svasdssvasds

7 อันตรายจากสัตว์มีพิษ! ในช่วงฤดูฝน

7 อันตรายจากสัตว์มีพิษ! ในช่วงฤดูฝน

นอกจากโรคภัยที่มาในช่วงหน้าฝนแล้ว อัตรายจากสัตว์มีพิษ ยิ่งต้องระมัดระวังเพราะจะพบได้บ่อย โดยเฉพาะ งู กิ้งกือ ปลิง ตะขาบ แมงป่อง แมงมุม แมลงก้นกระดก

1.งู - เป็นสัตว์อันตรายที่พบเห็นได้บ่อยช่วงน้ำท่วม ซึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยของงูอยู่ใต้ดิน เมื่อเกิดน้ำท่วม พวกมันจึงต้องอพยพอาศัยตามที่สูง อาทิ เสาไฟฟ้า ต้นไม้ และตามบ้านเรือน เป็นต้น

หากถูกงูพิษกัดจะมีรอยเขี้ยว 1-2 แผลเสมอ เขี้ยวมีลักษณะเป็นรูกลวงคล้ายเข็มฉีดยา และมีเลือดออกซึม ๆ

หากโดนงูพิษกัด ให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 และปฐมพยาบาลตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยพยายามอย่าขยับอวัยวะที่ถูกงูกัดเพราะการเคลื่อนไหวจะเร่งให้พิษกระจายไปตามร่างกายได้เร็วขึ้น จากนั้นให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดหยุ่นพันตั้งแต่เหนือรอยแผลที่โดยกัด ไปจนถึงเหนือข้อต่อของแขนหรือขา และต้องคลายผ้าทุก ๆ 15-20 นาที เพื่อป้องกันส่วนปลายขาดเลือด และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

2.กิ้งกือ - กิ้งกือบางชนิดสามารถปล่อยพิษที่เป็นของเหลวออกจากบริเวณรอยต่อของข้อปล้องได้ หรือบางชนิดอาจปล่อยก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ออกมาเพื่อป้องกันตัว ซึ่งจริง ๆ แล้วสารพิษดังกล่าวไม่ค่อยส่งผลกับมนุษย์เราเท่าไร เว้นแต่ว่าคนที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย อาจเกิดอาการแสบ คัน หรือเห็นเป็นรอยแดง ๆ ตามผิวหนังที่สัมผัสกิ้งกือได้

เมื่อโดนพิษกิ้งกือ รีบทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่โดนพิษด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลาย ๆ รอบ จะช่วยลด รอยแดง ๆ จางหาย และช่วยลดพิษกิ้งกือ แบคทีเรีย และเชื้อโรคที่มาพร้อมกับกิ้งกือ

3.ปลิง - ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง บึง อยู่ได้ทั้งในน้ำนิ่ง และน้ำไหล กินเลือดเป็นอาหาร ในประเทศไทยพบปลิงหลากหลายชนิด ที่พบมาก คือ ปลิงควาย หรือปลิงเข็ม

สําหรับผู้ที่ถูกปลิงดูดเลือด ไม่ควรที่จะใช้มือหยิบดึงปลิงออกจากบาดแผลทันที เนื่องจากขากรรไกรจะยิ่งทําให้บาดแผลฉีกขาดกว้างมากขึ้นและเลือดไหลไม่หยุด แต่ควรใช้ยาฉุนหรือไส้ของเส้นบุหรี่ชุบน้ำบีบน้ำยาฉุนลงไปบริเวณที่ปลิงเกาะ หรืออาจจะใช้น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น อย่างใดอย่างหนึ่งราดตรงที่ปลิงเกาะ หรือใช้ธูปที่ติดไฟจี้ลงที่ตัวปลิง ก็ได้ขึ้นกับความเหมาะสมและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น

4.ตะขาบ - เป็นสัตว์เลื่อยคลานที่มีพิษสงน่ากลัวในยามน้ำท่วมอีกชนิดหนึ่ง พิษของตะขาบทําให้มีการอักเสบ บวมแดง ชา บางรายแพ้พิษรุนแรงอาจมีอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาเจียน ปวดศีรษะได้และเกิดเป็นอัมพาตบริเวณจุดที่ถูกกัด ทั้งนี้ส่วนใหญ่ไม่พบรายงานว่าคนถูก

ตะขาบกัดแล้วตาย วิธีป้องกันตะขาบ ควรตรวจตามห้องน้ำที่มีน้ำขังชื้นแฉะ โดยเฉพาะสิ่งของที่ตั้งอยู่ในห้องน้ำ เช่น ใต้ถังน้ำ ใต้ถาดรองกระถางต้นไม้หรือแม้แต่ใต้ฝาท่อระบายน้ำ ซึ่งมันชอบหลับที่เปียกแฉะมาอยู่ตามที่ชื้นและเย็นมากกว่า

เมื่อโดนตะขาบ ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่นาน 30 วินาที แล้วใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการปวดบวม หรือรับประทานยาแก้ปวดเมื่อรู้สึกปวด

5.แมงป่อง - พิษของแมงป่องมีผลต่อระบบประสาท (neurotoxin) ทําให้เหยื่อที่ถูกแมงป่องต่อยนั้นเป็นอัมพาต นอนแน่นิ่ง สําหรับแผลจากการถูกแมงป่องต่อยจะเป็นรูเข็มหนึ่งรูและบางครั้งเป็นรอยไหม้

เมื่อถูกแมงป่องต่อยให้ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ จากนั้นประคบแผลด้วยผ้าห่อน้ำแข็ง เพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งจะช่วยให้พิษกระจายตัวได้ช้าลง จากนั้นรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์

6.แมลงก้นกระดก - จะพบได้มากที่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ นาข้าว หรือตามพงหญ้า โดยเฉพาะในหน้าฝนจะมีการระบาดของแมลงชนิดนี้ในต่างจังหวัด หรือบนตึกสูง ๆ ก็พบได้บ้างเช่นกัน มีพิษแสบร้อนมาก เนื่องจากของเหลวในร่างกายของแมลงก้นกระดกจะมีสาร เพเดอริน (Paederin) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารพิษชนิดนี้สามารถทำลายผิวหนังและเซลล์เนื้อเยื่อ เมื่อเราสัมผัสโดน แมลงก้นกระดกก็จะปล่อยของเหลวออกมา ทำให้ปวดร้อน คัน ปวดแสบ ผิวไหม้ มีผื่นแดง ตุ่มน้ำ เป็นหนองขึ้นตามบริเวณผิวหนังที่โดนสัมผัส

ให้รีบล้างผิวด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่ และประคบเย็นในบริเวณที่สัมผัสกับแมลงโดยตรง จากนั้นให้คอยสังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง หากเกิดรอยแดงเล็กน้อยสามารถหายเองได้ใน 2-3 วัน ไม่จำเป็นต้องทายาใด ๆ แต่ถ้าอาการผื่นเป็นมากขึ้นหรือมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

7.แมงมุม - ส่วนมากเกิดจากแมงมุมที่ไม่มีพิษ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ มีเพียงอาการระคายเคืองเล็กน้อย เช่น บวม แดง คัน แสบร้อน รู้สึกชาหรือเจ็บคล้ายเข็มทิ่ม แต่ก็มีแมงมุมบางชนิดที่มีพิษร้ายแรง เช่น แมงมุมแม่ม่ายดำ แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล เป็นต้น พิษของแมงมุมชนิดนี้มีผลต่อระบบเลือด ทำให้เกิดความผิดปกติในอวัยวะหลายๆ ส่วน

related