svasdssvasds

Data Center สำคัญในระดับที่ "ปั้นไทยให้เป็น Hometown of Metaverse" ได้

Data Center สำคัญในระดับที่ "ปั้นไทยให้เป็น Hometown of Metaverse" ได้

สิ่งที่ผู้ประกอบการอาจคาดไม่ถึงเมื่อวางยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจไปกับโลกเสมือน Metaverse คือ ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่จะรองรับการใช้งานในโลกเสมือน โดย ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา CEO จาก STT GDC Thailand จะมาอธิบายความสำคัญของเรื่องนี้

Data Center สำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ ซึ่งคนไทยอาจยังไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ แต่หากลองนึกให้ดี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีประโยคหนึ่งที่คนพูดถึงมาก นั่นคือ Data is the new oil.

Source : Unsplash

Data is the new oil. เป็นประโยคเปรียบเทียบการให้คุณค่า Data (ข้อมูล) กับ Oil (น้ำมัน) ที่เห็นได้ชัดมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ธุรกิจใดถือ Data ไว้มาก ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบ ส่วนธุรกิจที่ถือ Oil ไว้มาก มีแนวโน้มที่ธุรกิจจะถดถอย เพราะผู้คนในหลายประเทศเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

ความข้องเกี่ยวระหว่าง Metaverse กับ Data Center

ระหว่างที่ทั่วโลกกำลังพัฒนา Web 2.0 เป็น Web 3.0 เพื่อให้ตัวเราเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนได้อย่างราบรื่น จะทำให้เกิด Community และ Ecosystem ขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิด Data มหาศาล ไม่ว่าจะเป็น Friend หลายล้านคน ความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการทำธุรกรรมหรือชำระเงิน (Payment Transaction) ที่เกิดขึ้นแทบทุกนาที 

"เมื่อมีเทคโนโลยีที่มีศักยภาพอยู่ในมือ เราก็สามารถสร้างสิ่งที่ตนเองจินตนาการ และรวมความชอบเหมือนๆ กันของผู้คนไว้ในโลก Metaverse เช่น ผู้คน (Avatar) สินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs) ดิจิทัลเพย์เมนต์ (Digital Payment) และสภาพแวดล้อม (Environment)" ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา กล่าว

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ STT GDC Thailand บริษัทร่วมทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” และ เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ “เอสทีที จีดีซี” (STT GDC) กล่าวไว้

Data Center สำคัญในระดับที่ \"ปั้นไทยให้เป็น Hometown of Metaverse\" ได้

บทความเกี่ยวกับ Metaverse ที่แนะนำให้อ่านเพิ่ม

ในฐานะที่ STT GDC เป็นผู้นำด้านการให้บริการ Data Center ระดับโลกจากสิงคโปร์ ซีอีโอ ศุภรัฒศ์อธิบายว่า ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Metaverse ไม่ได้ต้องการแค่ที่เก็บข้อมูลหรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเพียงเท่านั้น แต่ปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการให้บริการมากที่สุดคือ กำลังไฟฟ้า (Power) ซึ่ง Metaverse คือโลกที่ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ต้องไม่เกิดเหตุไฟดับใน Data Center เพราะนั่นหมายถึง หายนะทางธุรกิจ

"ลักษณะ Data Center ที่เหมาะสมควรเป็นระดับไฮเปอร์สเกลที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้ามาตรฐานสูง พร้อมกับพลังงานสำรองในกรณีฉุกเฉินจะเป็นปัจจัยหลักที่ธุรกิจต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือก Data Center ที่มีความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อรองรับโลก Metaverse ที่ไม่มีกรอบของเวลา และผู้คนตื่นตัวไปกับกิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง"

Source : Unsplash

ข้อมูลอัตลักษณ์ (Identity) กับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) คือสิ่งที่จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

Metaverse ที่อยู่บนเว็บ 3.0 จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับคนอื่นๆ ได้แบบเรียลไทม์จนแทบไม่ต้องเพิ่มเพื่อนหรือ Add Friend กันอีกต่อไป ประเด็นนี้จึงทำให้เกิดความแตกต่างจากการใช้โซเชียลมีเดียที่อยู่บนเว็บ 2.0 เพราะการเพิ่มเพื่อนใหม่ต้องมีพื้นฐานหรือความเชื่อมโยงกันก่อน เช่น เคยกดไลก์ กดแชร์ หรือคอมเมนต์ร่วมกันมาบ้าง

