายามจะฆ่าตัวตายในที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ปี 2016
.
บทความของ บีบีซีชิ้นนี้ ยังให้ความเห็นว่า ขณะที่อัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกมีสัดส่วนเป็นผู้ชายกระทำการดังกล่าวมากกว่าผู้หญิง แต่ใน อัฟกานิสถานมากถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการฆ่าตัวตายเป็น “ผู้หญิง”

เพศหญิงคือเหยื่อแห่งความรุนแรง
.
ทั้งนี้  มีหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงชาวอัฟกันคิดสั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งมีตั้งแต่ปัญหาทางสภาพจิตใจ ความรุนแรงภายในครอบครัว การถูกบังคับขืนใจให้แต่งงาน ตลอดจนปัญหาบีบคั้นอื่นๆทางสังคมที่ผู้หญิงชาวอัฟกันต้องเผชิญ

ด้าน องค์การอนามัยโลก ยังเคย ประเมินว่ามี ชาวอัฟกันที่ประสบกับภาวะซึมเศร้ามากกว่าล้านคนและจากการที่ อัฟกานิสถานจมอยู่ในภาวะสงครามมานานถึง 40 ปี  เชื่อว่าอัตราชาวอัฟกันที่เป็นโรคซึมเศร้าก็น่าจะสูงกว่านี้ นอกจากนี้ผู้หญิงชาวอัฟกันยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง
.
ขณะที่ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund ) ประเมินว่า มีผู้หญิงชาวอัฟกันมากถึง 87% ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศหรือถูกทำร้ายทางจิตใจ
.
และอีกราว 62 % ที่มีประสบการณ์เลวร้ายจากการถูกล่วงละเมิดในรูปแบบต่างๆ นั่นรวมถึงการถูกบังคับให้แต่งงานที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกสิ้นหวังและต้องการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา ณ ...ที่แห่งนี้ ไม่เคยมีความโรแมนติกใดๆ เมื่อมีสงคราม และ เมื่อกลุ่มตาลีบันกลับมา...

 

เพศหญิงคือเหยื่อแห่งความรุนแรง
.
ทั้งนี้ มีหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงชาวอัฟกันคิดสั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งมีตั้งแต่ปัญหาทางสภาพจิตใจ ความรุนแรงภายในครอบครัว การถูกบังคับขืนใจให้แต่งงาน ตลอดจนปัญหาบีบคั้นอื่นๆทางสังคมที่ผู้หญิงชาวอัฟกันต้องเผชิญ

ด้าน องค์การอนามัยโลก ยังเคย ประเมินว่ามี ชาวอัฟกันที่ประสบกับภาวะซึมเศร้ามากกว่าล้านคนและจากการที่ อัฟกานิสถานจมอยู่ในภาวะสงครามมานานถึง 40 ปี  เชื่อว่าอัตราชาวอัฟกันที่เป็นโรคซึมเศร้าก็น่าจะสูงกว่านี้ นอกจากนี้ผู้หญิงชาวอัฟกันยังตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง
.
ขณะที่ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund ) ประเมินว่า มีผู้หญิงชาวอัฟกันมากถึง 87% ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศหรือถูกทำร้ายทางจิตใจ
.
และอีกราว 62 % ที่มีประสบการณ์เลวร้ายจากการถูกล่วงละเมิดในรูปแบบต่างๆ นั่นรวมถึงการถูกบังคับให้แต่งงานที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกสิ้นหวังและต้องการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา ณ ...ที่แห่งนี้ ไม่เคยมีความโรแมนติกใดๆ เมื่อมีสงคราม และ เมื่อกลุ่มตาลีบันกลับมา...

related