สื่อต่างประเทศ ระบุคนไทยจำนวนมากมีความลังเล และตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนโควิด มากขึ้น โดยเมื่อต้นปีมีผลสำรวจว่าอยากฉีดถึง 3 ใน 4 แต่ปัจจุบันตัวเลขความต้องการลดลงมาก และมีความต้องการน้อยกว่าประชากรเวียดนามและฟิลิปปินส์ เพื่อนร่วมอาเซียน
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รายงานผลการสำรวจจากยูกอฟ (YouGov) เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า มี คนไทย 83% ยินดีฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แต่เมื่อมาถึงถึงเดือน พ.ค. ตัวเลขคนไทยที่ยินดีฉีดวัคซีนโควิด-19 ลดลงเหลือ 63% โดยตัวเลขนี้ ของคนไทย ถือว่า ต่ำกว่า คนเวียดนามที่ประชาชนยินดีฉีดวัคซีน 83% และคนฟิลิปปินส์ที่ยินดีฉีดวัคซีน 66%
โดยสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุถึงสาเหตุว่า ความลังเลเพิ่มมากขึ้นไม่ปรากฏชัดในการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ แต่มีเสียงวิจารณ์ว่า รัฐบาลมีการจัดการสับสนในวิกฤตโควิด-19 รวมถึงการได้วัคซีนล่าช้า และพึ่งพาแค่วัคซีน 2 ตัวคือ วัคซีนซิโนแวค และ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
นอกจากนี้ สำนักข่าวต่างประเทศ ยังเปิดเผยผลสำรวจภายในประเทศไทย โดยอ้างผลสำรวจจาก “สวนดุสิตโพล” เมื่อวันอาทิตย์ (23 พ.ค.) ก็เช่นเดียวกับยูกอฟ (YouGov) โดย ประชาชนลังเลกับวัคซีนมากขึ้น ผู้ให้ข้อมูล 64% ยินดีไปฉีด ลดลงจาก จากผลสำรวจ 66% เมื่อเดือน ม.ค.
ทั้งนี้ โครงการฉีดวัคซีนประชาชนทั่วไปของไทย ที่จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 7 มิ.ย. ใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจสวนดุสิตโพลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีความเชื่อมั่นในวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าตัวนี้ 65.89 % หรือเชื่อมั่นเป็นอันดับ 4 ขณะที่คนไทยเชื่อมั่นในวัคซีนPfizer มากที่สุด 75.11 %
โดย ตามรายงานระบุว่า ทางการไทยตั้งเป้าฉีดให้ได้ 70% ของประชากรภายในสิ้น 2021 โดยจะระดมฉีดตามลำดับ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญก็ต้องฉีดคนท้องถิ่นให้ได้ระดับนี้เช่นกัน เพื่อเปิดพื้นที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วได้ ซึ่งนับถึงขณะนี้มีคนลงทะเบียนขอฉีดวัคซีนแล้ว7.8 ล้านคน
นอกจากนี้ สำนักข่าวต่างประเทศยังรายงานอีกว่า ในประเด็นการที่คนดังคนในวงการบันเทิงอย่าง ชมพู่ อารยา เอ.ฮาร์เก็ต ซึ่งมีผู้ติดตาม Instagram ถึง 10.5 ล้านคน ออกมารีวิวการฉีดวัคซีนซิโนแวคนั้น มีผลสะท้อนออกมาทั้งบวกและลบ โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้น คิดว่าเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาล โดยรอยเตอร์ยังได้ลงความคิดเห็นของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยระบุว่า การฉีดในไทยนั้น ยังมีความกังวล และมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและผลข้างเคียง
ปัจจุบัน ไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสม ราวๆ 1.35 แสนคน เสียชีวิตสะสม 873 รายแล้ว เป็นลำดับที่ 85 ของโลก