svasdssvasds

เทคนิคเอาตัวรอด ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกขโมยเงินในธนาคาร

เทคนิคเอาตัวรอด ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกขโมยเงินในธนาคาร

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีด้วยกันหลายรูปแบบ หลายช่องทาง ทั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือมิจฉาชีพที่หลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อล้วงเอาข้อมูลส่วนตัวไปทำธุรกรรมและหลอกขโมยจากธนาคาร เราจะมีเทคนิคเอาตัวรอดอย่างไร ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ มาดูเคล็ดลับกัน

เทคนิคเอาตัวรอด ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกขโมยเงินในธนาคาร

ตั้งสติและสังเกต 
ควรตั้งสติและสังเกตเมื่อได้รับข้อความแปลกๆ อย่าให้ข้อมูลใครง่ายๆ ไม่ว่าจะมาจากช่องทางใดๆ และไม่ว่าข้อความนั้นจะส่งมาจากใคร เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพมาแบบแนบเนียนมากสามารถส่ง SMS มาในชื่อของแบงก์ หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเบอร์โทรที่เราคุ้นเคยได้ ดังนั้นอย่ารีบร้อน และไม่ทำธุรกรรมทางการเงินพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะอาจเผลอและขาดความระมัดระวังได้
 

ไม่ควรกรอกข้อมูลส่วนตัวทันที
โดยปกติแล้วธนาคารมักจะไม่ส่งข้อความขอข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขที่บัตรเครดิต/เดบิต วันเดือนปีเกิด Login Name รหัสผ่านต่างๆ หรือ OTP ใดๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล, SMS, LINE, Facebook Messenger เป็นต้น หากไม่แน่ใจควรโทรเช็กกับ Call Center

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

สังเกตลิ้งค์ที่แนบมากับข้อความ

ควรสังเกตลิงก์ที่แนบมาว่าเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริงหรือไม่ โดยเว็บไซต์ของธนาคารจะขึ้นต้นด้วย https:// เท่านั้น และมีสัญลักษณ์รูปกุญแจอยู่ด้านหน้าชื่อ รวมทั้งต้องตรวจสอบชื่อ URL ว่าถูกต้องหรือไม่  เช่น  URL Official Website

ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ เมื่อต้องทำธุรกรรมออนไลน์

ไม่ควรใช้ Wi-Fi ในการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ เพราะมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพเจาะเอาข้อมูลสำคัญ เช่น Username, Password  ในการเข้าไปขโมยเงินในบัญชีของเราได้

จำกัดวงเงินเบิกถอนต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเงินจำนวนมาก ควรจำกันวงเงินในการถอนต่อวัน

หากเผลอให้ข้อมูลรีบติดต่อธนาคาร

เมื่อเผลอให้ข้อมูลไปแล้ว ควรรีบเปลี่ยนรหัส และรีบติดต่อธนาคาร เพื่ออายัดบัญชีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

แชร์ข้อมูลให้คนใกล้ชิดรู้

ควรแชร์ข้อมูลให้คนในครอบครัว คนใกล้ชิด และเพื่อน เพื่อให้รู้เท่าทันกลโกง

Cr. ธนาคารไทยพาณิชย์