ฝังยาคุมกำเนิดที่แขน มีประจำเดือน? เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยอยู่ในขณะนี้ จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของ แตงโม นิดา ที่ผลัดตกเรือสปีดโบ๊ทกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ล่าสุดในรายการ คุยแซ่บShow มีเหล่าเพื่อนดารามาร่วมรายการ โดย โม อมีนา กล่าวถึงเรื่องการ ฝังยาคุมกำเนิด ของแตงโม นิดา ตอนนี้ทุกคนคงอยากรู้ว่าการฝังยาคุมกำเนิดคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และคำถามสำคัญเลย ทำแล้วมีประจำเดือนหรือไม่?
การฝังยาคุมกำเนิด คืออะไร?
Contraceptive Implant หรือการฝังยาคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูง ลักษณะของยาฝังคุมกำเนิดจะมีลักษณะนิ่ม ยืดหยุ่น หลอดไม่สลายตัว ฝังที่ต้นแขนด้านในข้างที่ไม่ถนัด ภายในหลอดบรรจุฮอร์โมน Progestin เมื่อฝังแล้วจะค่อยๆ ปล่อยฮอร์โมนชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย จะช่วยในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3-5 ปี ก็แล้งแต่ชนิดของยา และเมื่อครบกำหนดแล้วต้องถอดหลอดยาออก
การทำงานของยาฝังคุมกำเนิด
เมื่อฝังยาคุมกำเนิดแล้วฮอร์โมนโปรเจสตินจะค่อย ๆ ปล่อยออกมาจากหลอดยาเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนาและไม่เกิดการตกไข่ เมื่อไม่เกิดการตกไข่ที่พร้อมปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิ ก็จะไม่สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ฮอร์โมน Progestin ที่ปล่อยออกมาทำให้เมือกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ซึ่งทำให้อสุจิผ่านเข้าไปยังมดลูกได้ยาก นอกจากนี้ฮอร์โมนยังทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เปิดราคา บอดี้สูทที่แตงโม นิดา ใส่ แบรนด์ H&M High Leg Swimsuit
ข้อดีของการฝังยาคุมกำเนิด
-การฝังยาคุมกำเนิดจะคุมกำเนิดได้นาน และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง มีอัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่า 1 ต่อ 1000 ในเวลา 3 ปี (ขึ้นอยู่กับชนิดของยา)
-ไม่ต้องกังวลการลืมรับประทานยาคุมกำเนิด
-ผู้หญิงที่ให้นมบุตรสามารถใช้ได้โดยไม่มีผลลดปริมาณหรือคุณภาพของน้ำนม
-หลังจากที่แท้งบุตร ทำแท้ง คลอดบุตร หรือระหว่างที่ให้นมบุตร สามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ทันทีและไม่เป็นอันตราย
-ยาฝังยาคุมกำเนิดไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการมีเพศสัมพันธ์
-หากต้องการมีบุตรหรือหยุดใช้ สามารถนำออกได้ง่าย
-ในช่วงปีแรกที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด มีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และช่วยให้ผู้ที่ประจำเดือนมามากมีประจำเดือนลดลง
-หลังจากถอดยาออกจะกลับสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้เร็วกว่าการยาฉีดคุมกำเนิด
ข้อเสียและผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด
-ช่วง 3-6 เดือนแรกหลังฝังยาคุมกำเนิด ประจำเดือนมักจะมาไม่สม่ำเสมอ เลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด หลังจากนั้นประจำเดือนจะมาห่าง หรือไม่มีประจำเดือนเลย ซึ่งการไม่มีประจำเดือนจากการใช้ยาฝังคุมกำเนิดไม่ได้ส่งผลให้สุขภาพแย่ลง
-บางคนอาจมีประจำเดือนมากขึ้นหรือมาถี่ในช่วงปีแรกที่ฝังยาคุม
-บางคนประจำเดือนอาจมาไม่ตรงหรือมาน้อย พบว่า 1 ใน 5 ของผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิดจะไม่มีเลือดออกมาเมื่อมีประจำเดือน
-การฝังยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันด้วยการใส่ถุงยาง
-ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ เป็นสิว น้ำหนักตัวขึ้น เจ็บเต้านม มีอารมณ์แปรปรวน แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้พบได้น้อย
ใครบ้างที่ไม่สามารถใช้การฝังยาคุมกำเนิดได้
-สงสัยว่าอาจกำลังตั้งครรภ์
-ต้องการมีรอบเดือนเป็นปกติ เพราะเมื่อใช้ยาฝังคุมกำเนิดแล้วอาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
-พบว่ามีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือนหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์
-คนที่เป็นไมเกรน
-มีภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด
-ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
-คนที่เป็นโรคตับ ตับแข็ง หรือมีเนื้องอกในตับ
-ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือเคยเป็น
-คนเป็นเบาหวานและมีภาวะแทรกซ้อน
-ผู้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุน
-ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบในยาคุมกำเนิด
Cr. แพทย์หญิงอภิรดี จิรัฐิติกาลโชติ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร / www.pobpad.com