บินตรงเซี่ยงไฮ้-นิวยอร์กแค่ 2 ชั่วโมง ด้วยเที่ยวบินความเร็วเหนือเสียง ธุรกิจอวกาศแบบใหม่ที่จีนกำลังเข้าร่วม พร้อมเปิดให้เป็นธุรกิจการบินท่องอวกาศเชิงพาณิชย์ในปี 2030
การคมนาคมทางอากาศถือเป็นเรื่องที่เริ่มกลายเป็นความต้องการของตลาดมากขึ้น ตลาดของสายการบินมีการแข่งขันและกลับมาคึกคักกว่าเดิม หลังจากหยุดกิจการไปชั่วคราวในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ใช้เวลาเดินทางน้อยจะยิ่งเป็นที่น่าสนใจ การเดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลาหลายชั่วโมงทำให้การเดินทางของหลายคนนั้นเหนื่อยล้า ทั้งระยะทางและเวลาการเดินทาง แต่ถ้าเกิดว่าเราสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางได้หลายชั่วโมงล่ะ สนใจไหม?
เมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าวต่างประเทศ CNN ได้รายงานธุรกิจการแข่งขันทางการบินแบบใหม่ของจีน คือเที่ยวบินความเร็วเหนือเสียง ที่จะบินจากเซี่ยงไฮ้ไปยิวยอร์กโดยใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น? จากเดิมเที่ยวบินจากเซี่ยงไฮ้-นิวยอร์กจะใช้เวลา 14 ชั่วโมง บางสายการบินมีการต่อเครื่องที่บางประเทศ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า จีนจะเข้าร่วมการแข่งขันเที่ยวบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงเหมือนฝรั่งเศสใช่หรือไม่
เที่ยวบินนี้เป็นอย่างไร?
โดยบริษัทการขนส่งทางอวกาศในปักกิ่งหรือที่รู้จักกันในชื่อ Lingkong Tainxing ในจีน มีเป้าหมายเพื่อทำความฝันด้านการบินและอวกาศให้เป็นจริงด้วยการพัฒนายานพาหนะบรรทุกผู้โดยสารที่จะสามารถพุ่งทะยานข้ามท้องฟ้าด้วยความเร็ว 1 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งมากกว่าการทำความเร็วของ Concorde* ถึง 2 เท่า
*Concorde คือ เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงลำแรกของโลก ส่วนใหญ่จะใช้ในเที่ยวบินระหว่าง ลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก
ซึ่งทางบริษัทได้เปิดตัววิดีโอหน้าเว็บประชาสัมพันธ์เป็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงให้เห็นว่า ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องสวมหมวกนิรภัยหรือชุดอวกาศขึ้นเครื่องบินที่หน้าตาดูเหมือนจรวดอวกาศขนาด 12 ที่นั่ง ซึ่งเป็นโครสร้างเดลตาตามหลักอวกาศพลศาสต์ที่ขนาบข้างด้วยจรวดบูสเตอร์ไททานิค 2 ลูก
สิ่งที่จะได้เห็นนอกหน้าต่างไม่ใช่เพียงแค่ท้องฟ้าและก้อนเมฆ แต่จะเป็นชั้นผิวโลกและอวกาศ ซึ่งสามารถชมคลิปจำลองการบินตัวเต็มได้ที่ >>> Space Transportation
บริษัทตั้งเป้าที่จะเปิดตัวเที่ยวบินทดสอบการท่องเที่ยวในอวกาศ Suborbital* เป็นครั้งแรกในปี 2025 ตามด้วยการบินด้วยยานพาหนะที่มีความเร็วเหนือเสียงที่จะบินทั่วโลกอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2030
*Suborital flight คือ การบินขึ้นไปเหนือชั้นบรรยากาศเพื่อชมทัศนียภาพนอกโลกก่อนจะบินกลับลงมายังโลก
