svasdssvasds

วัคซีนซิโนฟาร์ม : 20 เรื่องน่ารู้กับวัคซีนทางเลือกใหม่ของไทย

วัคซีนซิโนฟาร์ม : 20 เรื่องน่ารู้กับวัคซีนทางเลือกใหม่ของไทย

วัคซีนซิโนฟาร์ม กำลังเป็นที่น่าสนใจจากประชาชน เพราะเพิ่งได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียน และเดือนหน้าจะมีการนำเข้ามาเป็นวัคซีนทางเลือก และนี่คือ ข้อมูล 20 เรื่องที่น่ารู้จากแง่มุมที่เคยพูดถึงวัคซีนตัวนี้ในต่างประเทศ

1.)  วัคซีนซิโนฟาร์ม  มีวัคซีน 2 ตัว ซึ่งแตกต่างกัน โดยผลิตโดย 2 บริษัทในเครือ ได้แก่ ตัวแรก ตัวที่พัฒนาโดย Beijing Institute of Biological Product หรือ BBIBP-CorV จดทะเบียนในปักกิ่ง เป็นตัวที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองและมีการฉีดใน 56 ประเทศทั่วโลก   

2. ส่วนวัคซีนซิโนฟาร์ม อีกหนึ่งตัวพัฒนาโดย Wuhan Institute of Biological Product ในชื่อ Vero cells ที่อู่ฮั่น ซึ่งตัวจากอู่ฮั่นนี้ ไม่ใช่ตัวที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองและมีการฉีดเพียง 1 ประเทศ คือประเทศจีน แต่มีการทดลองทางคลินิกในบาห์เรน, อียิปต์, จอร์แดน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เปรู และโมรอคโค ทว่าวัคซีนทั้ง 2 ตัว ผ่านการอนุญาตจากสำนักบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติจีน (NMPA) ทั้งคู่

3.)  วัคซีนซิโนฟาร์ม จากปักกิ่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนฉุกเฉินขององค์กรอนามัยโลก หรือ WHO เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2021 ซึ่งซิโนฟาร์มจากปักกิ่ง เป็นวัคซีนตัวที่ 6 ของโลก ที่ WHO รองรับ ต่อจาก 1. วัคซีนPfizer 2. วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 3. วัคซีนโควิชิลด์ (แอสตร้าที่ผลิตในอินเดีย) 4. วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และ 5. วัคซีนโมเดอร์น่า

4.) วัคซีนซิโนฟาร์ม มีความปลอดภัย ประสิทธิภาพสูง มีคุณภาพ ใช้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

5.)  ผู้ที่รับวัคซีนซิโนฟาร์ม ต้องฉีด 2 โดส ระยะเวลงห่างกันราวๆ 3-4 สัปดาห์

lazada

6) ผลข้างเคียงในต่างประเทศที่พบ ก็จะมีอาการ อาทิ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย อาจจะเกิดจากปฏิกิริยาที่ได้รับเช่น ปวด,บวม เป็นต้น

7) วัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine) ที่ใช้เทคโนโยลีการผลิตเช่นเดียวกันกับวัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) ของบริษัท ซิโนแวค (Sinovac) และวัคซีน BBV152 หรือ โควาซิน (Covaxin) ของบริษัท ภารัต ไบโอเทค

8)  การผลิตวัคซีนแบบเชื้อตายแบบวัคซีนซิโนฟาร์มนั้น เป็นการผลิตวัคซีนจากบางส่วนหรือทั้งตัวของแบคทีเรียหรือไวรัสที่ตายแล้ว วัคซีนชนิดเชื้อตายนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายในการสร้างภูมิต้านทานป้องกันโรคติดเชื้อที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงโรคตับอักเสบ โปลิโอ และโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน

9) วัคซีนซิโนฟาร์ม เก็บได้อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับวัคซีนซิโนแวค,วัคซีนโควาซิน (อินเดีย) , วัคซีนโนวาแวค (สหรัฐ) ,วัคซีนสปุตนิก วี แบบแห้ง (รัสเซีย) และ วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (สหรัฐ&เบลเยียม)

