svasdssvasds

NDTP แพลตฟอร์มการค้าข้ามแดนโดยคนไทย ที่ SMEs ก็จะได้ใช้ประโยชน์

NDTP แพลตฟอร์มการค้าข้ามแดนโดยคนไทย ที่ SMEs ก็จะได้ใช้ประโยชน์

ที่ผ่านมา เราใช้แพลตฟอร์มต่างชาติกันมาตลอด ล่าสุดมีการเปิดตัว NDTP: Nationa Digital Trade Platform แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ ที่พัฒนาโดยคนไทย องค์กรไทย เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกสินค้ารวดเร็วขึ้น ซึ่งดีต่อภาครัฐและเอกชนในไทย ก่อนขยายสู่กลุ่มประเทศ APEC

เกริ่นก่อนว่า NDTP (Nationa Digital Trade Platform) แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยมีจุดประสงค์หลักของการจัดตั้งและพัฒนา NDTP 3 แกนหลัก ได้แก่

Source : Pexels

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในประเทศไทย ทำให้การติดต่อประสานงานทางธุรกิจเพื่อการส่งออกและนำเข้า ง่าย สะดวก รวดเร็ว 
  2. ช่วยป้องกันการทำธุรกรรมในเชิงมิชอบหรือการทำธุรกรรมซ้ำซ้อน
  3. ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการทำการค้ากับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs ในประเทศ

ในขณะที่โลกการทำธุรกิจไม่หยุดนิ่ง จากที่เป็นแบบ C2C (Customer to Customer) การติดต่อค้าขายระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เปลี่ยนมาเป็น B2B (Business to Business) การติดต่อค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ ต่อยอดสู่การค้าขายข้ามแดน การติดต่อระหว่าง G2G (Government to Government) การติดต่อค้าขายระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล และขยับขยายมาเป็น B2G (Business to Government) หรือ การติดต่อค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับภาครัฐ ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ก็จะต้องกรอกข้อมูลทางธุรกิจเพื่อขออนุญาต ซึ่งต้องทำหลายขั้นตอน และทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อแยกส่งข้อมูลตามกฎของแต่ละประเทศ

สร้าง NDTP มาพัฒนาการค้าดิจิทัล

การประกอบธุรกิจก็มีเกณฑ์พิจารณาในระดับโลกว่า ยากหรือง่าย และขั้นตอนที่ซับซ้อน กับการเก็บข้อมูลในกระดาษอย่างที่ผ่านมา ส่งผลให้ไทยได้รับการพิจารณาในหัวข้อ ความง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ให้อยู่ในอันดับที่ 21 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาด้านการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ ลดขั้นตอนเพื่อให้การประกอบธุรกิจให้สะดวกขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในด้าน การค้าข้ามแดน (Cross border trade) คะแนนของประเทศไทยกลับตกลงทุกปี 


Source: tradingeconomics.com

.............................................................................................

อ่านข่าวก่อนหน้า

.............................................................................................


Source: tradingeconomics.com

เนื่องจากมีกระบวนการหรือขั้นตอนมาก (มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน) ทั้งๆ ที่ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ มีการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกิจอย่างหลากหลาย และมีสัดส่วนจีดีพีด้านการนำเข้า-ส่งออกไม่น้อย

ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามา คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จึงแสดงความเห็นว่า ประเทศไทยควรทรานสฟอร์มระบบการค้าที่มีกระบวนการทางกายภาพ (physical process) ซ้ำซ้อน ล่าช้า เป็น การค้าดิจิทัล (Digital Trade) กล่าวคือ ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บข้อมูล พัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อให้การค้าขายระหว่างประเทศง่ายและสะดวก โดยพัฒนาแพลตฟอร์มบน เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องได้ทุกเมื่อ

NDTP ในประเทศไทย: NDTP เป็น Project ที่ขับเคลื่อนโดย กกร. ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาหอการค้า สภาอุตสากรรม และสมาคมธนาคารไทย เริ่มต้นทำงานกันมาตั้งแต่ปี 2019 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการในส่วนของ B2B และไปเชื่อมต่อกับกระบวนการในส่วนของ B2G และ G2G ซึ่งดำเนินการภายใต้ NSW

และเนื่องจากไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเอเปค 2022 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้หน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนในไทยร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ให้เป็นแพลตฟอร์มกลางด้านการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ ใน 21 เขตเศรษฐกิจของกลุ่ม เอเปค (APEC) โดย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะเป็นผู้ทดสอบระบบในเดือนสิงหาคมนี้ และให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้งาน ชี้จุดที่ควรพัฒนาหรือปรับแก้ให้การใช้งานเป็นไปอย่างเหมาะสมและราบรื่น ก่อนที่จะนำเสนอผลงานบนเวที เอเปค ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤศจิกายนนี้

เฟส 1 ของการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP จากทั้งหมด 5 เฟส

NDTP กับอิมแพ็กที่มีต่อ APEC

แพลตฟอร์ม NDTP ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาใน เฟส 1 โดยเป้าหมายปลายทางจะรองรับการใช้งานทั้ง ผู้นำเข้าสินค้า ผู้ส่งออกสินค้า (Importer - Exporter) การออกใบสั่งซื้อ (PO) ใบกำกับภาษี (Invoice) ใบเสร็จรับเงินด้านการขนส่งและโอนสิทธิ์ (Bill of Lading) ฯลฯ

แต่เนื่องจากไทยยังขาดความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการค้าระหว่างประเทศ จึงได้รับการสนับสนุนจาก TradeWaltz ความร่วมมือแบบกลุ่มที่เรียกว่า Consortium ในญี่ปุ่น และ NTD (Network Trade Platform) ในสิงคโปร์ เข้ามาช่วยพัฒนา ให้คำแนะนำเพิ่มเติม และเป็นพันธมิตรด้านการใช้งานแพลตฟอร์มกับไทยก่อนประเทศอื่นๆ

ข้อดีอีกด้านของการมีแพลตฟอร์ม NDTP เพื่อดำเนินการด้านการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศคือ เมื่อเชื่อมผู้ประกอบธุรกิจนำเข้ากับแพลตฟอร์มกลาง ข้อมูลธุรกิจก็จะเข้าไปอยู่ในระบบบล็อกเชน หากจะดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมจึงไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ หรือกรอกเอกสารแบบเดิมๆ อีก แต่ใช้ข้อมูลเดิมได้ทันที นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องย้อนหลังได้

Source : apec.org

และหลังจากพัฒนาแพลตฟอร์มที่เอื้อต่อการนำเข้า-ส่งออก ในกลุ่มประเทศเอเปคสำเร็จแล้ว มีสัญญาณบ่งชี้ว่า จะพัฒนาแพลตฟอร์มสู่การใช้งานในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลุ่มใหญ่ของประเทศ โดยทาง SMEs จะสามารถเก็บข้อมูล รับออร์เดอร์จากคู่ค้าต่างชาติผ่านทางแพลตฟอร์ม NDTP ได้โดยตรง

นับเป็นการเปิดประตูบานใหญ่ทางการค้ากับต่างชาติที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายย่อยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

related