เพราะ NFT ไม่ได้อยู่แค่ในวงการศิลปะ แต่อยู่ในทุกอุตสาหกรรมที่เก็บชิ้นงานในรูปแบบดิจิทัล และความเปลี่ยนแปลงล่าสุดที่ SPRiNG นำมาอัปเดตคือ “ปริญญาบัตร NFT” (Non-Fungible Token) ที่ DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เริ่มมอบให้นักศึกษา เตรียมความพร้อมสู่ Web 3.0 และ Metaverse
เป็นเรื่องใหม่ของแวดวงการศึกษา เมื่อ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ DPU สถาบันการศึกษาภาคเอกชน ประเดิมแจก ปริญญาบัตร NFT (NFT Certificates for Graduates) แทนใบปริญญาบัตรแบบเดิมเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยเปิดให้นักศึกษาที่มี Wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ดาวน์โหลดและยื่นเอกสารขอใบปริญญา NFT (Non-fungible Token) ได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565
ถือเป็นการนำร่องให้ปริญญาบัตรในรูปแบบใหม่ โดย ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) กล่าวว่า
"เราเปิดโอกาสให้นักศึกษาสมัครใจที่จะเข้าร่วมขอรับปริญญา NFT หรือไม่รับก็ได้ ในขณะเดียวกัน ก็สื่อสาร สร้างความเข้าใจ และชี้ให้เห็นถึงโอกาสใหม่ๆ ว่านอกจากใบปริญญาบัตรในห้องพิธีแล้ว บัณฑิตคนไหนอยากได้ปริญญาบัตรแบบ NFT เตรียมพร้อมก้าวสู่โลก Metaverse และ Web3 ในอนาคต ก็สามารถสมัครได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้"
ในด้านจุดเด่นและข้อได้เปรียบของ ปริญญาบัตร NFT ดร.ดาริกาบอกว่า อยู่ที่การเป็น Original ซึ่งมีเพียงชิ้นเดียว (Unique) และลอกเลียนแบบไม่ได้ รวมถึงสามารถเก็บไว้ได้ตลอดไป ไม่มีวันสูญหาย หรือโดนทำลาย
ดร.ดาริกายังบอกเพิ่มว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วก็สามารถลงทะเบียนรับปริญญาในรูปแบบ NFT ได้ และเล่าถึงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยท่ามกลางความท้าทายในโลกการเรียนรู้และเทคโนโลยีว่า สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวตามเทรนด์ของโลกให้ทัน โดยสิ่งที่ มหาวิทยาลัยกำลังทำ คือ
"DPU เดินหน้าทำงานอย่างมุ่งมั่นในกระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านจาก Web2 ไป Web3 ที่การทำงานจะขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI, Blockchain โดยทาง DPU กำลังเดินหน้าเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ให้แก่นักศึกษาและมหาวิทยาลัย ผ่านหลักสูตร การฝึกทักษะที่จำเป็น ตลอดจนความพร้อมของ Ecosystem ที่จะรองรับการเรียนการสอนในอนาคต”
..............................................................................
บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ NFT ที่คุณอาจสนใจ
..............................................................................
