เช็กที่นี่! เปิดรายละเอียดเงื่อนไขการ "บริจาคร่างกาย" ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ร่างแบบไหนจึงจะสามารถส่งต่อศพให้นักศึกษาแพทย์ทำการศึกษาต่อไปได้
"บริจาคร่างกาย" หรือ การบริจาคอวัยวะที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นการสร้างประโยชน์และความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรียกได้ว่าเป็นการให้ชีวิตใหม่ รวมทั้งยังสามารถนำร่างไปให้นักษาแพทย์ทำการศึกษาต่อไป
โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีรายละเอียดการบริจาคร่างกายแตกต่างกันไป โดยเงื่อนไขของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุรายละะเอียดการ "บริจาคร่างกาย" ดังนี้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ หรือ "บริจาคร่างกาย" โดยทั่วไปมีรายละเอียด ดังนี้
• อายุไม่เกิน 65 ปี
• สาเหตุเสียชีวิต “สมองตาย”
• ไม่มีโรคติดเชื้อ, โรคมะเร็ง
• ไม่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, ไต, ความดันโลหิตสูง, ตับ
• ไม่ติดสุรา
• อวัยวะยังทำงานได้ดี
• ไม่มีเชื้อจากการปลูกถ่าย เช่น ไวรัสตับอักเสบบี, เอดส์
• แจ้งการบริจาคอวัยวะให้ครอบครัวรู้ เพื่อรับทราบและเซ็นยินยอม
ขั้นตอนการ "บริจาคร่างกาย"
1. กรอกแบบฟอร์ม ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านด้วยตัวบรรจง
2. ระบุ ชื่อ-นามสกุล ผู้แจ้งการถึงแก่กรรม (ผู้แจ้งการถึงแก่กรรมหมายความถึง ผู้ที่เต็มใจจะรับเป็นธุระในการแจ้งให้ภาควิชาฯ ไปรับศพของผู้บริจาคร่างกายเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับมรดกอื่นใดของผู้บริจาคร่างกาย)
3. ส่งแบบฟอร์มที่กรอกแล้วพร้อมรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ ไปยังโรงพยาบาลต้นทางที่ผู้บริจาคต้องการจะบริจาคให้
4. รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคได้ภายใน 1 เดือน โดยให้ระบุว่าต้องการรับด้วยวิธีใด
• รับทางไปรษณีย์เป็นจดหมายลงทะเบียน (ต้องมีคนอยู่บ้านเพื่อลงชื่อรับ)
• มารับบัตรด้วยตัวเอง
5.หากการยกเลิกพินัยกรรมฉบับนี้ ไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จะไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมายแต่ประการใด
ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย