การเดินทางโดยเฉพาะ ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ เตรียมแผนรับมือกับ สังคมผู้สูงอายุ ไว้อย่างไรกันบ้าง เมื่อเทียบกับต่างประเทศพบว่า จัดขาดการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้อำนวยความสะดวกและความปลอดภัย แก่ประชากรสูงวัยและผู้พิการ
ประเทศไทย เข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป อย่างเต็มตัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2564ซึ่งมี สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 20-30 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งเป็นความท้าทายที่สังคมโดยรวมต้องเผชิญร่วมกัน ทั้งในส่วนของการเตรียมพร้อมด้านนวัตกรรม เพื่อสอดรับการวิถีชีวิตที่เอื้อต่อ ผู้สูงอายุ และระบบที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของ ผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่อง อาชีพ การเข้าถึงเทคโนโลยี ชีวิตประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับการกินอยู่-การเดินทาง ซึ่งมีหลายคนที่ต้องพึ่งพาระบบขนส่งมวลชน ในการเดินทางเพื่อการทำงานหรือกิจธุระส่วนตัว หันมามองรถเมล์ไทยที่เพิ่งเริ่มต้นเปลี่ยนมือจากการดูแลของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มาอยู่ภายใต้การจัดการของกระทรวงการคมนาคม
จากบทความเรื่อง รูปแบบการเดินทางและขนส่งสาธารณะกับสังคมผู้สูงอายุ ของวิทยากรชำนาญพิเศษ อาริยา สุขโต ได้เปรียบเทียบข้อมูลรูปแบบ การขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะรถเมล์ ซึ่งถือเป็นขนส่งสาธารณะหลักของกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศถึง 5,527,994 คน (ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 19 ม.ค. 65) ซึ่งเป็นประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี รวมแล้ว 1,175,552 คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Turtle Gym ฟิตเนสสำหรับผู้สูงวัย ออกแรงไม่ได้ดั่งใจ...ไม่ใช่ปัญหา
รวม 5 อินฟลูเอนเซอร์ สูงวัย หลายสไตล์ ทั้งสายแฟชั่น สายคุกกิ้ง และสายเกมเมอร์
Dear My Friends ซีรีส์เกาหลี สะท้อนสังคม Aging Society ได้ซาบซึ้ง อบอุ่นใจ
ทั้งนี้ผู้สูงอายุในวัยดังกล่าว ส่วนใหญ่เกษียณจากงานประจำ ทำให้เป็นวัยที่มีเวลา การดูแลสุขภาพของแต่ละคนที่แตกต่างกัน อาจทำให้เป็นอุปสรรคในใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเดินทาง บางคนมีรถยนต์ส่วนตัวแต่ก็มีผู้สูงอายุหลายคนที่ต้องพึ่งพาขนส่งสาธารณะ เนื่องด้วยลักษณะครอบครัวเดี่ยวในยุคปัจจุบันทำให้ไม่มีลูกหลานดูแลใกล้ชิด แต่การที่สามารถดูแลการเดินทางจัดการด้วยตัวเอง นอกจากความสะดวกยังสร้างคุณค่าที่ดีทางใจ ไม่รู้สึกเป็นภาระให้ลูกหลาน อยากไปเยี่ยมเยียนเพื่อนฝูง หรือ ไปโรงพยาบาลตามหมอนัด ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมไทยควรเตรียมความพร้อมสำหรับประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะในเมืองหลวง ถึงแม้จะมีตัวเลือกมากที่สุดในประเทศแต่ก็ยังมีข้อจำกัดและข้อควรระวังสำหรับผู้สูงอายุในการใช้งาน
ข้อควรระวังแต่ละรูปแบบการเดินทางของผู้สูงอายุ
หลีกเลี่ยงการนั่งหลับบนรถประจำทาง เพราะเมื่อรถหยุดหรือลดความเร็วอย่างรวดเร็วหรือหักเลี้ยวกะทันหัน อาจก่อให้เกิดอันตรายขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นถ้ากังวลเรื่องการทรงตัวในการก้าวขึ้น-ลงรถโดยสาร
เป็นความอิสระและแสดงถึงการพึ่งพาตัวเองได้ แต่ผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมสภาพของร่างกาย ความว่องไวในการตอบสนองต่อเหตุการณ์คับขันที่ช้าลง โดยในไทยยังไม่มีการกำหนดอายุของผู้ขับขี่ แต่ในต่างประเทศมีการกำหนดให้ผู้ที่มีอายุ70 ปีขึ้นไปจะต้องมาทดสอบร่างกายเพิ่มเติมทุก ๆ 3 ปี
โรคที่ส่งผลกระทบต่อการขับรถยนต์มีอะไรบ้าง
โรคที่ส่งผลกระทบต่อการขับรถยนต์ เช่น
นโยบายที่เอื้อต่อการเดินทางด้วย ขนส่งสาธารณะ ของไทย สำหรับผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
สิทธิการลดหย่อนที่เอื้อต่อการเดินทางของผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยผู้สูงอายุต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนกับเจ้าหน้าที่ก่อนใช้บริการ มีดังนี้
โครงการนำร่องในการบริการขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทย
กรณีศึกษาจากต่างประเทศที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดขึ้นใน สังคมผู้สูงอายุ ของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น
ประเทศญี่ปุ่น
ผู้สูงอายุจำนวนมากเดินทางตามลำพัง โดยไม่มีลูกหลานดูแล และใช้บริการรถบัสประจำทางตามปกติ เนื่องจากเหตุผลและปัจจัย ดังนี้
ประเทศบราซิล
ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคกันทางสังคม ทางบทความได้ยกข้อเสนอแนะสำหรับนำไปพัฒนา ขนส่งสาธารณะในประเทศไทย
โดยควรยึดหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) ดังนี้
ที่มา