10) วัคซีนซิโนฟาร์มเป็นที่นิยมใช้ในตะวันออกกลาง และ  วัคซีนซิโนฟาร์มยังไปขึ้นทะเบียนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เมื่อเดือนธ.ค. 2020 ภายใต้ชื่อ ฮายัต-แวกซ์ (Hayat-Vax)  และทำการผลิตในประเทศยูเออีจากโรงงานที่ร่วมลงทุนโดยซิโนฟาร์ม ด้วย

11) วัคซีนซิโนฟาร์ม กระจายไปแล้วทั่วเอเชียและแปซิฟิก ราวๆ 55.6 ล้านโดส ส่วนใหญ่ส่งไปที่ยูเออี ซึ่งมีพาร์ทเนอร์ คือกลุ่ม GULF Pharmaceutical Industries , ขณะที่แอฟริกากระจายไป 42.5 ล้านโดส , ลาตินอเมริกา 52.8 ล้านโดส

12)  สำหรับการส่งออกวัคซีนของประเทศจีนนั้น จริงๆแล้ว วัคซีนซิโนฟาร์มถูกส่งออกมากระจายทั่วโลกที่ราวๆ 22.11%   แต่วัคซีนซิโนแวคคือวัคซีนที่จีนส่งออกมาที่สุด 69.57%

13) ในยุโรปก็มีการใช้ วัคซีนซิโนฟาร์ม โดย ฮังการี เป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรป (อียู) ที่อนุมัติการใช้วัคซีนของซิโนฟาร์ม เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

14)  เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศอิหร่าน ได้รับบริจาควัคซีนป้องกันโควิดจำนวน 400,000 โดสจากบริษัทซิโนฟาร์มผ่านทางสภากาชาดแห่งประเทศจีนด้วย

15) ปัจจุบัน จากการยืนยัน มี 4 ประเทศหลักๆ ที่ใช้ "วัคซีนซิโนฟาร์ม" แบบเต็มรูปแบบ นั่นคือ จีน , บาห์เรน , สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เซเชลส์  

16) มีอีก 56 ประเทศทั่วโลก ที่เลือกใช้  "วัคซีนซิโนฟาร์ม" เป็นวัคซีนแบบฉุกเฉิน อาทิ หากในเอเชีย สปป.ลาว ,อินโดนีเซีย ,ตุรกี , บราซิล  และรวมถึงประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศล่าสุดด้วย

17)  นับตั้งแต่ วัคซีนซิโนฟาร์ม ได้รับการอนุมัติเป็นวัคซีนฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มี 8 ประเทศที่หันมา deal วัคซีนนี้ไปใช้ในประเทศด้วย ซึ่งหนึ่งใน 8 ประเทศ ก็คือประเทศไทย

18)  ราคาวัคซีนซิโนฟาร์มในต่างประเทศ มีแตกต่างกันไป แต่โดยเฉลี่ยแล้ว อยู่ที่   29.75-44 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อหนึ่งโดส  คิดเป็นเงินไทยประมาณ 930 - 1,350 บาท

19)  หากมองที่สถิติการเป็นวัคซีนฉุกเฉินในแต่ละประเทศ วัคซีนซิโนฟาร์ม มีประเทศที่ใช้เป็นลำดับที่ 4 จากบรรดาวัคซีนโควิด-19ทั้งหมด  โดยแอสตร้าเซนเนก้ามาแรงอันดับ 1 มี 144 ประเทศใช้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน , ขณะที่อันดับ 2 คือ วัคซีน Pfizer มี 95 ประเทศใช้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน , ส่วนอันดับ 3 คือวัคซีนสปุตนิค วี มี 68 ประเทศใช้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน

20) ส่วนประเทศไทยนั้น เพิ่งอนุมัติขึ้นทะเบียน วัคซีนซิโนฟาร์ม ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งตัวที่อนุมัติคือจากแลปในปักกิ่ง โดยจะนำเข้า 1 ล้านโดส  โดยความร่วมมือของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)   ภายในเดือนมิถุนายนนี้ และกระจายให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สนใจจะจัดซื้อพร้อมประกันวัคซีนรองรับสำหรับผู้ที่ฉีดนั้น จะมีการกำหนดราคาขายราคาเดียวกันทั่วประเทศ คาดว่าราคาของวัคซีนจะอยู่ราวๆ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเข็ม

related