Green Vacation การท่องเที่ยวที่ทำให้นักเดินทางรับผิดชอบการตัดสินใจทุกๆ วงจรของการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งสิ่งแวดล้อม ชุมชนและผู้เดินทางจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่แบบใส่ใจโลกของเรา ด้วยขั้นตอน 4 ข้อก่อนจัดกระเป๋าไปท่องโลก
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในมุมของสิ่งแวดล้อมก็ทำให้แผ่นดินและธรรมชาติได้พักผ่อน และฟื้นตัวหลังจากการท่องเที่ยวบูมมากมีผู้คนกว่า 1.5 พันล้านคนทั่วโลกออกเดินทาง ในช่วงปีก่อนหน้านั้น หลายๆ สถานที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจนเหนื่อยล้า โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวแม่เหล็กของแต่ละประเทศ
เมื่ออยู่กับวิกฤตมากว่าสองปี ชีวิตต้องไปต่อ การเป็นนักเดินทางที่มีความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งในด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณของแต่ละสถานที่ยังคงอยู่ ก่อนจัดกระเป๋าอยากให้เพิ่มเช็กลิสต์ต่างๆ ที่คำนึงถึงการลดพิษและส่งเสริมการท่องเที่ยว
เมื่อตุลาคมปีที่ผ่านมา google ได้เพิ่มฟังค์ชั่นการประมาณการปล่อยคาร์บอนในการค้นหาเที่ยวบินให้ได้พิจารณา ทั้งยังเพิ่มคำแนะนำสำหรับเส้นทางทางเลือกที่มีการปล่อยมลพิษน้อยกว่า
ในเดือนเมษายน เว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการเดินทาง Skyscanner ได้เพิ่มฟังค์ชั่น Greener Choice ขยายไปสู่การเลือกเช่ารถในระบบไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดฉากทัศน์ "ลดโลกร้อนได้มากที่สุดแค่ไหน" ถ้าทำตามแผน COP26 ก่อนปี 2030?
"วราวุธ" ชวนปลูกป่าคืนพื้นที่สีเขียว ดันการค้า "คาร์บอนเครดิต" สร้างรายได้
สาหร่ายทุ่น เต็มชายฝั่งเม็กซิโก ผลพวงจากฝีมือมนุษย์ และปัญหาสิ่งแวดล้อม
ในเดือนพฤศจิกายน เว็บไซต์จองที่พัก Booking.com ได้เปิดตัวสัญลักษณ์ Travel Sustainable ตัวกรองที่รับรองที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบริษัท Wilderness Scotland ได้เริ่มแนะนำโปรแกรมการท่องเที่ยวที่มีการระบุตัวเลขการปล่อยมลพิษข้างทัวร์ผจญภัยในแต่ละครั้ง ซึ่งคล้ายๆ กับแคลอรี่ในเมนูอาหาร
เคล็ดลับเพียง 4 ข้อ นี้ จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและเป็นมิตรกับการเดินทางค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ของคุณอย่างยั่งยืน จากคำแนะนำของ Washington Post ดังนี้
เลือกสถานที่พักผ่อนจากดัชนี Environmental Performance Index ซึ่งเป็นโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยเยลและมหาวิทยาลัยโคลัมเบียซึ่งจัดอันดับ 180 ประเทศในด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปีนี้ เดนมาร์กครองตำแหน่งสูงสุด ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร ฟินแลนด์ มอลตา และสวีเดน นักวิจัยระบุว่า หลายประเทศกำลังเดินหน้าสู่แนวทางที่จะบรรลุข้อตกลงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2050
ซึ่งตรงกันข้ามกับจีนและอินเดียวที่เดินสวนทางกับทิศทางสู่ความยั่งยืน Anna Spenceley ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้แนะนำตัวเลือกสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติมจากรายการสนับสนุนข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก เช่น ปฏิญญากลาสโกว์ว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพอากาศในการท่องเที่ยวที่มีสมาชิกเข้าร่วมลงนามกว่า 540 แห่ง หรือประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศของการท่องเที่ยว ซึ่งมีสมาชิก 438 แห่ง
ทั้งนี้ยังมีเว็บไซต์ Green Destinations ที่ทุกปีจะเผยแพร่รายชื่อ 100 จุดหมายการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนออกมาให้เช็กกันก่อนเดินทาง
ข้อคิดที่ฝากไว้คือการพักผ่อนเป็นสภาวะของจิตใจ โควิด-19 ได้มอบบทเรียนให้เรามองเห็นรายละเอียดรอบๆ ตัว มากขึ้น ทำความรู้จักสถานที่ใกล้บ้านที่เรายังไม่ได้ไปสัมผัสทั้งยังสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศและลดรอยเท้านิเวศน์ ที่เป็นผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศน์
คำแนะนำไม่ได้ต้องการให้คุณหลบเข้าป่าตัดความสะดวกสบายทิ้ง เพราะยังมีที่พักที่รวมเอาความหรูหราและยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน คุณสามารถเช็กได้ในเว็บไซต์เหล่านี้ ซึ่งรวบรวมและเชี่ยวชาญในด้านที่พักเชิงนิเวศทั่วโลก
https://ecohotelsandresorts.com/
