svasdssvasds

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก

“Mango AI” แอพพลิเคชั่นอัจฉริยะที่ช่วยให้ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกตลาดโลก มีทั้งเรื่องระบบการแจ้งเตือนการให้ปุ๋ย ระบบแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ รวมถึงให้คำแนะนำกับเกษตรกรในการผลิตตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก

แอพ “Mango AI” พัฒนาโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ที่พัฒนาระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะสำหรับการผลิตมะม่วง “แอพพลิเคชั่นแมงโก้เอไอ” (Mango AI Application) ผ่านมือถือ ที่ติดตั้งระบบการแจ้งเตือนการให้ปุ๋ยและน้ำอัตโนมัติ ระบบแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในอากาศและความชื้นในดินจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ และระบบแจ้งเตือนการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโรค

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก นอกจากนี้ แอพ “Mango AI” ยังสามารถให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการผลิตตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP (Good Agricultural Practices : GAP) หวังสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรสวนมะม่วงของไทยเพื่อยกระดับการส่งออกสู่ตลาดโลก

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการเกษตร โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร ผลักดันให้เกิดรูปแบบการเกษตรสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีการตรวจวัดการจัดการข้อมูลมาใช้ในพื้นที่ปลูก หรือที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรสามารถจัดการฟาร์มได้ในระดับอุตสาหกรรม

บพข.ภายใต้แผนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่เข้มแข็ง และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโดยการประยุกต์ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงเทคโนโลยีเซนเซอร์ มาเพิ่มศักยภาพให้เกษตรกร ลดขั้นตอนในการทำงาน ทำให้การทำงานง่าย สะดวก และได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

โครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะสำหรับการผลิตมะม่วง เป็นโครงการซึ่ง บพข. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยกับมหาวิทยาลัยนเนศวรในกการพัฒนาแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะ “Mango AI” ถือเป็นการติดอาวุธให้กับเกษตรกรไทย และมะม่วงของไทยถือเป็นผลไม้มาแรงและได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ มีการขยายตัวด้านการส่งออกอย่างต่อเนื่องไปในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น โดยปัจจุบันประเทศไทยยังครองตำแหน่งเป็นผู้ส่งออกมะม่วงอันดับที่ 2 ในอาเซียน และเป็นอันดับที่ 7 ของโลก

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวรหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่าการพัฒนาโครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะสำหรับการผลิตมะม่วง จุดประสงค์เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติในการให้น้ำ ปุ๋ย สามารถรายงานสภาพอากาศ ความชื้นในอากาศ ดิน รวมไปถึงระบบแจ้งเตือนการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโรคตามสภาพอากาศ ฤดูกาล โดยเกษตรกรสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้จากโทรศัพท์มือถือ

นอกจากนี้แอพ Mango AI ยังมีข้อมูลสำหรับแนะนำเกษตรกรในการผลิตตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี – GAP เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรไปแข่งกับตลาดโลกได้ โดยงานวิจัยดังกล่าว มีการทดลองใช้พื้นที่แปลงปลูกจริงของเกษตรกรใน 4 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา ขอนแก่น และเชียงใหม่ ซึ่งภายในแปลงปลูกได้มีการติดตั้งระบบการให้ปุ๋ย น้ำและสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่สามารถสั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือได้จาก แอพ “Mango AI” ระบบยังสามารถแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในอากาศและความชื้นในดิน นอกจากนี้ทีมวิจัยกำลังพัฒนาการประเมินและป้องกันความเสียหายของผลผลิต การวิเคราะห์และแสดงผลความเสียหายจากการเกิดโรค การขาดธาตุอาหาร หรือการเกิดภัยธรรมชาติในพื้นที่แปลงปลูก

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก คุณชลธิชา ช่างประดิษฐ์ เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วงรวงทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ใช้เป็นพื้นที่วิจัยพัฒนาแอพ “Mango AI” ในการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ได้ให้รายละเอียดว่า เดิมตนเองไม่ได้มีอาชีพเกษตรกรและไม่มีความรู้ด้านการเกษตรเลย หลังเกษียณจึงได้กลับมาบ้านเกิดและหางานหลังเกษียณจากพื้นที่ที่มีอยู่เดิม โดยในช่วงแรกได้ลองปลูกมะม่วงตามชาวบ้านแถวนั้น และหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตและได้มีโอกาสเข้าอบรมการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกกับมหาวิทยาลัยนเรศวร เพราะเห็นว่าการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้นั้นได้ราคาดีกว่า

คุณชลธิชาใช้ความพยายามในการเรียนรู้จนสามารถนำผลผลิตส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จในปี 2560 ต่อมาในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งไม่สามารถขายผลผลิตได้เลย จึงมีความคิดในการรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นเกษตรแปลงใหญ่ และร่วมมือกันผลักดันเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP ให้สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้

ประกอบกับปัญหาเรื่องผลผลิตที่ออกพร้อมกันในปริมาณมากและทำให้ราคาผลผลิตต่ำลง การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องทำให้ผลผลิตออกนอกฤดูให้ได้ จึงเป็นที่มาที่ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มเกษตรกรมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองตำบลวังน้ำบ่อ จังหวัดพิษณุโลก ที่มีสมาชิกประมาณ 40 ราย ในพื้นที่ปลูกประมาณ 700 ไร่ ในอำเภอเนินมะปราง โดยใช้สวนรวงทองเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับสมาชิก ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มะม่วงคุณภาพวังน้ำบ่อด้วยสโลแกน “มะม่วงดีมีทั่วไป ถ้าหวานจับใจต้องไป วังน้ำบ่อ” ที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเครือ The Mall เช่น สยามพารากอน ดิเอ็มโพเรียม ดิเอ็มควอเทีย เป็นต้น

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก

หลังจากได้ทดลองใช้แอพ “Mango AI” ทำให้สามารถตรวจสอบความชื้นในดิน และสามารถส่งคำสั่งการให้น้ำได้จากทางมือถือ โดยไม่ต้องอยู่ที่แปลงปลูก ถือเป็นความสะดวกอย่างมากในการปลูก นอกจากนี้แอพ “Mango AI” ยังช่วยให้ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอายุที่มาก อยู่ในช่วง 50 – 60 ปี ซึ่งยังมีทักษะและประสบการณ์ในการปลูกสูง แอพ “Mango AI” จะช่วยประหยัดแรงงานการขับรถไถรดน้ำในแปลง การสูบน้ำ และข้อมูลในแอพยังสามารถต่อยอดความรู้เดิมของเกษตรกรให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น

Mango AI ตัวช่วยอัจฉริยะชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพิ่มคุณภาพส่งออก “Mango AI” เป็นแอพที่ใช้ง่าย เกษตรกรสูงอายุสามารถใช้ได้ ไม่ซับซ้อน หากภาครัฐสนับสนุนเรื่องระบบบาดาลในพื้นที่จะทำให้การใช้แอพเป็นประโยชน์อย่างสูง ในแอพยังเป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ ในการค้นหารายละเอียดจำเป็นสำหรับการทำเกษตรกรรมในแต่ละพื้นที่ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลแก่เกษตรกรได้ทั่วทั้งประเทศ ในอนาคต คุณชลธิชาและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวังน้ำบ่อได้วางแผนการทำมะม่วงนอกฤดู เพื่อให้ผลผลิตออกในช่วงเดือนสิงหาคม หรือกันยายน ที่ราคาผลผลิตไปถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม