svasdssvasds

โควิดบาห์เรน เล็งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หลังฉีดครบ 2 โดส แต่ยอดติดเชื้อยังพุ่ง

โควิดบาห์เรน เล็งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หลังฉีดครบ 2 โดส แต่ยอดติดเชื้อยังพุ่ง

บาห์เรน จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับประชาชน เหตุผลเพราะผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงขึ้น ทั้งที่ประเทศฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้มีคำถามว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม ซึ่งบาห์เรนใช้เป็นหลักนั้น มีโอกาสที่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเชื้อตายวัคซีนซิโนฟาร์มจะอยู่ได้ไม่นาน

• ทำไมบาห์เรนต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3

บาห์เรน หนึ่งในประเทศตะวันออกกลาง กำลังจะมีนโยบาย ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับประชาชนในอนาคต สาเหตุที่ทำให้ทางการบาห์เรน มีแนวคิดแบบนี้ นั่นเป็นเพราะมีตัวเลขสถิติที่น่าสนใจ แต่ไม่ค่อยสู้ดีเท่าไรนัก
    ทั้งนี้ บาห์เรนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ไปแล้ว 1.4 ล้านโดส ประชาชนได้รับวัคซีนไปแล้ว 48.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับว่าตัวเลขสูงพอสมควร แต่...ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับสวนทางกัน เพราะปัจจุบัน บาห์เรนมีผู้ติดเชื้อสะสม 2 แสนคน ติดเชื้อรายวัน เกือบ 2 พันคน ยอดผู้เสียชีวิต 765 คน และเสียชีวิตรายวัน 13 คน ซึ่งนับว่ากราฟสูงขึ้นในช่วงหนึ่งเดือนหลัง ทั้งที่ประชาชนจำนวนมากได้วัคซีนครบ 2 โดสแล้วก็ตาม
    นั่นทำให้ มีการตั้งคำถามและข้อสังเกตว่า วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ประเทศบาห์เรนใช้เป็นหลักนั้น อาจจะครอบคลุมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ไม่นาน ?  จริงหรือไม่ ? และวัคซีนเข็มที่ 3 อาจเป็นคำตอบในการแก้ปัญหาตอนนี้
    
• วัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย

วัคซีนซิโนฟาร์ม วัคซีนจากประเทศจีนที่บาห์เรนใช้นั้น เป็นวัคซีนที่ใช้กระบวนการผลิต แบบเทคโนโลยีเชื้อตาย กล่าวคือทำผลิตได้จากการนำเชื้อไวรัสจริงๆ มาเพาะเลี้ยงให้มีจำนวนมากขึ้น และใส่สารบางอย่างให้เชื้อตาย ไม่มีคุณสมบัติก่อโรคได้อีก แล้วนำมาทำวัคซีนโดยเติมสารกระตุ้นภูมิต้านทาน ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีใช้มานานทั้งวัคซีนพิษสุนัขบ้า โปลิโอ และตับอักเสบ ดังนั้นในแง่ของความปลอดภัยต้องถือว่า  "วัคซีนซิโนฟาร์ม" มีความปลอดภัยมากต่อผู้ที่ฉีดวัคซีน
    โดย วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เชื้อตายนั้น  ยังมีวัคซีนโควาซิน ของอินเดีย และวัคซีนซิโนแวค ของจีน ซึ่งตัวนี้ ประเทศไทยของเราได้มาใช้เป็นตัวหลัก ในการคุมการระบาดโควิด-19 ด้วย
    อย่างไรก็ตาม แม้จะการันตีในเรื่องความปลอดภัย  แต่ก็มีคำถามว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีเชื้อตายแบบวัคซีนซิโนฟาร์ม จะครอบคลุมการติดโควิด-19 ได้นานแค่ไหน ซึ่งก็ยังไม่มีผลตัวเลขที่แน่ชัดออกมา

Lazada

• ปลอดภัยแต่อยู่ได้ไม่นาน

สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ก็คือจากภาพ การระบาดของโควิดบาห์เรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง ทำให้บาห์เรนมีเป้าหมายใหม่ นั่นคือต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงสูง
    นอกจากนี้ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  ก็มีแผนฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ของวัคซีนซิโนฟาร์ม  เช่นเดียวกันกับบาห์เรน
    ดังนั้น คำการันตีจาก เทดรอส แอดนาฮอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวถึง ประสิทธิผลของวัคซีนซิโนฟาร์ม ว่าอยู่ที่ 79% ในทุกช่วงอายุ ผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก และฉีด 2 โดส ห่างกันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ส่วนอายุเหมาะสมสำหรับการรับวัคซีนของซิโนฟาร์ในเวลานี้ คือตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ก็อาจจะไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซนต์ และได้รับการรับรองให้เป็นวัคซีนฉุกเฉินได้จากองค์การอนามัยโลก
    แต่ วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตายจะป้องกันการติดเชื้อได้ในช่วงที่ร่างกายมีภูมิอยู่มากกว่า  กล่าวคือ หากภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนฤทธิ์ลง ทุกคนก็มีสิทธิ์ติดโควิด-19 กันอีก

Vaccine

•บาห์เรนซ้ำรอยเซเชลล์ ?
    สำหรับ ปัญหาโควิดบาห์เรน คล้ายคลึงกับ หมู่เกาะเซเชลส์ ในมหาสมุทรอินเดีย เพราะมีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น แม้ประชากรภายในประเทศจะเข้ารับวัคซีนครบโดสแล้วมากกว่า 60% ของประชากรทั้งหมดแล้วก็ตาม
    โดยที่ หมู่เกาะเซเชลส์  ก็ได้ใช้วัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยีเชื้อตายแบบวัคซีนซิโนฟาร์มเช่นกัน ซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้นจากเคสหมู่เกาะเซเชลส์ คือ ถึงแม้วัคซีนที่ใช้จะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันอาการรุนแรงหลังติดเชื้อและการเสียชีวิตได้ แต่ก็ยังอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ  และ บาห์เรน ก็กำลังซ้ำร้อยกับ หมู่เกาะเซเชลส์

• ไทย "อาจ" ต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3

จากบทเรียนของโควิดบาห์เรน รวมถึงหมู่เกาะเซเชลล์ นั่นอาจจะเป็นบทสะท้อนมายังประเทศไทยด้วย เพราะประเทศไทย ใช้วัคซีนซิโนแวค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชื้อตายแบบเดียวกับซิโนฟาร์ม
    โดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มี การตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์ที่บาห์เรนจะเป็นปัญหา เพราะ เคสของผู้ป่วยโควิดดูพุ่งสูงขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายนแบบไวมากๆ และตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะเป็นเพราะมีโอกาสสูงที่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเชื้อตายของวัคซีนซิโนฟาร์ม จะอยู่ไม่นาน และ ที่ฉีดไปก่อนหน้านี้อาจจะเหลือไม่พอป้องกันการระบาดในช่วงนี้

...ประเทศไทยในอนาคตอาจจะต้องเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ต่างกับบาห์เรน หรือหมู่เกาะเซเชลส์  เพราะแม้จะฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้ออาจจะยังสูงขึ้นได้
    แต่ ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ ก็คือ การฉีดวัคซีนย่อมดีกว่าการไม่ฉีด เพราะอย่างน้อยก็บรรเทาอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากโรคโควิด-19 ลงได้เยอะ และวัคซีนช่วยเซฟชีวิตได้แน่นอน

 

related