svasdssvasds

รวมเพลงพระราชนิพนธ์ และบทเพลงรำลึกถึงในหลวงร.๙

รวมเพลงพระราชนิพนธ์ และบทเพลงรำลึกถึงในหลวงร.๙

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอัครศิลปิน โดยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกล้วนถวายการยกย่องให้พระองค์ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูงส่ง รวมถึงเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๗ สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูงให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์อีกด้วย

รวมเพลงพระราชนิพนธ์ และบทเพลงรำลึกถึงในหลวงร.๙

ทรงเริ่มเรียนดนตรีเมื่อมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ขณะประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเล่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต เปียโน รวมถึงกีตาร์ซึ่งทรงฝึกเพิ่มเติมในภายหลังเพื่อประกอบการพระราชนิพนธ์เพลงและเพื่อทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์ โดยทรงรวบรวมพระประยูรญาติที่เป็นนักดนตรีมาจัดตั้งวงดนตรีลายครามขึ้น ร่วมเล่นดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ทุกเย็นวันศุกร์ กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ พระองค์จึงทรงจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางให้ความบันเทิงและสาระประโยชน์ ตลอดจนข่าวสารต่างๆ แก่ประชาชน

ขณะพระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เพลง และในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง “แสงเทียน” ขึ้น รวมบทเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์มีทั้งสิ้น ๔๙ เพลง

รวมลิงก์เพลงพระราชนิพนธ์ ๔๙ เพลง

๑.     เพลงแสงเทียน(Candlelight Blues) 

๒.     ยามเย็น (Love at Sundown) 

๓.     สายฝน (Falling Rain)

๔.     ใกล้รุ่ง (Near Dawn)

๕.     ชะตาชีวิต (H.M. Blues)

๖.     ดวงใจกับความรัก (Never Mind the Hungry Men's Blues)

๗.     มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March) เพลงราชวัลลภ ลำดับที่ ๔๙ เป็นอีกเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ แตกต่างจากเพลง มาร์ชราชวัลลภ โดย วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ พระองค์ท่านทรงพระราชทานพระวินิจฉัย เห็นควรที่จะให้แยกทั้ง ๒ เพลงออกจากกันเพราะว่าทั้ง ๒ เพลงนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

๘.     อาทิตย์อับแสง (Blue Day) 

๙.     เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You)

๑๐.   คำหวาน (Sweet Words)

๑๑.   มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn)

๑๒.   แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart)

๑๓.   พรปีใหม่

๑๔.   รักคืนเรือน (Love Over Again)

๑๕.   ยามค่ำ (Twilight)

๑๖.   ยิ้มสู้ (Smiles)

๑๗.   มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March)

๑๘.   เมื่อโสมส่อง (I Never Dream)

๑๙.   ลมหนาว (Love in Spring)

๒๐.   ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag)

๒๑.   Oh I say

๒๒.   Can't You Ever See

๒๓.   Lay Kram Goes Dixie

๒๔.   ค่ำแล้ว (Lullaby)

๒๕.   สายลม (I Think of You)

๒๖.   ไกลกังวล (When)

๒๗.   แสงเดือน (Magic Beams)

๒๘.   ฝัน (Somewhere Somehow) หรือ เพลินภูพิงค์

๒๙.   มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March)

๓๐.   ภิรมย์รัก (A Love Story)

๓๑.   Nature Waltz

๓๒.   The Hunter

๓๓.   Kinari Waltz

๓๔.   แผ่นดินของเรา (Alexandra)

๓๕.   พระมหามงคล

๓๖.   ยูงทอง เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๓๗.   ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)

๓๘.   เตือนใจ (Old-Fashioned Melody)

๓๙.   ไร้เดือน (No Moon) หรือ ไร้จันทร์

๔๐.   เกาะในฝัน (Dream Island)

๔๑.   แว่ว (Echo)

๔๒.   เกษตรศาสตร์

๔๓.   ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream)

๔๔.   เราสู้

๔๕.   เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21)

๔๖.   Blues for Uthit

๔๗.   รัก

๔๘.   เมนูไข่

๔๙.   ราชวัลลภ เพลง"ราชวัลลภ"ถูกนำมาใช้ขับร้องบ่อยครั้งเพราะเนื่องจากเพลง"มาร์ชราชวัลลภ"ไม่สามารถใช้ขับร้องได้ จึงทำให้เพลง"ราชวัลลภ"ถูกเรียกว่า"มาร์ชราชวัลลภ"ด้วยเช่นกัน

ด้วยพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงทำเพื่อพสกนิกรด้วยความวิริยอุตสาหะ พสกนิกรชาวไทยล้วนซาบซึ้งน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ศิลปินในแวดวงบันเทิงจึงได้แต่งบทเพลงเพื่อถวายความอาลัยขึ้น สปริงนิวส์จึงขอรวบรวม ๙ บทเพลงจากหลากหลายศิลปิน มาเพื่อให้ชาวไทยได้ฟังและเพื่อน้อมรำลึกถึงพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙

๑.     We : พอ “เพลงของพ่อ”

๒.     บทเพลงของพ่อ

๓.     ลูกของพ่อ อำพล ลำพูน

๔.     ลูกขอสัญญา – Big Ass / ตูน Bodyslam / เมธี Labanoon / Vietrio

๕.     ฉันเกิดในรัชกาลที่ ๙ - เสก โลโซ

๖.     ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป by MILDVOCALIST

๗.     เล่าสู่หลานฟัง - ต่าย อรทัย

๘.     เรื่องเล่าของพ่อ - ไหมไทย หัวใจศิลป์

๙.     13 ตุลา หนึ่งทุ่มตรง – ธเนศ วรากุลนุเคราะห์