Krungsri Zero Waste โครงการที่มีแนวคิดและแนวปฏิบัติ Race to Net Zero เพื่อรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ (Net Zero Emissions) ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบที่มีต่อโลกและประชาคมโลกอย่างมีนัยสำคัญ
นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคสังคมได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของกรุงศรีในการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบเพื่อบรรลุพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นผู้นำภาคการเงินที่ร่วมรณรงค์ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ผ่านโครงการ Krungsri Zero Waste ซึ่งได้รับการบรรจุเป็นแผนพัฒนาเข้าด้วยกันกับกระบวนการดำเนินธุรกิจของธนาคารอย่างไร้รอยต่อ"
ในปี 2561 กรุงศรีได้เริ่มโครงการ Krungsri Zero Waste เพื่อลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประสบความสำเร็จในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ในสำนักงานใหญ่ และได้รับรางวัล Best Environmental Responsibility จาก Corporate Governance Asia ในปี 2562 ความสำเร็จของกรุงศรีในปี 2563 รวมถึงความสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 8.64 ล้านkgCO2e และความเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนของภาคธนาคารรวมถึงการจัดจำหน่ายตราสารหนี้ ESG
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ทางเลือกใหม่ ฟินแลนด์ประดิษฐ์แบตเตอรี่พลังงานทรายเครื่องแรกของโลก
IRPC เดินเกมขับเคลื่อนสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ เร่งลดคาร์บอน
แม็คโคร เดินหน้านโยบายสิ่งแวดล้อม เน้นบริหารจัดการขยะ รุกธุรกิจสีเขียว
ขยะเชื้อเพลิง RDF (Refuse-Derived Fuel) เป็นประเภทขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิล แต่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงและเผาไหม้จนหมดโดยไม่มีการนำไปสู่บ่อฝังกลบ (Zero Waste to Landfills) การสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้ รู้จัก รู้ลด รู้แยก ขยะ RDF จึงเป็นต้นทางของการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบเชิงลบจากขยะอย่างเป็นรูปธรรมและได้ผลที่สุดในระยะยาว
ทั้งนี้ กรุงศรีเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) ของไทย และเป็นสมาชิกตั้งต้นของ Carbon Markets Club และสมาชิกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) กรุงศรีเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ที่มีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Declaration) เช่นกัน
"ในปี 2564 กรุงศรีได้ปักหมุดสำคัญของธนาคารพาณิชย์ที่มีจุดยืนเพื่อความยั่งยืน ด้วยประกาศวิสัยทัศน์สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Krungsri Carbon Neutrality Vision) พร้อมแผนงานในการเร่งลดคาร์บอนที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับเป้าหมายและแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Nationally Determined Contributions: NDCs) ด้วยแผนลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการดำเนินงานของธนาคารภายในปี 2573 และการสนับสนุนลูกค้าให้สามารถเปลี่ยนผ่านสู่การลงทุนและดำเนินธุรกิจแบบคาร์บอนต่ำ รวมทั้งลดการปล่อยคาร์บอนจากการให้บริการทางการเงินทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในปี 2593"
"ในปี 2565 ปฏิบัติการ Krungsri’s Race to Net Zero จึงได้ถือกำเนิดบนวิสัยทัศน์ดังกล่าวและได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการด้านความยั่งยืน คณะผู้บริหาร ตลอดจนความร่วมมือจากพนักงานกรุงศรี กรุ๊ป ทุกระดับ ในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของกรุงศรี ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลให้มากขึ้น ใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่าพร้อมๆ กับการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เรายังต่อยอดปฏิบัติการ Krungsri’s Race to Net Zero ด้วยการตั้งเป้าหมายลดขยะ RDF (Refuse-Derived Fuel) ให้เหลือศูนย์ภายในสิ้นปีนี้ และจะขยายแนวคิดนี้สู่วงกว้างด้วยการผนึกกำลังกับพันธมิตรองค์กรต่างๆ ในการรณรงค์ลดขยะ RDF ในปี 2566 โดยจะเริ่มจากองค์กรระดับประเทศที่ตั้งอยู่บนถนนเพลินจิต"