ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ชี้สื่อสังคมออนไลน์เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่ขณะนี้กลายเป็นช่องทางที่หลายคนใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหาความชอบธรรมให้กับตัวเอง
ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยสื่อดังกล่าวเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ การโพสต์ การแชร์ และการแสดงความคิดเห็น ที่มีออกมามักได้รับความสนใจจากสังคมกลับกลายเป็นเรื่องเชิงลบ โดยเฉพาะกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาแสดงออกถึงความรุนแรง การเรียกร้องความสนใจ การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือการถ่ายทอดสดแสดงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ในขณะที่หลายฝ่ายมองว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและรุนแรงขึ้นเช่นกัน หากไม่มีการแก้ไขหรือป้องกัน อย่างแท้จริง
19 ก.พ. 61 ป้าทุบรถกระบะ จอดรถขวางหน้าบ้าน หาความชอบธรรม
22 เม.ย. 61 แฟนหนุ่ม ถ่ายคลิปไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ทำร้ายร่างกายแฟนสาว
26 เม.ย. 61 สาวยวัย 16 ไลฟ์เฟซบุ๊ก ฆ่าตัวตาย น้อยใจในความรัก ทะเลาะกับคนในครอบครัวของแฟนหนุ่ม
ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช ผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในการใช้สื่อออนไลน์ เปิดเผยกับทีมข่าวสปริงนิวส์ ออนไลน์ พร้อมยอมรับว่าเทคโนโลยีความทันสมัยที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วจนทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองตามไม่ทัน และไม่สามารถล่วงรู้เลยว่าลูกกำลังทำอะไรเล่นอะไรในโลกออนไลน์ เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวยืนยันสถานการณ์เด็ก กับภัยออนไลน์ จากผลสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ 2560 โดย ศูนย์ COPAT ได้สำรวจสถานการณ์ เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ระหว่างเดือนพฤศจกิายน –ธันวาคม 2560 กลุ่มตวัอย่างเป็นเด็กอาย 9-18 ปี
จำนวน 10,846 คน จากทั่วประเทศ เป็นเพศหญิง 63.56 % เพศชาย 34.14 % และเป็นเพศทางเลือก 2.30 %
ผลการสำรวจความเห็นเด็กและเยาวชนพบว่า
98% เชื่อว่าอินเตอร์เน็ตให้ประโยชน์และสิ่งดีๆมากมาย
95% เด็กรู้ว่าอินเตอร์เน็ตมีภัยอันตรายและความเสี่ยงหลายแบบ
70% เชื่อว่าเพื่อนมีพฤติกรรมเสี่ยงภัยออนไลน์
61% เชื่อว่าตังเองจะไม่ถูกกลั่นแกล้งหรือล่วงละเอียดทางเพศ
75% เชื่อว่าเมื่อประสบภัยออนไลน์แล้วสามารถจัดการปัญหาได้
78% เชื่อว่าสามารถช่วยเพื่อน เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้
และเมื่อมองในเรื่องเพศ “เพศทางเลือกโดนกลั่นแกล้งทางออนไลน์” สูงที่สุด รองลงมาเพศชาย และหญิง ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังมองว่าการใช้สื่อในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมา จากการสังเกตพบว่า ช่องทางการใช้สื่อโซเชียลเป็นช่องทางที่หลายคนใช้เพื่อหาความชอบธรรมให้กับตัวเอง ซึ่งก็เป็นพื้นที่ของมนุษย์ที่จะหาเหตุผล หาความชอบธรรม เพื่อให้คนเข้ามาเป็นพวก หาเพื่อน ว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นดี และถูกต้อง จากการกดไลน์ กดว้าว กดเลิฟ กดเห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่ว่าเขาจะเห็นดีด้วย หรืออยู่ข้างคุณ ดังนั้น ผู้โพสต์ต้องสร้างความตระหนักกับเรื่องเหล่านี้ จะต้องรู้ว่าจะแก้สถานการณ์อย่างไรเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจระดับนโยบายจะต้องทำสร้างมั่นใจ สร้างความตระหนักรู้
ตัวอย่างกรณี ที่มีผู้โพสต์ โพสต์เพื่อหาความชอบธรรม แต่เกิดเป็นกระแสตีกลับ อย่างเห็นได้ชัดเจน คือ "กรณีหนุ่มโพสต์ คลิปวิดีโอ พบรถทหารคันหนึ่งจอดในที่ห้ามจอด" รายละเอียดภายในคลิปทหารได้มีการยกมือขอโทษหนุ่มที่ถ่ายแล้ว จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เอามาโพสต์ทำไม ? โพสต์นี้กลายเป็น กระแสที่สังคมให้ความสนใจ "ชาวเน็ตชื่นชมเจ้าหน้าที่ทำผิดแล้วยอมรับผิด แต่กลับจวกผู้ถ่ายคลิปว่าทำเกินกว่าเหตุ" เป็นต้น และนี่ก็เป็นการสะท้อนให้ถึงช่องทางที่การเผยแพร่ นั้นง่ายนิดเดียว และมันกลายเป็นส่วนหนึ่ง หรือวิถีของมนุษย์ที่ไปเปลี่ยนไปจากอดีต เพราะยุคที่โซเชียวได้เข้ามาแทนที่ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ของผู้คน สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้รับการดูแล ตระหนักหรือปลูกฝัง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทางอารมณ์ และสังคม
ขณะที่ข้อมูลจของ “We Are Social” ดิจิทัลเอเยนซี่ และ “Hootsuite” ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions ระบุว่าไทย มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 57 ล้านคน
– มีผู้ใช้งาน Social Media มากถึง 51 ล้านคน
– มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สูงถึง 93.61 ล้านเลขหมาย มากกว่าจำนวนประชากรทั้งประเทศ
– ในจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด มีผู้ใช้ Social Media เป็นประจำผ่าน Smart Device 46 ล้านคน
ปัจจุบัน “ประเทศไทย” เป็นประเทศที่ใช้เวลาต่อวันอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก (รวมทุกอุปกรณ์) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และถ้าวัดเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟน “ไทย” ยังคงเป็นประเทศที่ใช้เวลาท่องเน็ตต่อวันมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 56 นาที นอกจากนี้คนไทยยังใช้เวลาในการเล่น Social Media โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน