svasdssvasds

รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์นานถึง 2 ปี ! โปรดอย่ากัดเหรียญโอลิมปิก 2020 นะจ๊ะ

รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์นานถึง 2 ปี ! โปรดอย่ากัดเหรียญโอลิมปิก 2020 นะจ๊ะ

มันไม่ใช่ของกินนะจ๊ะ! โซเชียลมีเดียของโอลิมปิก 2020 ออกโรงแซวนักกีฬาที่ได้เหรียญโอลิมปิก ว่าอย่ากัดเหรียญโอลิมปิกเลย...เพราะมันทำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้รู้ดีจะห้ามกันไม่ได้...แต่ขอเตือนไว้หน่อยก็ยังดี...

โอลิมปิกทวิตแซวนักกีฬา!
.
เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนักกีฬาในยุคหลังไปเสียแล้วกับการ "กัดเหรียญ"  ตอนรับรางวัล ภาพที่แฟนกีฬาคุ้นเคยเป็นอย่างดี นั่นคือ ราฟาเอล นาดาล ราชาคอร์ตดิน นักเทนนิสชื่อดังจากสเปน ที่มักจะกัดถ้วยรางวัล กัดเหรียญรางวัลทุกครั้ง จนกระทั่งวัตรปฏิบัติลุกลามมาในกีฬาโอลิมปิกในช่วง 2-3 ครั้งหลังด้วย
.
อย่างไรก็ตาม ในโอลิมปิก 2020 คณะกรรมการโอลิมปิก 2020 ได้ออกโรงเตือนกึ่งแซวขำๆใช้คำประมาณว่า "ขอความร่วมมือ" นักกีฬาทุกคนที่ได้รับเหรียญให้เลิกกัดเหรียญโอลิมปิกได้แล้ว  พร้อมยิงมุก ในระดับตลกคาเฟ่ ว่า "นี่ไม่ใช่ของที่สามารถกินได้นั่นเองนะจ๊ะ"
.
ทั้งนี้ บัญชีทวิตเตอร์ @Tokyo2020 ซึ่งเป็นบัญชีอย่างเป็นทางการของโอลิมปิก 2020 เผยว่าข้อความว่า "เราแค่อยากจะยืนยันอย่างเป็นทางการว่าเหรียญโอลิมปิกของ #Tokyo2020 นั้นเป็นสิ่งที่รับประทานไม่ได้นะ เหรียญโอลิมปิกของเราทำจากวัสดุรีไซเคิลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับบริจาคจากชาวญี่ปุ่น ดังนั้นพวกคุณไม่ต้องกัดมันหรอก…แต่เราก็รู้แหละว่าคุณอยากจะกัดมันอยู่ดี!"
 

twitter
แน่นอนว่า การขอความร่วมมือครั้งนี้ คงไม่ได้รับความยินยอมจาก นักกีฬาเจ้าของเหรียญ ทั้งทอง,เงิน,ทองแดง แน่นอน เพราะนี่คือเรื่องของซีนโมเมนต์แห่งชีวิตนักกีฬา ที่มาได้ถ่ายภาพได้รับเหรียญโอลิมปิก!

bite

กัดเหรียญเพื่ออะไร ?
.
ธรรมเนียมปฏิบัติของการกัดเหรียญ ไม่ว่าจะในกีฬาชนิดใดๆ หรือมหกรรมใดๆนั้น  ตามธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม การลองกัดเหรียญคือการเช็กว่าเหรียญทองที่ได้นั้นเป็นทองแท้หรือไม่ ? เป็นการตรวจสอบในเบื้องต้น ตามแบบฉบับวิชา ความรู้พื้นฐานเรื่องเหรียญทอง 101 เพราะหากเป็นทองคำบริสุทธิ์จะมีความนิ่มและอ่อนตัว และจะปรากฏรอยกัดบนนั้น แต่สำหรับธรรมเนียมปฏิบัติของนักกีฬาสมัยใหม่ รวมถึงในโอลิมปิก 2020 ครั้งนี้ เป็นการทำเพื่อโพสต์ ท่าฉลองชัยชนะ อันได้มาด้วยความยากลำบากมากกว่า เรื่องจะมาพิสูจน์ทองจริงหรือปลอม
.
ย้อนไปในอดีต เหรียญทองโอลิมปิก ทำจากทองจริงๆ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบด้วยการ "กัดเหรียญโอลิมปิก" กันก่อนเพื่อให้เกิดความชัวร์ อย่างไรก็ตาม โอลิมปิกได้เลิกใช้ทองคำจริงๆ ตั้งแต่ โอลิมปิก 1912 แล้ว ดังนั้น การกัดเหรียญทองของนักกีฬาก็ไม่น่าจะใช่ สาเหตุของการกัดเหรียญโชว์  แล้วอะไรล่ะคือสาเหตุ ที่นักกีฬาต้องมากัดเหรียญโอลิมปิก ?

