อีกนานกว่า Metaverse จะเกิดขึ้นจริง แต่กระแสที่ขยันใช้คำว่า Metaverse อาจเป็นตัวกระตุ้นให้บริษัท สถาบันการศึกษา นักพัฒนา ฯลฯ เร่งเครื่องวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกันเน้นๆ โดยเฉพาะในปีที่ผ่าน มีงานวิจัย Metaverse Research ตีพิมพ์ออกมาเพียบ
ความรู้มากมายเกิดขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องแข่งขันกันพัฒนาองค์ความรู้ ผลักดันความเชี่ยวชาญและงานวิจัยออกสู่สาธารณะ ส่วนการจัดเก็บข้อมูล Lens องค์กรที่ค้นคว้า วิเคราะห์ จัดการข้อมูลด้านสิทธิบัตรระดับโลก และความรู้ทางวิชาการ จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยมากที่สุดในด้าน Metaverse ในปี 2021 จากฐานข้อมูลของสถาบันการศึกษาหลายประเทศทั่วโลก
โดย มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ที่ผลิตงานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์ทางวิชาการเกี่ยวกับ Metaverse มากที่สุด จากการค้นหาและประมวลผลคีย์เวิร์ดคำว่า Metaverse และ Metaverse scholarship มีดังนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งกว่างตง (GDUT : Guangdong University of Technology) ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เปิดสอนสาขาวิชาหลากหลาย เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การจัดการ ศิลปศาสตร์ และกฎหมาย โดยสาขาที่เน้นเป็นพิเศษ คือ วิศวกรรมศาสตร์
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งนี้จัดตั้งศูนย์กลางการศึกษา Metaverse ซึ่งรวมถึงการประมวลผลโค้ดที่เชื่อถือได้ กระจายออกไปสำหรับบริการ บน Metaverse (Reliable Coded Distributed Computing for Metaverse Services) การออกแบบกลไกเพื่อดึงดูดความสนใจ ตลอดจนกลยุทธ์การโฆษณาที่กำหนดเป้าหมายได้เหมาะสมที่สุดเพื่อการใช้งาน Metaverse อย่างปลอดภัย
การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และพัฒนา Web 3.0 ของมหาวิทยาลัยในบทความนี้ ไม่ได้โฟกัสแค่เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) แต่ยังตรวจสอบไปถึงผลกระทบจาก Metaverse ที่อาจมีต่อสังคม การเมือง ศิลปะ หรือแม้แต่จิตวิญญาณ
.......................................................................................
คอนเทนต์เกี่ยวกับ Metaverse ที่คุณอาจสนใจ
.......................................................................................
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (NTU : Nanyang Technological University) ขึ้นชื่อด้านวิชาวิศวกรรม งานวิจัยระดับชาติ และติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวทีโลกเป็นประจำ ผู้ที่รู้จักมหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่แล้วอาจไม่น่าแปลกใจที่ ม.หนานหยาง จะขึ้นแท่นท็อป 5 ด้านการศึกษาวิจัยโลก Metaverse
งานวิจัยล่าสุดของ NTU มัดรวมการสืบสวนด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจังใน Metaverse ซึ่งรวมถึงการประมวลผลโค้ดที่เชื่อถือได้ กระจายออกไปสำหรับบริการ บน Metaverse (Reliable Coded Distributed Computing for Metaverse Services) : การสร้างแนวร่วมและการออกแบบกลไกจูงใจ ตลอดจนการพิจารณาแง่มุมทางธุรกิจของเทคโนโลยี Web 3.0 เช่น กลยุทธ์การโฆษณาที่กำหนดเป้าหมายอย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อการเข้าใช้ Metaverse อย่างปลอดภัย
สถาบันชั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี (KAIST : Korea Advanced Institute of Science and Technology) ก่อตั้งขึ้นในปี 1971 เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่มุ่งเน้นการวิจัยในระดับสาธารณะแห่งแรกของประเทศ และมีชื่อเสียงระดับโลกในฐานะแหล่งพลังงานไฟฟ้าเพื่อการวิจัย (research powerhouse)
ไม่นานมานี้ นักวิจัยที่ KAIST ได้ทำงานในโครงการที่นำไปสู่การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ Metaverse ซึ่งรวมถึง
มหาวิทยาลัยลอนดอน (UCL : University College of London) เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหราชอาณาจักร และยังเป็นผู้นำด้านการวิจัยของประเทศ ทั้งยังเป็นเจ้าภาพในการมอบทุนให้แก่นักศึกษาและคณาจารย์ที่สนใจด้าน Metaverse ตัวอย่างล่าสุดคือ บทวิพากษ์ “The Future of Trust will be Dystopian or Decentralized: Escaping the Metaverse” โดย Jean-Philippe Vergne นักวิทยาศาสตร์ของ UCL
มหาวิทยาลัยซาบานซี (Sabancı University) ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 มีนักศึกษาสอบเข้าเป็นคนแรกในปี 1999 ด้วยอายุของนักศึกษาที่น้อยกว่าสถาบันอื่นๆ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่มหาวิทยาลัยที่ค่อนข้างเล็กๆ แห่งนี้กลายเป็นผู้นำของเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เช่นเทคโนโลยี Web 3.0
เมื่อพิจารณารายงานการวิจัยเกี่ยวกับ Metaverse มหาวิทยาลัยซาบานซีตีพิมพ์ออกมาจำนวน 8 ฉบับ ทั้งนี้ นักวิจัยหนึ่งในนั้นที่ชื่อ Elif Ayiter เป็นทั้งนักออกแบบ นักวิจัย ทั้งยังเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของวารสาร Metaverse Creativity with Intellect Journals และไม่นานมานี้ Ayiter ยังตีพิมพ์ "บทกวีเชิงพื้นที่ สถานที่ ไม่ใช่สถานที่ และโลกแห่งเรื่องราว: ช่องว่างในระยะใกล้ชิดสำหรับร่างอวาตารใน Metaverse" (Spatial poetics, place, non-place and storyworlds: Intimate spaces for Metaverse avatars) ใน Technoetic Arts อีกด้วย
.......................................................................................
ที่มา