svasdssvasds

30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) ชวนทำความเข้าใจโรคอารมณ์ 2 ขั้ว

30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) ชวนทำความเข้าใจโรคอารมณ์ 2 ขั้ว

วันที่ 30 มีนาคมของทุกปี ตรงกับวัน วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) หรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว ซึ่งอยากให้เราเข้าใจผู้ที่กำลังเผชิญกับโรคนี้กันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือ สร้างโอกาสในสังคม

เนื่องในวันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) อยากทุกคนทำความเข้าใจว่า ไบโพลาร์ (Bipolar) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ ไม่ใช่โรคจิตอย่างที่หลายคนเข้าใจ 

30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) ชวนทำความเข้าใจโรคอารมณ์ 2 ขั้ว องค์การอนามัยโลกก็ได้ระบุว่า โรคไบโพลาร์ (Bipolar) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือความพิการ อันดับที่ 6 ของโลก และยังพบอีกว่า 1  ใน  5  ของผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ 

โดยปกติแล้วในแต่ละวันคนเราจะมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับหนึ่งแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติ สามารถดำเนินชีวิต รับผิดชอบหน้าที่การงาน ครอบครัว สังคมได้ แต่สำหรับคนที่เป็นไบโพลาร์ (Bipolar) หรืออารมณ์ผิดปกติ คือ เกิดอารมณ์บวกหรืออารมณ์ลบเป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ ครอบครัว หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

สาเหตุของโรคไบโพลาร์

เกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ และอาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อย ๆ ทำให้มีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากนิสัยหรือบุคลิกเดิมลักษณะอาการเด่นของโรคนี้ที่ต่างจากโรคอื่น คือจะมีอารมณ์ 2 ขั้ว คือ

Mania episode หรือขั้วของอารมณ์ดีก็จะครื้นเครงมากกว่าปกติ เช่น พูดมาก ขยัน มีความคิดฟุ้ง มีโครงการมากมาย มั่นใจในตัวเองสูง เรียวแรงเยอะ นอนน้อยโดยไม่มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ

Depressive episode หรือขั้วของอารมณ์เศร้าซึม จะมีอาการท้อแท้ เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หมดกำลังใจ รู้สึกไร้ค่า นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ

ซึ่งอาการของไบโพลาร์ (Bipolar) จะเกิดขึ้นเองสลับกันเป็นช่วงๆ เหมือนกับการนั่งรถไฟเหาะ แต่ละช่วงจะเป็นอยู่ทั้งวัน นานเป็นอาทิตย์หรือหลายเดือน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การดูแลตัวเอง การทำงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น โดยอาการในขั้วเศร้านั้นจะเกิดอย่างช้าๆ ส่วนขั้วของอารมณ์ดีครื้นเครงมักจะเป็นเร็วมาก จึงทำให้ผู้ป่วยเองหรือคนใกล้ชิดเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา หรือเป็นการแสร้งทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ ไม่ใช่การเจ็บป่วย ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารักษาตัวอย่างจริงจัง

หากมีอาการของไบโพลาห์ควรทำอย่างไร?

หากมีอาการดังกว่าไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่งทั่วประเทศ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากโรคนี้มียาที่มีประสิทธิภาพสูงรักษา ได้ผลดีมาก ยาจะควบคุมการทำงานของสารเคมีในสมองให้อยู่ในสภาวะสมดุล โรคไบโพลาห์หายขาดได้ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิต เช่น เรียนหนังสือ ทำงานได้ตามปกติทั่วไป มีบางรายอาจต้องทำจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเพิ่มเติมบ้าง ใช้เวลารักษาประมาณ 6 เดือน - 2 ปี แต่หากไม่รักษา จะทำให้อาการลุกลามรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถึงขั้นเกิดอาการหลงผิด มีความคิดฆ่าตัวตายได้

คนรอบข้างมีส่วนช่วยผู้ป่วยไบโพลาห์ให้หายจากโรคนี้ได้

คนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน และครอบครัวมีส่วนสำคัญมาก ในการช่วยให้ผู้ป่วยไบโพลาห์หายจากโรคนี้ได้ โดยต้องอยู่กับผู้ป่วยอย่างเข้าใจว่าพฤติกรรมและอารมณ์ที่ผิดปกติ เป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยแท้จริงของผู้ป่วย และต้องรักษา เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นควรให้กำลังใจให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

4 สิ่งที่ไม่ควรทำอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง

1.ใช้อารมณ์กับผู้ป่วย

2. ขัดแย้งกับผู้ป่วย

3. พยายามควบคุมหรือจัดการกับชีวิตผู้ป่วย และ

4. ไม่ยอมรับในตัวผู้ป่วย

คนใกล้ชิดควรสังเกตอาการผู้ป่วยต่อเนื่อง หากมีอาการผิดปกติ คือ มีปัญหาการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนมากเกินไป หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยน เช่น เอะอะอาละวาด หวาดระแวง หรือมีปัญหากับคนรอบข้าง ต้องรีบพาผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์ก่อนนัดทันที

Cr. กรมสุขภาพจิต  / โรงพยาบาลมนารมย์