จากที่มีการขุดเจอ "ตุ๊กตาหินโบราณ" ระหว่างการซ่อมถนนบริเวณวัดพระแก้ว ร่วม 100 ชิ้น ซึ่งสำนักพระราชวังได้เผยข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นพบว่า เป็นประติมากรรมหินหลักที่ปรากฏในภาพถ่ายรัชกาลที่ 4 ซึ่งตอนนี้ได้อนุรักษ์ซ่อมแซมและนำมาไว้บริเวณตำแหน่งเดิม
เว็บไซต์สำนักพระราชวัง เผยแพร่ข้อมูล ในหมวดข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม เรื่อง “ขุดพบประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง” มีเนื้อหาใจความว่า
เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ในการปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตู มณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างได้ขุดพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก จึงได้ทำการเปิดการขุดค้นทางโบราณคดี
จากหลักฐานพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติ และสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัว ระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
แวนโก๊ะซ่อน "รูป" ความลับหลังภาพชาวนา คือ Self-portrait ที่ไม่ลับอีกต่อไป
ค้นพบเหรีญเงินกษัตริย์ไวกิ้งที่หายสาบสูญไปเมื่อ 1,000 ปีที่แล้วในฮังการี
จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นพบว่า ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับตกแต่งอยู่โดยรอบพระอารามและมีการโยกย้ายในรัชสมัยต่อๆกันมา ซึ่งมีหลักฐานจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมประติมากรรมหินสลัก และนำมาประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดารามบริเวณตำแหน่งเดิมหรือใกล้เคียงตามหลักฐานที่ปรากฏ