https://www.greenpearls.com/
https://www.kindtraveler.com/
https://wayaj.com/
แต่ตัวเลือกอันดับแรกที่ควรมองหาคือที่พักขนาดเล็กที่เจ้าของดำเนินธุรกิจด้วยตัวเอง ซึ่งมักจะมีการปล่อยของเสียน้อยลงกว่าโรงแรมดัง ทั้งยังเป็นการได้สร้างสัมพันธ์อันดีกับคนในท้องถิ่นและใกล้ชิดกับชุมชน
โดยหลายๆ เครือโรงแรมที่มีสาขากระจายทั่วโลกก็ได้มีการปรับตัวและใส่ใจกับการจัดโปรแกรมการพักผ่อนที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น
ที่นอกจากคำนึงถึงเรื่องรีไซเคิลและลดขยะอาหารอีกด้วย ซึ่งจะเป็นทิศทางใหม่สำหรับผู้ที่สนในเริ่มต้นธุรกิจโรงแรมที่ต้องใส่ใจเรื่องความยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์
ตามรายงานของ EPA สถาบันศึกษาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รายงานว่าการบินมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 และอาจเลวร้ายลงอีก “ภายในปี 2050 “ภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องบินพาณิชย์จะเพิ่มขึ้นสามเท่าจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศและการขนส่งของผู้โดยสารที่คาดการณ์ไว้”
แต่ก็มีแนวโน้มว่าเครื่องบินเหล่านี้กำลังหันหน้าเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางสีเขียวกันมากขึ้น ด้วยการประกาศเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สมาชิกของสมาคมการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสายการบินเกือบ 300 รายใน 120 ประเทศ ให้การสนับสนุนโครงการ Net Zero Carbon Emission Challenge ภายในปี 2050
โดยนอกจากนี้ สายการบินเดลต้ายังกล่าวชัดเจนสู่การเป็นสายการบินปลอดคาร์บอนรายแรกของโลกเมื่อต้นปี 2563 ด้วยการระดมทุน 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อไปสู่เป้าหมายในเวลา 10 ปี
ผู้โดยการที่ใช้บริการสามารถกำหนดทิศทางได้ในส่วนของตัวเองคือการตัดสินอย่างรอบคอบก่อนกดจองเที่ยวบิน คำนึงถึงการกินน้ำมันในระหว่างการบินขึ้นและลงจอดการจองเที่ยวบินแบบไม่แวะพักอาจะเป็นทางเลือก ทั้งในส่วนของการเลือกใช้บริการสนามบินที่ยั่งยืน สายการบินที่ลดการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง เช่น Air France และ Alaska Airlines หรือลดการเดินทางหลายๆ ที่ผ่านการบิน และใช้เวลากับแต่ละสถานที่ท่องเที่ยวให้นานขึ้น
ซึ่งรถไฟอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบและนิยมการใช้ชีวิต slow life ตามรายงานของ Amtrak Connects Us เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564: "การเดินทางด้วยรถไฟ Amtrak ปล่อย [ก๊าซเรือนกระจก] น้อยกว่าการขับรถคนเดียวถึง 55% และน้อยกว่าการบินถึง 30%"
โดยในสหรัฐอเมริการก็ได้เพิ่มเส้นทางรถไฟเพื่อการเดินทางข้ามรัฐมากขึ้นเกือบ 40 เส้นทาง ทั้งเส้นทางระยะยาวข้ามพรมแดนที่นำกลับมาให้ให้บริการอีกครั้งระหว่างนครนิวยอร์กและโตรอนโต รถไฟจากซีแอตเทิลไปแวนคูเวอร์มีกำหนดจะกลับมาในเดือนกันยายน
สำหรับการเดินทางและโปรแกรมเรือสำราญก็เช่นกัน ตามรายงานเทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมปี 2564 ของ Cruise Lines International Association กำหนดเป้าหมายและความสำเร็จหนึ่งในนั้นคือ การขยายจำนวนเรือที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซธรรมชาติเหลว เชื้อเพลิงทางเลือกที่สะอาดกว่า ทั้งบางส่วนมีการปรับรูปแบบการบริการ เช่น เลิกการกินบุฟเฟต์ เพื่อลดขยะจากอาหาร และห้ามให้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง เช่น ซองเครื่องปรุงและถ้วยพกพา
การเลือกประเภทของทัวร์ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเฉพาะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงชุมชน คนท้องถิ่น ที่ควรจะมีส่วนร่วมกับการดำเนินการและกำหนดทิศทางรูปแบบโปรแกรม เช่น Free Tours by Foot การให้คนท้องถิ่นพาเดินทัวร์ตามสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองต่างๆ ทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางหรือการสอนทำอาหารโดยครอบครัวชาวโรมัน
โดยแนวคิดการเลือกซื้อและรับประทานอาหารท้องถิ่นตามฤดูกาลได้ส่งผลให้ร้านอาหารปรับเมนูให้สอดคล้องกับฤดูเก็บเกี่ยว ออกผล
ทั้งนี้ในปี 2020 มิชลินไกด์ได้เปิดตัวมิชลินกรีนสตาร์ สำหรับร้านอาหารประมาณ 375 แห่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เพื่อรับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนธุรกิจการทำอาหารที่ยั่งยืนให้ขยายตัวมากขึ้น
ที่มา