April Fool's Day ประวัติ วันโกหก 1 เมษายน 2024 "เมษาหน้าโง่" อีกหนึ่งอีเวนท์แห่งความ "ปลิ้นปล้อน" ที่ระวังจะเจอแกล้งแบบคาดไม่ถึง
1 เมษายน ของทุกปีคือ April Fool's Day (เอพริลฟูลเดย์) หรือ "วันโกหก" ที่จะมีแต่เรื่องราวปลอมๆออกมาแกล้งกัน ซึ่งทุกคนจะไม่ถือโทษโกรธเคือง และจะต้องระมัดระวังตัวไม่ให้โดนหลอก (เพื่อไม่ให้เสียหน้า) กันเป็นที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ถอดบทเรียน : คนดังก้าวพลาดบูลลี่คนอื่น กลั่นแกล้งใคร มีผลสะท้อนเสมอ!
30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) ชวนทำความเข้าใจโรคอารมณ์ 2 ขั้ว
Ableism พฤติกรรมเหยียดและกีดกันผู้พิการ ปิดโอกาสเข้าถึงด้วยอคติส่วนตัว
ประวัติ วัน April Fool's Day หรือ "เมษาหน้าโง่" เริ่มเป็นตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 19 ในดินแดนแถบแคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล กรีก ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา
รวมถึงหลักฐานการมีอยู่ของ "วันเมษาหน้าโง่" มีที่มาใกล้เคียงกับเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นวันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี ที่ผู้คนจะแต่งตัวตลกๆออกมาแกล้งกัน และพบว่ามี "เทศกาลคนโง่" ในยุโรปสมัยยุคกลาง ที่จัดขึ้นวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปีเช่นกัน
นอกจากนี้ประวัติของวัน April Fool's Day ยังเกี่ยวพันกับทฤษฎี "เปลี่ยนวันปีใหม่" ของชาวยุโรปยุคกลางในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่แต่เดิมวันปีใหม่ของพวกเขาคือวันที่ 1 เมษายน ต่อมาในปี ค.ศ. 1592 พระสันตปาปาเกรเกอรี่ได้ประกาศใช้ปฏิทินใหม่สำหรับชาวคริสต์ ทำให้วันปีใหม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นวันที่ 1 มกราคม
กลับกันด้วยปัญหาเรื่องการสื่อสารที่ยังไม่รวดเร็วทำให้มีกลุ่มคนไม่น้อยไม่ทราบถึงประกาศ และออกมาฉลองปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เหมือนเคย ทำเอาถูกล้อเลียนว่า "พวกเมษาหน้าโง่" ตามด้วยการพยายามกลั่นแกล้งคนพวกนี้โดยส่งข้อความไปหลอก หรือล่อลวงให้หลงเชื่อเรื่องโกหกทั้งหลายว่าเป็นเรื่องจริง
ทั้งนี้ในวันโกหกมุกที่ใช้แกล้งกันจะออกแนวเบาสมอง อาทิ หลอกว่าพรุ่งนี้หยุดงาน หรือหยุดเรียน, แกล้งเพื่อนด้วยการหมุนนาฬิกาให้เดินช้าลง หรือบอกว่า "เชือกรองเท้าของเธอหลุด" เมื่อผู้ถูกแกล้งก้มลงและพบว่าเชือกไม่ได้หลุด ผู้แกล้งจะพูดใส่ว่า April Fool's Day และหัวเราะขำขันกันไป
อย่างไรก็ตามด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างการเล่นแกล้งกันในวัน April Fool's Day ที่ตรงกับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2565 ควรอยู่ในกรอบของความเหมาะสม เป็นการแกล้งอำขำๆให้ผู้ถูกแกล้งมีอารมณ์ขัน ไม่อันตราย และพึงระวังการโพสต์เกี่ยวกับข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550