นับเรื่องที่น่าจับตามอง เมื่อ สถานการณ์โควิด-19 อินโดนีเซีย แซง อินเดีย ขึ้นแท่นศูนย์กลางโควิดเอเชีย ล่าสุดกราฟตัวเลขผู้ติดเชื้อารายวันของอินโดนีเซียแซงหน้าอินเดียมาแล้ว 3 วันต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การฉีดวัคซีนก็ยังไม่ทั่วถึง
ผู้ติดเชื้ออินโดฯ แซง อินเดีย
กลายเป็นสถานการณ์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดมากๆ เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศอินโดนีเซีย ทำสถิติรายวัน แซงอินเดีย ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วันต่อเนื่อง จับตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา และเมื่อวันพุธที่ 14 ก.ค. อินโดนีเซีย ก็เพิ่งทำสถิติผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดที่ 54,517 ราย ขณะที่อินเดีย เมื่อวันที่ 14 ก.ค. มีผู้ติดเชื้อใหม่ 38,900 ราย
.
นี่ไม่ใช่วันแรกที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19ของอินโดนีเซีย แซงหน้าอินเดีย ซึ่งได้รับการขนานนามว่า เป็นจุดศูนย์กลางแห่งโรคโควิด-19 เพราะหากพิจารณาตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายใหม่จริงๆแล้ว ประเทศอินโดนีเซีย แซงหน้า อินเดีย มาตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. แล้ว
โดยข้อมูลที่รวบรวมจากเว็บไซต์ www.bloomberg.com เปิดเผยว่า
12 ก.ค. อินโดนีเซีย มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ ราว 40,4000 ราย ส่วนอินเดีย มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 38,900 ราย
13 ก.ค. อินโดนีเซีย มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ ราว 47,900 ราย ส่วนอินเดียมีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 32,900 ราย
14 ก.ค. อินโดนีเซีย มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ราว 54,500 ราย ส่วนอินเดีย มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ราวๆ 38,900 ราย
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิดอินโดนีเซีย ยังเดินไปไม่ถึงจุดที่เลวร้ายย่ำแย่ที่สุด เหมือนที่ครั้งหนึ่ง โควิดอินเดีย เคยเดินไปถึงจุดที่มีผู้ติดเชื้อโควิดรายวัน วันละ 4 แสนรายมาแล้ว ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หมอสันติ ชำแหละความผิดพลาดนโยบายตรวจโควิด ก่อนปลดล็อก Antigen Test Kit
"หมอบุญ" เตรียมเซ็นสัญญานำเข้าไฟเซอร์ 20 ล้านโดส คาดได้ล็อตแรกในเดือนนี้
ความล้มเหลวทางศีลธรรม
ขณะที่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา โควิดอินโดนีเซียพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เฉลี่ยวันละ 900 คน เทียบกับ วันละ 181 คน เมื่อเดือนที่แล้ว ถือว่าตัวเลขต่างกันลิบลับ
การระบาดของโควิด-19 ในอินโดนีเซีย ยิ่งเป็นตัวเน้นย้ำถึงความไม่เท่าเทียมกัน ของการแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลก เมื่อประเทศร่ำรวยพยายามที่จะซื้อหาวัคซีน ทำให้ประเทศที่ยากจนกว่า ต้องเผชิญการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์อย่างหนัก ซึ่งทางเทดรอส อัดฮานอม กรีเบเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า นี่คือ "ความล้มเหลวงทางศีลธรรมอย่างรุนแรง"
นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยอมรับว่าได้มีการประเมินและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์เลวร้ายที่สุดของโควิด-19 เอาไว้ที่จำนวนผู้ติดเชื้อ 70,000 รายต่อวัน
วัคซีนมาช้า และปัญหาอื่นๆ
จนถึง ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่นาทีนี้ อินโดนีเซียฉีดวัคซีนครอบคลุมเพียง 10% ของประชากรทั้งหมด 270 ล้านคน และมีเพียง 5.7% เท่านั้นที่ได้รับครบโดสแล้ว เมื่อประชาชนมีภูมิคุ้มกันน้อยจึงไม่แปลกที่จะมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก ส่วนอินเดียฉีดวัคซีนไปแล้ว ราว 14% ของประชากร
วัคซีนส่วนใหญ่ของอินโดนีเซียยังมาถึงมือช้า โดยเกือบ 85% เพิ่งได้รับจากจีนเมื่อปลายเดือน มิ.ย. และยังมีความคลางแคลงใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า หลังจากบุคลากรทางการแพทย์หลายคนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็มแล้วติดโควิด-19 และบางรายเสียชีวิต ถึงกระนั้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลยังยืนยันว่าวัคซีนจีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการหนักและการเสียชีวิต
ขณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย บอกว่า อัตราการใช้เตียงในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ใน 12 จังหวัดสูงกว่า 70% โดย เจ้าหน้าที่กังวลว่า การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังระบาดหนักในเมืองอื่น ๆ นอกจากเกาะหลักอย่าง เกาะชวา จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง และอาจทำให้บุคลากรทางการแพทย์เหนื่อยล้า ตลอดจนการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และออกซิเจน
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัญหาคือ รัฐบาลอินโดนีเซีย เน้นการตรวจเฉพาะผู้ป่วย หรือกลุ่มเสี่ยง ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้ติดเชื้อในชุมชนที่แท้จริงได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตที่แท้จริงสูงกว่านี้อีกมาก