DPU ร่วมออกแบบ ปริญญาบัตร NFT กับ SmartContract Blockchain Studio และ บริษัท ไอเพ็น สตูดิโอ จำกัด และนี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายโครงการของ DPU ที่จะขับเคลื่อนไปสู่ Web3 และ Metaverse
อีกส่วนที่จัดเก็บเป็น NFT คือ การเรียนแบบโมดูล (Module) โดย DPU นำกลุ่มวิชาจากหลายคณะมาสอนแบบบูรณาการ นักศึกษาที่ได้เรียนรู้ในแต่ละโมดูลแล้วก็จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ NFT
นอกจากนี้ รูปแบบการเรียนการสอนหรือกิจกรรมบางส่วน ทาง DPU ก็จะนำขึ้นไปอยู่บน Metaverse Platform เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสสัมผัสเทคโนโลยีใหม่ๆ
ภารกิจหลักเพื่อก้าวสู่ Metaverse ภายใต้ D.OASIS
Metaverse Platform เป็นส่วนหนึ่งของ D.OASIS แพลตฟอร์มความร่วมมือจากหลากหลายพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ DPU, J Ventures, Index Creative Village, Eventpass, Warrix, Prakit Holdings เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดย D.OASIS มีภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่
มากกว่าปริญญาบัตร NFT งานนี้ DPU เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์หลักในการพัฒนาหลักสูตรของ D.OASIS Lab เพื่อขับเคลื่อนทักษะที่จำเป็นให้ผู้เรียนก้าวสู่การเป็น "Meta Citizen" โดย สถาพน พัฒนะคูหา ผู้อำนวยการ D.OASIS Lab และ ซีอีโอของ SmartContract Blockchain Studioให้ข้อมูลเพิ่มว่า บทบาทของ D.OASIS Lab จะช่วยเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Web3 ให้คนไทย ผ่านคอร์สเรียนระยะสั้นและงานสัมมนา ซึ่งคอร์สแรกที่ออกแบบไว้คือ Metaverse Developer เนื้อหาของคอร์สก็จะเริ่มจาก IT Architecture ที่มีความสำคัญต่อการสร้าง Metaverse หลังจากนั้นจะเป็นเทคโนโลยี 3D, Interactive Web, Cryptocurrency, WebGL, WebXR ฯลฯ และจะจัดเวิร์กช็อปให้ผู้เรียนได้ทดลองสร้าง Metaverse อีกด้วย
มีมหาวิทยาลัยไหนให้ ปริญญาบัตร NFT อีกมั้ย?
มี เช่น Sungkyunkwan University (SKKU) มหาวิทยาลัยเอกชนระดับเวิร์ลคลาสที่มีซัมซุงหนุนหลัง ในกรุงซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ โดยทางมหาวิทยาลัยมอบปริญญาบัตร NFT ให้แก่ 3 นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้
SKKU เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในเกาหลีใต้ที่มอบใบปริญญาในรูปแบบ NFT หลังจากนี้ก็ประกาศชัดว่า จะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการออกใบรับรอง/ใบประกาศนียบัตรประเภทอื่นๆ ต่อไป
อีกตัวอย่าง Hoseo University มหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้ที่ต้องการเปลี่ยนระบบธุรการที่ใช้กระดาษเป็นหลักไปเป็นดิจิทัล และเปลี่ยนการมอบใบปริญญาบัตรแบบกระดาษไปเป็นการมอบใบปริญญาในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เนื่องจากใบปริญญาแบบกระดาษถูกปลอมแปลงได้ง่าย
Hoseo University จึงออกปริญญาบัตร NFT และประกาศนียบัตรสำหรับอนุปริญญา NFT มอบให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมดในปี 2564 มากถึง 2,830 ใบ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
ปริญญาบัตรที่จัดเก็บเป็นภาพดิจิทัล (image files minted) อยู่ในระบบบล็อกเชนนี้ นอกจากแก้ไขไม่ได้ ทำซ้ำไม่ได้ ไฟล์จะอยู่ในระบบบล็อกเชนทางเลือก ว่าจะให้เผยแพร่เป็น NFT ออกสู่สาธารณะหรือไม่
อีกเรื่องที่ต้องรู้คือ ปริญญาบัตร NFT ที่มหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้มอบให้นักศึกษา แม้เป็นโทเคนดิจิทัลที่อยู่ในระบบบล็อกเชน แต่แตกต่างจากโทเคนหรือเงินดิจิทัลที่มีจำนวนจำกัดอย่าง BTC, UNI (NFTs ที่เก็บไฟล์ดิจิทัลได้ทุกประเภท) เพราะปริญญาบัตร NFT ผ่านการดีไซน์ให้อยู่บนบล็อกเชนทางเลือกของสถาบัน จะเทรดได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของใบปริญญาให้ความยินยอมเท่านั้น
............................................................
ที่มา