ชวนรู้จักประวัติความเป็นมาของนิยามคำว่า Fast Fashion ปัญหากองขยะเสื้อผ้าที่ไม่เคยจางหายไป Fast Fashion คืออะไร เริ่มโดยใคร เมื่อไหร่ แล้วแฟชั่นจะยั่งยืนได้ไหม
Springnews ชวนรู้จักประวัติความเป็นมาของคำว่า Fast Fashion และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังก่อกำแพงขยะเสื้อผ้าขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว
เพราะข่าวคราวของขยะเสื้อผ้าที่กองเป็นภูเขาในประเทศต่างๆทำให้เริ่มมีการพูดถึงคำว่า Fast Fashion มากขึ้น ซึ่งก็คือการบริโภคสินค้าตามแฟชั่นที่มาไวไปไวจนทำให้เกิดขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งจำนวนมหาศาล ด้วยเทคโนโลยีการผลิตและการแข่งขันทางการตลาดทำให้ผู้คนเข้าถึงการแต่งกายที่อิสระและหลากสไตล์มากขึ้น จากเมื่อก่อนคำว่าแฟชั่นเราอาจนึกถึงการเดินแบบบนรันเวย์ หรือการแต่งกายเวอร์ๆสีสันฉูดฉาด แต่นั่นก็เป็นศิลปะอีกแบบหนึ่งที่คนเข้าถึงได้ยาก เพราะบางส่วนมองว่าบางชุดมันแทบจะใส่ในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย
หากพูดถึงเทคโนโลยีแล้ว โลกออนไลน์ที่นอกจากเราจะติดตามข่าวสารได้แล้วนั้น เราสามารถเลือกซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องไปเดินเลือกซื้อเองบนห้างหรือตามตลาด เราสามารถจิ้มเลือกได้และจ่ายเงินทันทีเมื่อเราถูกใจ บวกกับกระแสของ Soft-power การแต่งกายของดารานักแสดงทั้งในและนอกประเทศที่กลายเป็นตัวอย่างการแต่งกายที่น่าสนใจและหลากหลายสไตล์ ทำให้คนเริ่มมองหาเสื้อผ้ารูปแบบนั้นเพื่อใส่ตามและร้านเสื้อผ้าต่างๆก็ผลิตรูปแบบเสื้อผ้าตามกระแสเพื่อตอบรับกับความสนใจบนโลกออนไลน์มากขึ้น การซื้อง่ายขายคล่องจึงกลายเป็นเรื่องปกติของการชอปปิงในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของการผลิตเสื้อผ้า Fashion Evolution
ย้อนกลับไปในปีค.ศ.1800 แฟชั่นสมัยนั้นเป็นอะไรที่เชื่องช้ามากๆ ผู้คนจะแต่งตัวเหมือนกันๆ สีสันของเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่ดูเหมือนแฟชั่นของยุคมักจะไปตกอยู่ที่พวกขุนนางชนชั้นสูง ที่จะมีมือตัดเสื้อผ้าให้อยู่แล้วในบ้านของพวกเขาเอง และราคาก็สูงมาก การผลิตเสื้อผ้าสักชุดนึง ผู้คนจะต้องหาวัตถุดิบเอง เช่น ขนแกะ ฝ้ายหรือเครื่องหนัง และขนหาบพวกมันไปให้คนตัดเย็บเสื้อผ้าผลิตชุดให้หรือตัดเย็บเอง ซึ่งส่วนใหญ่กระบวนการจะถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในหมู่ผู้หญิงมากที่สุด
ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการผลิตเทคโนโลยีเพื่อลดแรงในการตัดเย็บเสื้อผ้าเอง อย่าง เครื่องจักรเย็บผ้าขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จะสามารถผลิตเสื้อผ้าได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น ลดราคาต้นทุนและทำให้เสื้อผ้าตัวนั้นๆมีราคาถูกลง ดังนั้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้าจึงผุดขึ้นมาเพื่อรองรับลูกค้าชนชั้นกลางที่สามารถเข้าถึงราคาเสื้อผ้าของพวกเขาได้ เพราะราคามันก็ไม่ได้ถูกขนาดที่จะทำให้แรงงานเข้าออกร้านเสื้อผ้าเหมือนร้านอาหารขนาดนั้น
แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของร้านตัดเย็บเสื้อผ้ามากมายต้องตามมาด้วยการจ้างแรงงาน ทั้งคนงานตัดเย็บและคนงานทำความสะอาด ด้วยวัสดุที่นำมาใช้ทำเสื้อผ้านั้นเปราะบางและติดไฟง่าย ร้านตัดเย็บส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหาด้านความปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งสำคัญของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าคือ การเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงาน Triangle Shirtwaist ในนิวยอร์กวันที่ 25 กันยายน ปีค.ศ.1911 ที่ได้คร่าชีวิตคนงานตัดเย็บไปกว่า 146 คนและส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่หนีออกมาไม่ทัน อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ร้ายแรงเช่นกันคือ กรณีเพลิงไหม้ปี 2013 ในโรงงานเสื้อผ้าบังคลาเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 114 คน บาดเจ็บอีก 800 รายเลยทีเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐนิวเจอร์ซีย์ประกาศแบนเครื่องสำอางที่ผ่านการทดสอบในสัตว์แล้ว!