bite2

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวที่มาของการกัดเหรียญ! จนฟันหัก ???
.
เรื่องนี้ คำถามนี้  เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก ได้ให้คำตอบไว้อย่างยียวนกวนอารมณ์ โดยให้เหตุผลว่า ที่นักกีฬาต้องกัดเหรียญโอลิมปิกก็เพราะ....ช่างภาพสั่ง!  ทั้งนี้ ดาวิด วัลเลชินสกี ประธานชุมชนนานาชาติ ด้านประวัติศาสตร์โอลิมปิก ให้ความเห็นว่า  "มันกลายเป็นสิ่งที่ช่างภาพชอบ  พวกเขาคงมองว่าเป็นช็อตเด่นที่ขายได้  ผมไม่คิดว่านักกีฬาจะทำอะไรแบบนี้ด้วยความตั้งใจของตัวเองนะ...”
.
นอกจากนี้ วีรกรรมการกัดเหรียญโอลิมปิก ยังเคยเป็นฝันร้ายของนักกีฬาโอลิมปิกบางคนด้วย  โดย ดาวิด โมลเลอร์ อดีตนักกีฬารถเลื่อนหิมะทีมชาติเยอรมนี ซึ่งเคยได้เหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ฤดูหนาว 2010 เผยความลับว่า เขาเคยถูกช่างภาพขอให้กัดเหรียญโชว์ แล้วสุดท้ายฟันของเขาก็หัก!...โธ่!

moller เดวิด โมลเลอร์ กัดเหรียญโอลิมปิกจนฟันหัก (ฮา)

cover
เหรียญโอลิมปิก 2020 ทำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

.
ทั้งนี้ เหรียญโอลิมปิก 2020 มีการเปิดเผยจากฝ่ายจัดการแข่งขันว่า พวกเขามองเห็นถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดก็เลยผุดไอเดียตั้งจุดรับบริจาคตามหัวเมืองคลอบคลุมพื้นที่มากกว่า 90% เพื่อรวบรวมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ใช้แล้ว อาทิ สมาร์ทโฟน แบตเตอรี่เก่า กล้อง เครื่องเล่นเกม หรือแล็ปท็อป แล้วก็นำมาดัดแปลง ผลิตเป็น "เหรียญโอลิมปิก" เลย
.
โดย กว่าจะหลอม เหรียญโอลิมปิก 2020 ในครั้งนี้ได้ ก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยๆ เพราะหน่วยงานเทศบาลต่างๆได้ทำการรวบรวมตั้งแต่ เมษายน 2017 - มีนาคม 2019  นั่นหมายความว่าใช้เวลารวบรวมขยะเกือบ 2 ปี เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอ ซึ่งวันสุดท้ายปิดยอดบริจาคทั้งหมดรวมกว่า 78,985 ตัน หรือนับเป็น 6.21 ล้านเครื่องเลย! ซึ่งเป็นจำนวนมากพอให้นำไปรีไซเคิลตามที่ตั้งเป้าไว้
.
ที่จริงแล้ว โอลิมปิก 2016 ที่ริโอ บราซิล เคยทดลองใช้ไปแล้วแต่ใช้วัสดุรีไซเคิลเพียง 30% เท่านั้น ซึ่งได้มาจากกระจก และชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่เหรียญ โอลิมปิก 2020 นับว่าเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์วงการกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกที่ให้พลเมืองของประเทศมีส่วนร่วมในการผลิตเหรียญรางวัล และยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ E-waste ทั้งหมดอีกด้วย

related