การจดสิทธิบัตร (patents) บ่งบอกได้หลายอย่าง ทั้งการให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา, ศักยภาพของทุนมนุษย์, ความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ฯลฯ น่าสังเกตว่า ประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรมากเป็นเบอร์ต้นๆ นอกจากสหรัฐอเมริกา ก็โน้มเอียงมาทางเอเชียมากขึ้น
เรื่องใหญ่อยู่เหมือนกันหากพิจารณาว่า ประเทศใดมีการจดสิทธิบัตร (patents) มาก เพราะสามารถบ่งชี้ว่า รัฐบาลประเทศนั้นๆ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D) เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพึ่งพาตนเองมากแค่ไหน
ประเด็นนี้สำคัญอย่างมาก เพราะยิ่งมีงานวิจัยที่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์มากเท่าไหร่ ก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศได้มากเท่านั้น ทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ประเทศนั้นๆ มีโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ การแพทย์ การทหาร ฯลฯ ได้ด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนก้าวขึ้นเป็นผู้นำของภูมิภาคหรือของโลกได้
บริษัทที่จดสิทธิบัตรมากที่สุดในปี 2021 รู้ไหมใครคือ Winner?
จากการจัดอันดับบริษัทในประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดย USPTO (United States Patent and Trademark Office) พบว่าบริษัทที่มีจำนวนสิทธิบัตรมากเป็น 10 อันดับแรก (จากทั้งหมด 25 บริษัท) ในปี 2021 มีดังนี้
Winner ก็คือ International Business Machines Corporation หรือ IBM บริษัทเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่องมาถึงปีที่ 29
................................................................................................
อ่านเพิ่มเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากควอนตัมคอมพิวติง
................................................................................................
สรุปสาระสำคัญจากลิสต์บริษัทข้างต้น
1) จะเห็นว่าบริษัทที่มีการจดสิทธิบัตรมากที่สุดในปี 2021 ทั้ง 10 อันดับ อยู่ใน 5 ประเทศ/เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น มีเพียงสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวที่อยู่ฝั่งตะวันตก
2) IBM บริษัทเทคในสหรัฐอเมริกา ขึ้นแท่นเป็นอันดับ 1 โดดเด่นด้วยสิทธิบัตรด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติง
3) Samsung เกาหลีใต้ ตามเบอร์ 1 มาติดๆ ห่างกันแค่ 13 สิทธิบัตร โดยเกาหลีใต้เน้นสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีเสมือนจริง VR/AR, ด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (AI/ML), เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีไร้คนขับ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและทำได้แบบก้าวกระโดดจนสามารถแซงจีนจนเกือบเทียบเท่าอเมริกา
หนึ่งในนวัตกรรมที่โดดเด่นของ IBM ในปี 2021 คือ โปรเซสเซอร์ควอนตัม ที่ชื่อว่า Eagle ซึ่งก้าวข้ามการประมวลผลระดับ 27 qubit, 65 qubit ไปอยู่ที่ 127 qubit (ประมวลผลได้เร็วมากๆ) ด้วยศักยภาพระดับนี้ Eagle จึงสามารถแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ ไม่สามารถทำได้ และยังนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน การเงิน และอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย
IBM สยายปีกเทคโนโลยี เตรียมสู้กับเรื่องท้าทายที่เกิดขึ้นบนโลก
ถ้าดูเทคโนโลยีที่บริษัทโฟกัสอยู่ IBM มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาความท้าทายที่สำคัญในระดับโลก นั่นคือ
แต่การจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีใดเพียงเทคโนโลยีเดียว IBM จึงตั้งเป้าผสานการพัฒนาเทคโนโลยีทั้ง การประมวลผลประสิทธิภาพสูง, ปัญญาประดิษฐ์ และควอนตัมคอมพิวติง โดยสิทธิบัตรที่ได้รับการรับรองทั้งหมด ถือเป็น ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) อันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างสรรค์ของมนุษย์
เรื่องหลังบ้านที่คุณ(อาจ)ใช้งาน แต่ไม่เคยรู้
หากไม่ได้สนใจด้านเทคโนโลยีอาจไม่ทันสังเกตว่า โครงการระดับประเทศที่เกิดขึ้นในช่วง COVID-19 ระบาดนั้น อาศัยการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีด้านใด อาทิ
ดังที่ ปฐมา จันทรักษ์ อดีตรองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ IBM ประเทศไทย กล่าวผ่าน กรุงเทพธุรกิจ ในปีที่ผ่านมา
“การเปิดให้นักวิจัยใช้พลังประมวลผลของหนึ่งใน Supercomputer ที่ทรงพลังและฉลาดที่สุดในโลกอย่าง Summit จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอคริดจ์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ที่ใช้ระบบประมวลผลของ IBM Power 9 จำลองการทำงานของสารประกอบกว่า 8,000 ชนิดที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถยึดเกาะกับหนามโปรตีนของโคโรน่าไวรัสเพื่อยับยั้งการโจมตีเซลล์ได้นั้น การประมวลผลดังกล่าวใช้เวลาเพียง 2 วัน แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายปีหากใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป”
................................................................................................
ที่มา
................................................................................................