หากเป้าหมายเป็นไปตามการอธิบายดังกล่าว ความคิดริเริ่มนั้นจะเป็นศูนย์รวมความทะเยอทะยานของจีนแบบจุดต่อจุด ที่มีเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียงเป็นอันดับตั้นๆของโลก โดยเฉพาะภารกิจนี้ได้รับการสันบสนุนจากนักลงทุนจีนหลายเจ้าและจากรัฐบาล ซึ่งนำโดยกองทุนเพื่อการลงทุนเชิงอุตสาหกรรมในเซี่ยงไฮ้ นำโดย Matrix Partners China และ Guosheng Group ซึ่งเป็นของรัฐ ด้วยเงินทุนสนับสนุนขั้นต้นมากกว่า 300 ล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทย 1.5 พันล้านบาท
ความต้องการท่องเที่ยวอวกาศเพิ่มขึ้น
ทั่วโลกตอนนี้เริ่มหันเหความสนใจไปสู่นวัตกรรมการบินไปยังอวกาศมากขึ้น เพราถือว่ามีความเป็นไปได้และความน่าสนใจหากมีการนำผู้คนทั่วไปท่องเที่ยวในอวกาศได้ โดยเฉพาะเที่ยวบิน suborbital เพื่อเดินทางจากจุด A ไปยังจุด B แต่ปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์และการทดสอบการบินยังน้อยและยังไม่ถึงมาตรฐาน
ประกอบกับสภาพแวดล้อมจากขยะอวกาศที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆจากการทดสอบทางอวกาศปีหลายหลายร้อยและพันอย่าง เช่น การปล่อยบอลลูนอวกาสในระดับที่สูงมาก เที่ยวบินพาราโบลาเพื่อประสบการณ์ที่ไร้น้ำหนัก เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตรียมตัวก่อนเดินทางก่อนขึ้นเครื่องบิน โควิด-19 ก็ต้องได้เที่ยว
สุดล้ำ "AirCar" รถบินได้ไม่ใช่แค่ในหนัง คาดวางขายขับได้จริงอีก 12 เดือน
ฝรั่งเศสซื้อเครื่องบินรบจาก UAE 6 แสนล้าน เอาคืนสหรัฐฯ ในข้อตกลง AUKUS
ภารกิจ Polaris Dawn ของ SpaceX ซึ่งมีกำหนดจะเปิดตัวในปลายปีนี้จาก Launch Complex 39A อันเก่าแก่ที่ Kennedy Space Center ของ NASA ในฟลอริดา จะใช้เวลาสูงสุดห้าวันในวงโคจร ในช่วงเวลานั้นลูกเรือจะพยายามเดินอวกาศเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ภารกิจนี้เป็นก้าวย่างสู่ภารกิจสุดท้ายสู่ดวงจันทร์ ดาวอังคาร และอื่นๆ
แต่ไม่ว่ารสชาติของการท่องเที่ยวในอวกาศจะกระตุ้นความสนใจของผู้คนที่อยากเป็นนักบินอวกาศ ราคาตั๋วก็ถือว่าสมเหตุสมผล
ตัวอย่างเช่น ในเดือนธันวาคม มีการเปิดเผยว่านักการทูตของเกรเนดา Justin Sun ผู้ก่อตั้ง Tron แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ใช้บล็อคเชน ชนะการประมูลเพื่อให้ได้ที่นั่งบนจรวด New Shepard แบบใช้ซ้ำได้ของ Blue Origin
Michael Colglazier ซีอีโอของ Virgin Galactic กล่าวว่า "ความต้องการการเดินทางในอวกาศมีมาก และเราขายที่นั่งได้เร็วกว่าที่วางแผนไว้" บริษัทอ้างว่ามีการขายไปแล้วประมาณ 700 ที่นั่ง
ก้าวสำคัญอีกขั้นของจีนกับเที่ยวบินความเร็วเหนือเสียงเชิงพาณิชย์
จีนกำลังพิสูจน์ก้าวสำคัญครั้งใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมด้วยการทำความฝันด้านอวกาศให้เป็นจริงและจะกลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอวกาศของโลกในอนาคต อย่างที่ทราบกันว่าบนโลกนี้มีหลายประเทศ แต่ประเทศหรือชาติที่มีความสามารถในการเดินทางท่องอวกาศได้นั้นมีน้อยมากๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น และจีนเป็นต้น
