svasdssvasds

กกพ.ตรึงราคาค่าไฟ 4.18บาท/หน่วย ในงวด ก.ย. - ธ.ค. 67จากนี้ค่าไฟจะเป็นยังไง ?

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ค่าไฟบ้านเรามาจากอะไร ค่าไฟบ้านเรามีโครงสร้างกี่ส่วน และแพงจากส่วนไหน โดยค่าไฟที่อยู่ในบิลจะประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก คือ ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งจะคำนวณจากตัวเลขของปี 2558 เป็น ค่าไฟที่คิดมาจากต้นทุนค่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การลงทุนก่อสร้างเพิ่มขนาดสาย เพิ่มความยาวสาย โครงข่ายสายส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งตายตัว และจะมีวงรอบการทบทวน ทุก ๆ 3 - 5 ปีครับ ต่อมาส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่เราได้ยินติดหูกันบ่อยที่สุด นั่นก็คือ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกกันว่า “ค่าเอฟที” นั่นเองครับ ซึ่ง “ค่าเอฟที” จะคำนวณจากส่วนต่างของต้นทุนเชื้อเพลิงจริง ๆ ตามแต่ละช่วงเวลา กับต้นทุนเชื้อเพลิงในฐานในปี 2558 เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่ตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด ตรงนี้วงรอบในการทบทวนทุก ๆ 4 เดือน และจะมีการประกาศก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 1 เดือน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีการปรับตัวรับค่าไฟใหม่ เช่น การประกาศค่าไฟงวดสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งได้มีการประกาศไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ส่วนที่ 3 ค่าบริการรายเดือน ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มหรือลดตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า เช่น ค่าจดมิเตอร์ ค่าทำใบเสร็จ ค่าส่งใบเสร็จ  ส่วนสุดท้าย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ส่วนหลักๆที่มีส่งผลให้ค่าไฟ ถูก หรือแพง นั่นก็คือ ค่าเอฟทีครับเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ค่าเอฟที หลัก ๆ คำนวนจากค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีผลต่อราคาเชื้อเพลิงทุกประเภทที่ต้องคำนวนด้วยอัตราแลกเปลี่ยน และส่วนสุดท้ายที่สำคัญ คือ การคำนวนประมาณการการใช้ไฟฟ้าในแต่ละรอบ 3 ตัวหลักนี้ มีผลต่อค่าเอฟที ซึ่งเป็นส่วนหลักของค่าไฟในแต่ละงวด

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ค่าไฟบ้านเรามาจากอะไร ค่าไฟบ้านเรามีโครงสร้างกี่ส่วน และแพงจากส่วนไหน

โดยค่าไฟที่อยู่ในบิลจะประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก คือ
ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งจะคำนวณจากตัวเลขของปี 2558 เป็น ค่าไฟที่คิดมาจากต้นทุนค่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การลงทุนก่อสร้างเพิ่มขนาดสาย เพิ่มความยาวสาย โครงข่ายสายส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งตายตัว และจะมีวงรอบการทบทวน ทุก ๆ 3 - 5 ปีครับ

ต่อมาส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่เราได้ยินติดหูกันบ่อยที่สุด นั่นก็คือ
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกกันว่า “ค่าเอฟที” นั่นเองครับ

ซึ่ง “ค่าเอฟที” จะคำนวณจากส่วนต่างของต้นทุนเชื้อเพลิงจริง ๆ ตามแต่ละช่วงเวลา กับต้นทุนเชื้อเพลิงในฐานในปี 2558 เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่ตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด ตรงนี้วงรอบในการทบทวนทุก ๆ 4 เดือน และจะมีการประกาศก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 1 เดือน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีการปรับตัวรับค่าไฟใหม่ เช่น
การประกาศค่าไฟงวดสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งได้มีการประกาศไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา

ส่วนที่ 3 ค่าบริการรายเดือน ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มหรือลดตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า เช่น ค่าจดมิเตอร์ ค่าทำใบเสร็จ ค่าส่งใบเสร็จ 

ส่วนสุดท้าย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่ส่วนหลักๆที่มีส่งผลให้ค่าไฟ ถูก หรือแพง นั่นก็คือ ค่าเอฟทีครับเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ค่าเอฟที หลัก ๆ คำนวนจากค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีผลต่อราคาเชื้อเพลิงทุกประเภทที่ต้องคำนวนด้วยอัตราแลกเปลี่ยน และส่วนสุดท้ายที่สำคัญ คือ การคำนวนประมาณการการใช้ไฟฟ้าในแต่ละรอบ 3 ตัวหลักนี้ มีผลต่อค่าเอฟที ซึ่งเป็นส่วนหลักของค่าไฟในแต่ละงวด