สิ่งนี้จะกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบสำคัญเมื่อ Metaverse ขยายวงกว้างออกไป โดยซีอีโอศุภรัฒศ์กล่าวว่า ปริมาณข้อมูลด้านตัวตนหรืออัตลักษณ์ (Identity) และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้เกิดโอกาสและความท้าทาย 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

  1. Identity Management (การบริหารและจัดการอัตลักษณ์)

เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในโลกเสมือนจริง และมีความต่างชัดเจนระหว่างการใช้เว็บ 2.0 และเว็บ 3.0 เราจะแยกแยะคนที่เรารู้จักและไม่รู้จักได้ยากขึ้น และไม่รู้เลยว่า Avatar ของคนคนนั้นที่เราพบบนท้องถนนคือคนรู้จักหรือไม่ เป็นเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ เพศ หรือ อายุเท่าไร ในโลกความเป็นจริง

  1. Privacy (ความเป็นส่วนตัว)

บนเว็บ 2.0 เวลาเราโพสต์อะไรในโซเชียลมีเดีย เพื่อน ๆ จะเห็นก็ต่อเมื่อเราโพสต์แล้ว ต่างกับ Metaverse ที่ทุกคนอยู่ในรูปแบบ Avatar และสามารถเห็นทุกการเคลื่อนไหว ท่าทาง หรือ พฤติกรรมของเราได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเป็น Data ที่ไหลเวียนอยู่อย่างมหาศาลบนแพลตฟอร์มนั้นๆ

  1. Security (ความปลอดภัย)

เราไม่รู้เลยว่าใครเป็นใครบน Metaverse ต่างจากเพื่อนในโซเชียลมีเดียที่ตรวจสอบย้อนกลับ (Track) ได้ว่าเป็นเพื่อนของเพื่อน และสำหรับ Metaverse นั้นจะดูได้ลำบากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บ 2.0 เนื่องจากไม่มีการกดยอมรับ Accept เป็นเพื่อน ทั้งนี้ ใน Metaverse แบ่งความปลอดภัยออกเป็น 2 ระดับ (Layer) ได้แก่ Data Protection และ Access & Authentication

  1. Payment (ระบบชำระเงิน)

เราจะเห็นสินค้าที่เป็น Digital Asset ในรูปแบบที่แตกต่างจากโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นช่องทางในการขายของ เพราะ Web 3.0 จะต่างออกไป ที่เห็นตัวอย่างได้ชัดคือ ในเกมมีของหายาก (Rare Item) ที่มีมูลค่าเป็นเงิน หรือสามารถนำไปซื้อขายได้ Payment Systems จะเข้าไป Integrate ได้ทันที ผู้ใช้งานจึงต้องป้องกันและช่วยกันรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เสมือนและพื้นที่จริงร่วมด้วย

Source : Unsplash

ผู้ประกอบการมีโอกาสมากขึ้นจากการพัฒนา Metaverse

กลุ่มเป้าหมายสำคัญของผู้ใช้บริการ Metaverse คือคนรุ่นใหม่ในวันนี้และวันหน้าที่เกิดมากับเทคโนโลยีและพร้อมยอมรับเทคโนโลยีต่างๆ บนโลกออนไลน์ได้รวดเร็ว นอกจากนั้นยังรวมไปถึงกลุ่มคนวัยทำงานหรือกลุ่มคนที่มีความชอบเหมือนๆ กันโดยไม่จำกัดเพศและอายุ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากกิจกรรมการรวมตัวกันใน Virtual Concert หรือคอนเทนต์บนสื่อต่างๆ

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นโอกาสมหาศาลให้แก่ทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ว่าจะทำยังไงให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตบนออนไลน์ ซื้อสินค้าและบริการของตนได้ตลอดเวลา 

อนาคต ทราฟิกข้อมูลใน Metaverse จะหนาแน่นกว่า ทราฟิกข้อมูลที่เกิดขึ้นใน e-Commerce

เนื่องจาก Metaverse ทำให้ผู้คนพร้อม Interact ตลอดเวลา ลูกค้าของผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Metaverse อาทิ แบรนด์สินค้าต่างๆ ก็จะเริ่มปรับตัวเข้าสู่โลก Metaverse มากขึ้น รวมทั้งมอง Metaverse as a business model และหันมาสร้างสรรค์ NFTs เพื่อสร้าง Brand Value ในโลกเสมือนจริง แล้วจำหน่ายออกไปเพื่อสร้างกำไรเป็นโมเดลการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์ม Metaverse ที่ลงทุนต่ำ แต่ทำกำไร 100% เช่น แบรนด์ที่ผลิตสินค้าดิจิทัลออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าแบบสินค้าทางกายภาพ (Physical) อย่าง Coca-ColaGucci 

