svasdssvasds

โควิดอินเดีย พบเชื้อราเหลืองรายแรก หวั่นซ้ำรอยลุกลามแบบเชื้อราดำ

โควิดอินเดีย พบเชื้อราเหลืองรายแรก หวั่นซ้ำรอยลุกลามแบบเชื้อราดำ

สถานการณ์โควิดอินเดีย ซึ่งกำลังเผชิญทั้งการระบาดของโควิดและเชื้อราดำในหลายๆรัฐ ซึ่งเมื่อติดเชื้อแล้วมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงขึ้นถึง 50% แต่ล่าสุดมีรายงานผู้ติด เชื้อราเหลืองในอินเดียแล้ว ซึ่งทางการแพทย์ถือว่า อาจจะ อันตรายกว่าเชื้อราดำอีกด้วย

• ผู้ติดเชื้อราเหลืองรายแรก

มีการเปิดเผยจากสื่อหลายสำนักต่างประเทศ ว่า พบผู้ป่วยที่พบติด เชื้อราเหลืองรายแรกของประเทศอินเดีย โดยอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ  ผู้ติดเชื้อราเหลืองเป็นชายในวัย 45 ปี ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด19 นานนับเดือน และเขาได้ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานด้วย  โดยก่อนที่ ชายรายนี้ จะทรุดลงในไม่กี่วันที่ผ่านมา มีการตรวจพบว่าติด เชื้อราเหลือง ซึ่งเป็นอาการแทรกซ่อนของการติดโควิด19 และตอนนี้อยู่ร่ะหว่างการรักษาตัว ซึ่งแพทย์ยังไม่สามารถบอกได้ว่าอาการเขาจะดีขึ้นหรือไม่
    ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยติดเชื้อราเหลืองรายนี้ ยังมีอาการของการติด เชื้อราดำ และ เชื้อราขาว พร้อมๆกันไปด้วย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าตกใจ เพราะเชื้อราเหลือง ไม่ได้พบบ่อยนัก จึงยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน 100% ของโรคนี้ แต่สาเหตุเบื้องต้นของการติด เชื้อราเหลือง เกิดจากการขาดสุขอนามัยที่ดี การปนเปื้อนในอาหาร หรือแม้กระทั่งการใช้ยาสเตียรอยด์ในปริมาณมาก ๆ รวมถึงการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ด้วย  

lazada

•ความรู้ทั่วไปเชื้อราเหลือง

ทั้งนี้ สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า  นาย บีพี ทยากี  ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเรื่องนี้ บอกว่า  เชื้อราเหลือง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการแทรกซ้อนของการติดโควิด-19 นี้ อาจมีต้นตอมาจาก สัตว์เลื้อยคลาน และเขาก็เพิ่งจะเคยเห็นผู้ป่วยเชื้อราชนิดนี้เป็นครั้งแรกด้วย โดยต้องฉีดยา Amphotericin B เพื่อใช้รักษาโรค ซึ่งเป็นยาตัวเดียวกับที่รักษาผู้ติดเชื้อราดำนั่นเอง
    โดย นาย บีพี ทยากี ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ เชื้อราเหลือง อาจจะอันตรายกว่า เชื้อราดำ ที่พบก่อนหน้านี้นั้นในอินเดีย  นั่นเป็นเพราะยากที่จะวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกๆ  โดยในผู้ป่วยวิกฤต อาจทำลายระบบและอวัยวะให้ล้มเหลว และเป็นเนื้อร้ายเฉียบพลัน  ซึ่งผิดกับ ผู้ป่วยเชื้อราดำ ที่มีอาการผ่านทางใบหน้าและพบผู้ป่วยในอินเดียแล้วราวๆ 10,000 ราย  โดยเฉพาะบริเวณจมูกและดวงตาอย่างชัดเจน ทำให้สังเกตได้ง่ายกว่า

•อาการและการรักษา

ทั้งนี้มีการเปิดเผยว่า ผู้ที่ติดเชื้อราเหลือง รวมถึงเชื้อราอื่นๆ จะมีอาการเซื่องซึม อ่อนเพลีย ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการไม่อยากอาหาร น้ำหนักที่ลดลงอย่างผิดปกติ
    ขณะที่ การรักษา จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วย Amphotericin B ที่เป็นยาปฏิชีวนะต้านเชื้อรายังคงเป็นหนทางเดียวที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อนี้ แต่ในอินเดียกำลังขาดแคลนยาตัวนี้ และราคายาตัวนี้มีราคาแพงด้วย
    ทั้งนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้ยังเผยอีกว่า เชื้อราทุกๆชนิด อาจจะไปทำลายปอด,เล็บ,ผิว,ช่องท้อง,ไต และอาจไปถึงสมองด้วย

•หวั่นเชื้อราเหลืองซ้ำรอยเชื้อราดำ

สถานการณ์ราดำในโควิดอินเดีย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่ามีตัวเลขที่น่าสนใจ เพราะรัฐบาลกลางอินเดียสั่งให้ทางการท้องถิ่น 29 รัฐทั่วประเทศ ประกาศสถานการณ์โรคเชื้อราดำระบาดแล้ว หลังพบผู้ป่วยเกือบ 10,000 คน เพราะการติดเชื้อราดำ ในสถานการณ์ที่โควิดกำลังระบาดนั้นทำให้มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
    ตัวเลขของการระบาดเชื้อราดำ ที่กระจายไป อย่างน้อย 15 รัฐทั่วประเทศอินเดีย ทำให้ทางการอินเดียหวั่นว่า การพบเชื้อราเหลืองรายแรก อาจจะซ้ำรอยการระบาดของเชื้อราดำ ซึ่งตอนนี้เชื้อรากำลังกระจายมากที่สุดที่ รัฐ คุชราต ซึ่งมีมากกว่า 2,859 เคส

Covid india

•โควิดอินเดียวันนี้

สถานการณ์โควิดอินเดียถือว่ายังไม่คลี่คลาย โดยรัฐบาลอินเดียเพิ่งเผยตัวเลขในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ที่โควิดอินเดียลุกลามหนัก ส่งผลให้มีเด็กกำพร้า ซึ่งเกิดจากพ่อแม่เสียชีวิตเพราะโควิด19 อย่างน้อยๆ 577 คน เข้าไปแล้ว
    ปัจจุบัน โควิดอินเดีย เป็นประเทศที่มีการติดเชื้อรายวันสูงสุด โดยยังเฉลี่ยติดเชื้ออยู่ราวๆ เกือบๆ 4 พันคนต่อวัน และผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ 27.3 ล้านคน น้อยกว่าสหรัฐประเทศเดียว
    
    สถานการณ์โควิดอินเดียยังเป็นเรื่องที่ไม่น่าไว้ใจ และยังต้องเป็นกังวลจากการพบโรคแทรกซ้อนใหม่ๆ มามากมาย ดังนั้น หากจะมองภาพอินเดียเป็นการจำลองสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในไทยได้ ดังนั้นเมื่อสามารถถอดบทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอินเดียก็น่าจะเป็นประโยชน์ ในการเฝ้าระวังป้องกันในสถานการณ์โควิดประเทศไทยในอนาคตเช่นกัน...

related