svasdssvasds

ปิดกิจการ ถูกเลิกจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้า ทวงสิทธิพนักงาน เงินชดเชย-ค่าตกใจ

ปิดกิจการ ถูกเลิกจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้า ทวงสิทธิพนักงาน เงินชดเชย-ค่าตกใจ

บริษัทปิดกิจการ เลิกจ้าง พนักงานต้องทวงสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดให้จ่ายเงินชดเชย ตามเกณฑ์อายุงาน ไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วัน เรียกร้องค่าตกใจได้อีก

จากกรณีข่าวการประกาศปิดตัว (บางส่วน) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ผู้ผลิตสื่อยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ ที่ดำเนินกิจการคู่กับโทรทัศน์ไทยมาอย่างนานกว่า 43 ปี เนื่องด้วยเหตุผลกระทบมาจากการเกิด Digital Disruption ตามประกาศชี้แจง 

ซึ่งส่งผลทำให้มีพนักงานจำนวน 89 คนต้องถูกเลิกจ้างอย่างกะทันหันและจะได้รับเงินชดเชยเพียง 16%โดยหนึ่งในพนักงานที่มีอายุงานมากที่สุดคือ 34 ปี และกำลังเกษียณในปี 2566 ซึ่งกฎหมายระบุไว้ว่าได้ควรได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
ปิดกิจการ ถูกเลิกจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้า ทวงสิทธิพนักงาน เงินชดเชย-ค่าตกใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จนเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา พนักงานบางส่วนจึงได้รวมตัวเรียกร้องเงินชดเชยตามกฎกระทรวงแรงงาน ที่มีกำหนดระเบียบการจ่ายเงินไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่สำคัญที่พนักงานประจำควรศึกษาทำความเข้าใจเพื่อเรียกร้องสิทธิตามที่กฎหมายคุ้มครอง ดังนี้ 

นายจ้างปิดกิจการ ได้เงินชดเชยเท่าไหร่
กรณีถูกเลิกจ้างกะทันหัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้าง 2 ส่วน คือ ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้

ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง

สำหรับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างนั้น จะได้รับเมื่อลูกจ้างถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ และไม่มีความผิดใด ๆ สำหรับเงินชดเชยที่ได้จะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่น้อยกว่า 1 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 
  • ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

ในส่วนของค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า "ค่าตกใจ" เป็นเงินชดเชยรายได้ที่นายจ้างมอบให้ลูกจ้าง เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้สมัครใจและไม่มีการบอกล่วงหน้า

ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงได้รับเงินชดเชย
สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ที่ถูกเลิกจ้างหรือให้ออกจากงาน โดยไม่ได้มาจากความผิดของตน ผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในระหว่างที่ว่างงาน หรือเป็นเงินทุนในการหางานใหม่

แต่หากลูกจ้างที่ออกจากงานด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

  • ลาออกเองโดยสมัครใจ
  • ทุจริตต่อนายจ้างหรือทำความผิดอาญา
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
  • ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 
  • สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน

กรณีเลิกจ้างทั่วไป
สำหรับกรณีนี้ให้อ้างอิงตามระยะเวลาที่มีการจ่ายเงินเดือน เช่น ให้เงินเดือนรอบละ 30 วัน นายจ้างต้องทำหนังสือแจ้งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน  หรือกรณีให้ค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับ 7 วัน เป็นต้น

กรณีเลิกจ้างเพราะปรับปรุงหน่วยงาน
หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน ผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน

ถ้าลูกจ้างคนดังกล่าวทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยพิเศษเพิ่มอีกไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อการทำงานครบ 1 ปี แต่ต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน

กรณีเลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบการ
ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้ง จะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน เพื่อเป็นทุนสำรองช่วงว่างงานและมีเหตุให้ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน เนื่องจากเข้ารักษาในโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิกที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญาของบริษัทฯ ที่ซื้อประกันภัยสุขภาพไว้

เงินชดเชยอื่นๆ ต้องเสียภาษีด้วยหรือไม่
นอกจากเงินชดเชยจากการเลิกจ้างที่ได้รับแล้ว หากได้รับเงินชดเชยในส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น เงินชดเชยวันหยุดพักร้อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษ นายจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร
ดังนั้น ผู้ถูกเลิกจ้างต้องนำเงินค่าชดเชยในส่วนนี้มาคำนวณรวมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วย ส่วนเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมจะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย จึงไม่ต้องนำไปรวมคำนวณรวมกับภาษีเงินได้ประจำปี

ทั้งนี้ได้มีความเคลื่อนไหวจากคนในวงการสื่อสารมวลชนออกมาโพสต์แสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกัน ได้แก่ มีพิธีกรชื่อดังสองคนที่ร่วมกันเรียกร้องความยุติธรรมให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างกระทันหันในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ 

คุณต๊ะ-นารากร ติยายน อดีตพิธีกรรายการ เจาะใจ 
เฟซบุ๊คโพสต์ ของพิธีกรชื่อดัง ต๊ะ นารากร ติยายน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

และคุณโหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ คอลัมนิสต์รายการ เจาะใจ ผู้ก่อตั้ง a day และ the standard ก็ได้ประกาศขอลาออกเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับบริษัท JSL ประกาศยุติการดำเนินงาน ส่งผลให้พนักงาน 89 คนถูกเลิกจ้างกะทันหันและไม่ได้รับเงินชดเชยอย่างถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน

ต้องติดตามกันว่าทาง บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด จะออกมาชี้แจงและรับฟังข้อเสนอนี้กันอย่างไร 

ที่มา
1 2 3