SHEIN โตเร็วสวนกระแส จนโดนจับตามองดำเนินธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
CHANEL ร่วมมือ Pochet du Courval ออกแบบขวดนํ้าหอม N°5 โดยใช้วัสดุรีไซเคิล
ในปี 1960-1970 เด็กวัยรุ่นเริ่มออกแบบสไตล์การแต่งตัวของตนเองมากขึ้นและเสื้อผ้ายุคนั้นกลายเป็นลักษณะที่บ่งบอกตัวตนของผู้สวมใส่ แต่ก็ยังมีความแตกต่างระหว่างแฟชั่นชั้นสูงกับแฟชั่นไฮสตรีทอยู่
ในปี 1990-2000 เสื้อผ้าแฟชั่นราคาเริ่มถูกลง เทคโนโลยีการชอปปิงออนไลน์เริ่มเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่ตอนนั้นการชอปปิงเสื้อผ้ายังไม่เยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นของที่ต้องโทรสั่งมากกว่า แต่ด้วยพลังของอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้คนรู้จักสิ่งของที่หลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ๆจากต่างประเทศ
ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นอย่าง H&M, ZARA และแบรนด์ดังๆหลายแห่งเริ่มเข้าสู่วงการแฟชั่นไฮสตรีทมากขึ้น แบรนด์เหล่านี้เริ่มมองหาองค์ประกอบการดีไซน์จากแฟชั่นบ้านๆและนำรูปแบบมาผลิตอย่างรวดเร็วและราคาถูกลง นอกจากนี้ยังโปรโมทอีกว่าทุกคนไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าจะชนชั้นไหนมีรายได้เท่าไหร่ก็มีสิทธิเข้าถึงเสื้อผ้าที่พวกเขาออกแบบได้ง่ายขึ้น
ต้นกำเนิดวลี Fast Fashion
คำว่า Fast Fashion ใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ อันนี้ยังไม่ชัดเจนเหมือนกัน แต่เท่าที่สืบค้นและข้อมูลจากเว็บไซต์แฟชั่นส่วนใหญ่กล่าวไปในแนวทางกันว่า มันเริ่มมาจากผู้ก่อตั้งแบรนด์ ZARA นักธุรกิจออกแบบเสื้อผ้าชาวสเปน Amancio Ortega ที่เขาได้เปิดร้านของเขาขึ้นทางตอนเหนือของสเปนเป็นที่แรกในปี 1975
เขาเดินทางไปยังนิวยอร์กในปี 1990 เพื่อโปรโมทร้านค้าของเขากับนิตยสารชื่อดัง อย่าง New York Times ซึ่งทางนิตยสารได้นิยามภารกิจของร้านด้วยคำว่า “Fast Fashion” คำนี้ผุดขึ้นมาครั้งแรกต่อสาธารณะเพราะภารกิจของร้าน Zara ตอนนั้นคือ เขาจะทำการผลิตเสื้อผ้าเซ็ตหนึ่ง ทั้งขั้นตอนการออกแบบและการผลิตจำหน่ายสู่ชั้นวางขายให้ได้ภายใน 15 วันเท่านั้น
การโปรโมทนี้เมื่อแพร่กระจายออกไปทำให้เกิดเสียงฮือฮาในวงการแฟชั่นและประชาชนชาวอเมริกันอย่างมาก บวกกับในตอนนั้นคนอเมริกันกำลังมองหาเสื้อผ้าอินเทรนด์และราคาจับต้องได้บนห้าง และกระแสวัยรุ่นอย่าง Wet Seal, Express และAmerica Eagle ที่เริ่มแพร่กระจายเป็นวงกว้างทำใหเกิดความต้องการในตลาดเสื้อผ้ามากขึ้น การประกาศของร้านZara แบบนี้จึงถูกมองว่าเป็นผู้บุกเบิกอาณาจักร Fast Fashion ของอเมริกานั่นเอง
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาวงการเสื้อผ้าและแฟชั่นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โลกออนไลน์เข้ามาอยู่ในมือของผู้ผลิตและผู้บริโภคมากขึ้น การชอปปิงกลายเป็นพฤติกรรมเสพติดของคนบางกลุ่ม รวมไปถึงกระแส Soft-power ก็ได้คืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้การตลาดเกิด Over Demand หรือการบริโภคที่มากเกินความจำเป็นในราคาที่ถูกลง และเข้าถึงได้ง่าย
ของมันต้องมี มลพิษจาก Fast Fashion ก็เช่นกัน
การผลิตเสื้อผ้าในแต่ละปีนั้น เราทำอะไรลงไปบ้าง? เบื้องหลังของมันคือการผลิตในปริมาณที่มากเกินไป การผลิตเสื้อผ้าใยฝ้ายหนึ่งตัวใช้น้ำ 700 แกลลอนและใช้เวลากว่า 80 ปีที่การเดินทางของมันจะสิ้นสุดลง หรือจุดหมายปลายทางสุดท้าย
มลพิษทางน้ำ
การบริโภคน้ำ
ไมโครไฟเบอร์ในมหาสมุทร
การสะสมของขยะ
การใช้สารเคมี
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ภาวะแห้งแล้งในบางพื้นที่ของประเทศยากจน
การตัดไม้ทำลายป่า
แก้ปัญหายังไงดี ฉันยังชอบใส่เสื้อผ้าสวยๆอ่ะ
ที่มาข้อมูล
https://fashionista.com/2016/06/what-is-fast-fashion
https://goodonyou.eco/what-is-fast-fashion/
https://www.sustainyourstyle.org/old-environmental-impacts#anchor-link-wastes