ในมุมของผู้ให้บริการ Data Center ซีอีโอ STT GDC เผยว่า Metaverse จะส่งผลดีต่อการทำธุรกิจและส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจที่หนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน Metaverse เช่น

  • กลุ่มสถาบันการเงิน (FSI & Banking) 
  • กลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Service Provider) 
  • กลุ่มผู้ให้บริการด้านการพัฒนาฟีเจอร์และคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย (Content Provider)
  • กลุ่มผู้ให้บริการเกม (Gaming) กลุ่มฟินเทค (FINTECH & Cryptocurrency) ก็เป็นโอกาสของผู้ให้บริการ Data Center ในประเทศไทย
  • New Born Customer ของ Data Center อย่าง Metaverse Provider

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ STT GDC Thailand 

สูตร 3S ที่ภาคธุรกิจควรทำ

STT GDC ให้คำแนะนำว่า ผู้ให้บริการและเจ้าของธุรกิจควรเดินหน้าสู่โลกดิจิทัลโดยใช้สูตร 3S แทนที่การทำ Digital Transform โดยกลยุทธ์ดิจิทัล 3 อย่างที่จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ นั่นคือ

  • 1. Scalability (ศักยภาพในการขยายธุรกิจ) 
  • 2. Security (ความปลอดภัย) 
  • 3. Sustainability (นโยบายความยั่งยืน)

"วันนี้มี NFTs เยอะมาก แต่มีตลาดรองรับและดีมานด์จำกัด ดังนั้นหากธุรกิจใดเล็งรุกตลาด Metaverse อยู่ ไม่ว่าในมุมใดก็ตามก็สามารถยึดหลักดังกล่าวนี้ได้"

นอกจากนี้ Metaverse จะทำให้เกิดความร่วมมือข้ามธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Data Center กับ Energy เพราะสำหรับประเทศไทย ยังมีโอกาสทางเศรษฐกิจอีกมหาศาล จึงสามารถใช้จังหวะนี้สร้างความได้เปรียบจากศักยภาพที่มี โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ได้

ไทยจะเป็น “Hometown of Metaverse” ได้ด้วย 3 ปัจจัย

ศุภรัฒศ์แห่ง STT GDC ชี้ให้เห็นศักยภาพของประเทศไทยว่า สามารถเป็น Hometown of Metaverse ได้ ด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

  1. Macro Economy - นโยบายจากประเทศจีน 
    อาทิ การจำกัดเวลาในการเล่นเกมในเด็ก หรือ การเข้มงวดในการตรวจสอบ Tech Company และข้อจำกัดของสหรัฐอเมริกาที่เพ่งเล็งธุรกิจจากจีน ซึ่งยังมีความไม่ชัดเจนในการสนับสนุนธุรกิจที่มาจากจีน แต่หากประเทศไทยวางตำแหน่งด้านเทคโนโลยีของตัวเองได้อย่างเหมาะสม จะเปลี่ยนภูมิทัศน์ (Landscape) ของประเทศไทยไปเป็นคลัสเตอร์ของ Data Center ซึ่งจะช่วยดึงดูดผู้ให้บริการในโลก Metaverse มีจำนวนเพิ่มขึ้น
  2. ศักยภาพตลาด e-Commerce
    คนไทยเป็นผู้บริโภคชั้นดีของอุตสาหกรรม e-Commerce ดังที่มีข้อมูลว่า คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาในเฟซบุ๊กเป็นอันดับหนึ่งของโลก สะท้อนให้เห็นความเป็น Technology Early Adopter แทบทุกอย่าง ตลอดจนมูลค่าที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม e-Commerce ที่เติบโตแบบติดสปีด สะท้อนว่าคนไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์ได้อย่างน่าสนใจ
  3. ประเทศไทยเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เสมอ และมีศักยภาพเพียงพอ
    ด้วยภูมิประเทศที่เป็นจุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจอาเซียน นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ Thailand 4.0 และการเปิดรับเทคโนโลยีต่างๆ ของภาคเอกชน ล้วนส่งเสริมศักยภาพและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ให้บริการจะมองประเทศไทยเป็น Hometown of Metaverse ได้
related