สถานการณ์โควิดมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะตัวเลขสถิติผู้ติดเชื้อรายวันยังทะยานสูงขึ้นต่อเนื่องจนเป็นสถิติรายวัน และดูเหมือนทางการจำเป็นต้องออกมาตราการเข้มข้นมากขึ้นไปอีก
•ตัวเลขผู้ติดเชื้อมาเลเซียพุ่งเป็นสถิติ
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการพบผู้ป่วยที่ ซึ่งตรวจพบสายพันธุ์แอฟริกาใต้ในผู้ป่วยโควิด-19 คลัสเตอร์ตากใบ ในอ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยพบผู้ป่วยรายแรกในคลัสเตอร์ อ.ตากใบ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ดังนั้น จึงมีการตั้งข้อสังเกตถึงสถานการณ์โควิดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ที่มีพรมแดนติดกับไทย ซึ่งสถานการณ์โควิดมาเลเซียเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์โควิดมาเลเซีย มีตัวเลขผู้ป่วยที่น่าตกใจไม่น้อย เพราะ กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย รายงานการพบผู้ป่วยยืนยันจากโรคโควิด-19 ในประเทศ 6,976 คนในรอบ 24 ชั่วโมงล่าสุด
ถือเป็นสถิติรายวันสูงสุดนับตั้งแต่มาเลเซียเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค เมื่อเดือน ม.ค.ปีที่แล้ว และทำให้สถิติผู้ติดเชื้อสะสมปัจจุบันเกิน 500,000 คนเข้าไปแล้ว
จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายวันของโควิดมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากกว่า 6,000 คน ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา และกราฟตัวเลข ยังไม่มีทีท่าว่าจะต่ำลงเลย ขณะที่สถิติผู้หายป่วยสะสมอย่างน้อย 512,091 คน เพิ่มขึ้น +6,976 คน สถิติผู้ป่วยยังคงต้องรักษาตัวอยู่ในระบบมีอย่างน้อย 57,020 คน ส่วนสถิติสะสมของผู้เสียชีวิตมีอย่างน้อย 2,248 ราย เพิ่มขึ้น 49 ราย ซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ที่อยู่ในอันดับที่ 43 ของโลก
•โควิดมาเลเซียแหล่งเชื้อ 3 สายพันธุ
นอกจากนี้ในประเทศมาเลเซีย ยังพบไวรัสกลายพันธุ์ถึง 3 สายพันธุ์ได้แก่ ไวรัสกลายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์อินเดียและสายพันธุ์อังกฤษ ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขมาเลเซีย พบว่า ผู้ติดไวรัสกลายพันธุ์หลายคนไม่แสดงอาการ เช่นไม่มีไข้ ไม่ไอ แต่มีอาการอื่นเช่นปวดตามข้อ เหนื่อยล้าและไม่อยากรับประทานอาหาร เป็นต้น
ทางการจึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอยู่เสมอ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาด อย่าออกนอกบ้านหากไม่จำเป็น
โดย ณ เวลานี้ โควิดมาเลเซียฉีดวัคซีนไปแล้ว เกิน 2. 3 ล้านโดส นับเป็น 3.6 เปอร์เซนต์ ซึ่งตัวเลขต่างๆถือว่าใกล้เคียงในระดับเดียวกับไทย
โดย นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซิน ของมาเลเซีย เปิดเผยว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่คัดค้านเรื่องการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดหรือกลุ่มใดก็ตาม แต่การจัดซื้อต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานกำกับดูแลเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในโควิดมาเลเซีย
•พรมแดนที่กั้นยาก
ปฏิเสธความจริงไม่ได้เลยว่า พรมแดนทางธรรมชาติระหว่างไทยกับมาเลเซีย ซึ่งมีความยาว 647 กิโลเมตรนั้น เป็นปัญหาในการสกัดกั้นการเดินทาง เพราะพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างไทยกับมาเลเซีย ถูกใช้เป็นเส้นทางตามปกติของคนพื้นถิ่นละแวกนั้น ทั้งการสัญจรเพื่อค้าขาย หรือเพื่อเดินทาง และประเด็นนี้อาจจะส่งผลให้ โควิดมาเลเซีย มาระบาดที่พื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้
โดยเส้นทางธรรมชาตินั้น เป็นเรื่องปกติที่ชาวบ้าน ซึ่งแม้จะมีจุดผ่านแดนถาวร 9 แห่ง และแม้จะมีการควบคุมอย่างเข้มงวด แต่พื้นที่ธรรมชาติใกล้เคียงก็ทำให้ โควิดมาเลเซียอาจเล็ดลอด และมากระจายในไทยได้
•ภาพชวนสลด
ทั้งนี้ สถานการณ์โควิดมาเลเซีย มาถึงขั้นที่อาจรับมือไม่ไหวในบ้างจุด อาทิ ในรัฐเคดาห์ ซึ่ง คณะแพทย์ต้องเลือกว่าผู้ป่วยรายใดควรได้รับโอกาสรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์ สืบเนื่องจากภาวะขาดแคลนเตียงคนไข้ และต้องตัดใจ เข็นคนไข้ไร้ความหวังพ้น ICU เปิดทางรายอื่นแทน ตามรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น
•มาตรการคุมเข้มเพิ่มเติม
มาเลเซียประกาศมาตรการใหม่เพิ่มเติม ภายใต้คำสั่งควบคุมการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ (MCO) หลังมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สะสมมากกว่า 500,000 ราย
โดย อิสมาลี ซาบรี ยาคอบ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ซึ่งรับผิดชอบประสานงานการบังคับใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศ แถลงข่าวว่า ข้าราชการ 80% และพนักงานเอกชนอีก 40% จะต้องปรับเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน ตั้งแต่วันอังคารที่ 25 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป
ส่วนมาตรการอื่น ๆ ได้แก่ การลดชั่วโมงให้บริการของสถานประกอบการเชิงพาณิชย์ ควบคุมความสามารถและความถี่ในการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะ
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังจะดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อผู้ฝ่าฝืนข้อจำกัด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการปิดกั้นถนนเพิ่ม ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีข่าว บุคคลสำคัญอย่าง นาจิบ ราซัค อดีตนายกมาเลเซีย เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งปรับเป็นเงิน 3,000 ริงกิต หรือประมาณ 22,000 บาท โทษฐานกระทำผิดละเมิดกฎระเบียบควบคุมโรคโควิด19 จากการไม่ลงทะเบียนเข้าใช้บริการและไม่ตรวจวัดอุณหภูมิ เมื่อช่วงต้นเดือน
นอกจากนี้ โควิดมาเลเซียมีแววว่า จะขยายคำสั่งควบคุมการเดินทางที่อยู่ระหว่างบังคับใช้ในหลายพื้นที่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จากที่ตอนแรกมีข้อกำหนดถึงแค่วันที่ 7 มิ.ย. นี้
สำหรับ สถานการณ์โควิดมาเลเซียยังคงเป็นสิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีพรมแดนติดกับไทย และการถอดบทเรียน รวมถึงการดูสถานการณ์โควิดมาเลเซียที่เกิดขึ้น ก็น่าจะเป็น เค้าลางของภาพสถานการณ์ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทยก็ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะควบคุมไม่ให้สถานการณ์ลุกลามมากไปถึงแบบที่ประเทศเพื่อนบ้านเป็น