มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (TAU) ทางตอนกลางของอิสราเอล เผยการค้นพบว่าการสัมผัสแสงแดดสามารถกระตุ้นความอยากอาหารในกลุ่มผู้ชาย ทว่ากระบวนการนี้จะไม่เกิดขึ้นในผู้หญิง
ผลการศึกษาซึ่งนำโดยมหาวิทยาลัยฯ และเผยแพร่ผ่านวารสารเนเจอร์ เมตาบอลิซึม (Nature Metabolism) ระบุว่าคณะนักวิจัยพบว่าการสัมผัสแสงแดดในกลุ่มผู้ชายจะกระตุ้นโปรตีนพี53 (p53) ซึ่งส่งสัญญาณให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเกรลิน (ghrelin) และกระตุ้นความอยากอาหาร
อย่างไรก็ดี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายผู้หญิงจะขัดขวางปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนและฮอร์โมนดังกล่าว ทำให้ไม่เกิดการกระตุ้นความอยากอาหารหลังจากสัมผัสแสงแดด
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ผลการศึกษาเผยว่า การออกกำลังกาย ไม่ช่วยชดเชยการกินอาหารที่แย่
เตือนภัย คนไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า สาวแชร์ประสบการณ์ป่วยอัมพฤกษ์ หามส่งรพ.
ทีมวิจัยรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจระยะ 1 ปีเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของชาวอิสราเอลราว 3,000 คน ระหว่างช่วงฤดูร้อน ควบคู่กับการศึกษาพันธุกรรมในแบบจำลองห้องปฏิบัติการ และอธิบายว่าร่างกายมนุษย์จะปล่อยโปรตีนพี53 หลังจากสัมผัสแสงแดดเพื่อซ่อมแซมความเสียหายของดีเอ็นเอบนผิวหนัง
คาร์มิต เลวี นักวิจัยมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าผลลัพธ์นี้เป็นรากฐานกระตุ้นให้เกิดการวิจัยเพิ่มเติม ทั้งในด้านกระบวนการเผาผลาญของมนุษย์ และวิธีบำบัดรักษาโรคเมตาบอลิกและพฤติกรรมอยากอาหารที่ผิดปกติด้วยรังสียูวี
Cr. www.xinhuathai.com