การทำผลงานด้านอวกาศด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง ความหลากหลายและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคือสิ่งที่ประเทศเหล่านี้ถือประคับประคองอย่างมั่นคงมาเสมอ และเป็นสิ่งสำคัญของชาติที่ต้องการเป็นชาติมหาอำนาจ
ในเอกสารไวท์เปเปอร์ที่ตีพิมพ์โดยสำนักงานข้อมูลของสภาแห่งรัฐ ประเทศจีนได้สรุปแผนงานเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจอวกาศของตน ซึ่งรวมถึงการขนส่งมนุษย์ด้วยความเร็วสูง
ด้วยศักยภาพที่มั่งคั่งของการท่องเที่ยวในอวกาศ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จีนได้เพิ่มทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับความก้าวหน้าของข้อเสนอเครื่องบินอวกาศของตนเอง
ความอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมจากการบิน
แม้ว่าคุณประโยชน์ของเที่ยวบินเหนือเสียงนั้นจะดูน่าหวือหวา ตื่นเต้น และรู้สึกถึงความสะดวกสบายมากขนาดไหน แต่ก็ไม่อาจหักล้างได้กับอุปสรรคทางเทคนิค กฎข้อบังคับ และผลกระทบของการบินดังกล่าว
การศึกษาตลาดการบินของ NASA ระบุว่า อุปสรรคระยะยาวที่ต้องเอาชนะ มีหลายด้าน โดยเฉพาะข้อจำกัดของการใช้โซนิคบูม*เมื่อบินเหนือพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ในใบรับรองความปลอดภัยของพลเรือน ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบและตรวจสอบความปลอดภัยของพลเรือน การปล่อยมลพิษต่อชั้นบรรยากาศ ความชำนายที่หาได้ยากของเจ้าหน้าที่ และการทำงานบนที่สูงมากกับสุขภาพที่เสี่ยงมีการรับรังสี
*โซนิคบูม คือ เสียงที่เกี่ยวข้องกับคลื่นช็อก จะเกิดขึ้นเมื่อเดินทางผ่านอวกาศได้เร็วกว่าความเร็วของเสียง ในการรับเสียงของมนุษย์จะได้ยินคล้ายๆกับเสียงระเบิดหรือเสียงฟ้าร้อง
ซึ่งโซนิคบูมทำให้เกิดความเสียหายในชั้นโอโซนได้ การบินด้วยโซนิคบูมขัดขวางการก่อตัวของโอโซนในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากการบินด้วยความเร็วเหนือเสียงหลายปีสามารถเพิ่มปริมาณน้ำในชั้นบรรยากาศได้มากถึง 50-100% และหากมีการนำความร้อนไปสู่ภาคพื้นดินมากขึ้นก็จะทำให้ไปขัดขวางการก่อตัวของชั้นโอโซนนั่นเอง โดยเฉพาะความเสียหายในระดับชั้นสตราโตสเฟียร์
และนี่ก็ไม่ใช่ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันมีการมุ่งเน้นไปด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางทางอากาศที่กำลังถูกจับตาจากทั่วโลก แม้ว่าราคาและเที่ยวบิน บรรยากาศและบริการจะน่าสนใจเพียงใด แต่ถ้ายังหาวิธีที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ก็จะยังคงมีเสียงวิพาร์กวิจารณ์อยู่เสมอ
"บริษัททั้งหมดเหล่านี้กำลังพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อนำเสนอทั้งระบบความเร็วสูงสุดและแบบที่อย่างน้อยตั้งแต่ต้นจนจบ มีรอยเท้าทางสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า"
ที่มาข้อมูล
https://edition.cnn.com/travel/article/china-hypersonic-flights-cmd/index.html